ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




Zero Defect แนวทางการลดของเสียในกระบวนการผลิตให้เป็นศูนย์

 Zero Defect แนวทางการลดของเสียในกระบวนการผลิตให้เป็นศูนย์

โดย ดร.ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340 facebook: BT CORPORATION CO., LTD.

************************************************************************************************************************

สวัสดีครับทุกท่านสำหรับบทความตอนนี้ผมได้แนวคิดมาจากการตอบคำถามของผู้บริหารระดับสูงของบริษัทแห่งหนึ่งขณะที่บรรยายหลักสูตร การลดของเสียในกระบวนการผลิตให้เป็นศูนย์ (Zero Defect) ที่ท่านถามว่า

“ทำไมบริษัทของเราจึงยังมีการผลิตของเสียอยู่ทั้งๆที่มีระบบมาตรฐานการปฏิบัติงานงาน

และเครื่องมือ รวมไปถึงอุปกรณ์ป้องกันที่ทันสมัยตั้งเยอะแยะ”

 

 

เพื่อตอบคำถามดังกล่าว ผมจึงได้ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ และนำเสนอตัวอย่างแนวทางการแก้ไข และป้องกัน ผ่านประสบการณ์ที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยี่สิบกว่าปี ซึ่งได้คำตอบดังนี้ครับ

1.   พนักงานส่วนใหญ่คิดว่าการที่มีของเสียเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตเป็นเรื่องธรรมชาติ (คนเราผิดพลาดกันได้ หรือ ผลิตเป็นพัน เสียแค่ชิ้นสองชิ้นอย่าไปซีเรียส)

ตัวอย่าง แนวทางการแก้ไขและป้องกัน

1.   ผู้บริหาร และหัวหน้างานทุกระดับ ควรปลูกฝังทัศนคติเกี่ยวกับการลดของเสีย ได้แก่ ประชุมแจ้งเรื่องของเสียที่เกิดขึ้น เอาจริงเอาจังกับการปฏิบัติงานผิดพลาด จนทำให้เกิดของเสีย โดยออกเป็นกฎ หรือมาตรการควบคุม และลงโทษ อย่างเหมาะสม และแจ้งให้กับพนักงานทุกคนทราบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

2.     ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม และสอดคล้องกับการปฏิบัติงาน (ทั้งเรื่องปัจจัยการผลิต และภาระงานที่พนักงานปฏิบัติ)

 

2.   เมื่อมีของเสียเกิดขึ้นพนักงานไม่รู้ จะไปรู้อีกก็ต่อเมื่อพนักงานแผนกคิวซีตรวจพบ (พนักงานไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังปฏิบัตินั้น ดี หรือเสีย ใช้งานได้ หรือไม่ได้ ไม่รู้ แต่ก็ทำกันต่อไป)

ตัวอย่าง แนวทางการแก้ไข และป้องกัน

1.     จัดทำ Limit Sample หรือ ตัวอย่างสินค้า หรือวัตถุดิบ ที่เป็นของเสีย และของดี ในทุกขั้นตอนการผลิต แล้วนำไปติด หรือวางในพื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อทำให้พนักงานเห็นได้ง่าย และสอนพนักงานทุกคนเพื่อทำให้พวกเขาสามารถแยกชิ้นงานที่ใช้งานได้ และไม่ได้ ก่อนตัดสินใจนำวัตถุดิบนั้นเข้าสู่กระบวนการผลิต

2.     กำหนดให้พนักงานต้องตรวจสอบวัตถุดิบก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิตในทุกกระบวนการ

3.     จัดทำระบบ “1.หยุด 2.เรียก 3.รอ” และสร้างเป็นวัฒนธรรมในการทำงานของพนักงานเมื่อเกิดปัญหา ของเสีย หรือความไม่แน่ใจ ระหว่างการปฏิบัติงาน โดยอาจทำป้ายติดในพื้นที่ปฏิบัติงาน และหัวหน้างานหมั่นพูดคุย ซักถาม และตรวจสอบ ความเข้าใจ รวมไปถึงติดตามผลการปฏิบัติงานของพนักงานเมื่อเกิดปัญหา

 

3.   วัตถุดิบที่ได้รับจากซับพลายเออร์มีคุณภาพไม่คงที่ (ซับพลายเออร์ส่งสินค้าบางช่วงก็ดีเลิศ บางช่วงก็ใช้แทบไม่ได้เลย ต้องเสียเวลามานั่งแยกของดีของเสีย)

ตัวอย่าง แนวทางการแก้ไข และป้องกัน

1.     ประชุมร่วมกับซับพลายเออร์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพวัตถุดิบร่วมกัน

2.     หาซับพลายเออร์รายใหม่ เพื่อสำรองเอาไว้

3.     กำหนด หรือเพิ่มมาตรการ การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบก่อนนำเข้ากระบวนการผลิต

4.     กรณีที่มีการซื้อวัตถุดิบชนิดใหม่ ควรศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่เรากำหนด และต้องพิจารณาเรื่องการส่งมอบสินค้าที่ตรงกับแผนการผลิตของบริษัทของเราเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาเมื่อเริ่มการผลิตจริง  

 

4.   เครื่องจักร เครื่องมือไม่นิ่ง (บางวันก็ผลิตได้ดี บางวันก็ต้องปรับแต่งหลายชั่วโมงกว่าจะเริ่มผลิตได้)  

ตัวอย่าง แนวทางการแก้ไข และป้องกัน

1.ปรับปรุงเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้

2.กำหนดแผนการปรับปรุง และบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ และปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด

3.เปลี่ยนแปลง หรือ จัดหาเครื่องจักร เครื่องมือใหม่ ถ้าจำเป็น

4.อบรมให้ความรู้ให้ผู้ใช้เครื่องจักร สามารถใช้เครื่องจักรได้อย่างถูกต้อง

 

5.   ตั้งสเป็กของสินค้าสูงเกินความสามารถของกระบวนการผลิตที่มีอยู่ปัจจุบัน (ตั้งสเป็กสินค้าสูงไว้ก่อน เพื่อทำให้ลูกค้าพอใจ โดยลืมวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการผลิตที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน)

ตัวอย่าง แนวทางการแก้ไข และป้องกัน

1.     ศึกษาศักยภาพของเครื่องจักร และกระบวนการที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อตั้งค่ามาตรฐานของสินค้าที่เราสามารถทำได้

2.     ตั้งสเป็กสินค้าตรงกับความสามารถจริงที่เป็นอยู่ของกระบวนการผลิต

3.     ปรับปรุงเครื่องจักร เครื่องมือ ปัจจัยการผลิต และกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 

6.   การออกแบบผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย (การออกแบบยังไม่นิ่ง มีการปรับเปลี่ยนบ่อย ขนาดเริ่มผลิตไปแล้วยังมีการเปลี่ยนอีกหลายรอบ)  

ตัวอย่าง แนวทางการแก้ไข และป้องกัน

1.     ผู้ออกแบบควรศึกษา และพัฒนาวิธีการออกแบบให้มีความถูกต้องมากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด

2.     ควรมีการศึกษาปัจจัยต่างๆที่ใช้ในการผลิตให้ถูกต้อง เหมาะสม และครอบคลุม มากที่สุดก่อนเริ่มการออกแบบ

3.     ควรนำเทคโนโลยี หรือเครื่องมือใหม่ๆ มาช่วยในการออกแบบ หรือทดสอบ ก่อนเริ่มการผลิตจริง เพื่อทำให้ลดความผันผวน และผิดพลาดในการออกแบบ

 

   จากแนวคิดทั้ง 6 ข้อ จะเห็นว่าผมจะนำเรื่องทัศนคติ ของคนเป็นหัวข้อแรกเลย นั่นเป็นเพราะทัศนคติของคน คือหัวใจที่สำคัญอันดับต้นๆของการทำให้เกิดของดี และของเสียเลยก็ว่าได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนทัศนคติของพนักงาน เพื่อทำให้พวกเขา รัก และใส่ใจในงานที่ตนปฏิบัติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยผู้บริหาร และหัวหน้างานต้องแสดงออกถึงความมุ่งมั่น และมีความอดทน ในการพูดซ้ำๆ พูดย้ำๆ และทำเป็นแบบอย่างให้ดู โดยทำบ่อยๆ ทำเป็นประจำจนเป็นนิสัย ทำให้พวกเขาดู แล้วให้พวกเขาทำตาม ผมเชื่อว่าสักวันของเสียของท่านก็จะลดน้อยลง หรือกลายเป็นศูนย์ได้อย่างแน่นอนครับ  

สุดท้ายขอฝากคมคิดสะกิดใจสั้นๆ พื้นๆ ดูเชยๆ แต่เป็นความจริงว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่นั่น การล้มเลิกอยู่ที่ไหน ความล้มเหลว อยู่ที่นั่น” โชคดีนะครับ

 

 

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ Www.bt-training.com ครับ




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM) article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com