ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




คิดสักคิด ก่อนที่จะคิดหัวร้อน

 คิดสักคิด ก่อนที่จะคิดหัวร้อน

โดย ดร.ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340 facebook: BT CORPORATION CO., LTD.

     ทุกวันนี้คงได้ยินคำว่าหัวร้อนกันบ่อยๆ โดยเฉพาะภาพข่าวทางโทรทัศน์ เพื่อระงับความเป็นคนหัวร้อน ผมจึงเขียนบทความเพื่อนำเสนอเทคนิคง่ายๆ ในการการลดความโกรธ แล้วตั้งสติ ก่อนที่จะระเบิดใส่ผู้อื่น โดยได้แนวคิดนี้มาจากการอ่านหนังสือชื่อ “ตึ่งนั้งก้าเกี้ย (คนจีนสอนลูก)” ของสำนักพิมพ์ เดอะบอสส์” ซึ่งผมขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ครับ เรามาเรียนรู้ร่วมกันเลยนะครับ

ชายชาวแค้นซ่งสองคน ถกเถียงกันเสียงดังลั่นตลาด

“ข้าแก่ว่าเอ็งโว๊ย” ชายคนแรกตะโกนข่ม

“ข้าซิแก่กว่าเอ็ง ไอ้เด็กเมื่อวานซืน” ชายคนที่สองเถียงคอเป็นเอ็น

“ข้าซิแก่กว่าเอ็ง เพราะข้าเกิดในปีที่จักพรรดิ์เย้าประสูติ” ชายคนแรกรีบแสดงเหตุผล

“ข้าต่างหากที่แก่กว่าเอ็ง เพราะข้าเกิดในปีที่จักพรรดิ์อึ้งประสูติ” ชายคนที่สองพูดข่ม

ชายชราที่นั่งอยู่ใกล้ๆ รู้สึกรำคาญเสียงเอะอะ เอะตะโร ของชายทั้งสองเดินเข้าไปใกล้ๆ เพื่อจะเป็นกรรมการห้ามมวย ช่วยยุติปัญหา ก่อนที่ชายทั้งสองจะมีการลงไม้ลงมือกันเกิดขึ้น

เมื่อชายชราเดินเข้าไปถึง ชายสองคนนั้นก็หยุดเถียงกันครู่หนึ่ง เมื่อสบโอกาสชายชราก็ถามขึ้นว่า

“ท่านผู้เจริญทั้งสอง ท่านช่วยตอบข้าหน่อยได้ไหมว่า จักพรรดิ์เย้า และจักพรรดิ์อึ้ง ที่ท่านอ้างถึงนั่นน่ะ ประสูติในปีใดรึ”

ชายทั้งสองสบตากัน แล้วก็ตอบว่า “ข้าก็ไม่รู้เหมือนกัน”

“ถ้าอย่างนั้นอย่ามาเถียงกันให้อับอาย ขายหน้าชาวบ้านเขาอยู่เลย แยกย้ายกันไปเถอะ”

คำพูดของชายชรา ทำให้ชายทั้งสองรู้สึกเหมือนโดนก้อนอิฐก้อนมหึมา มากระแทกที่หัว เกิดมีสติขึ้นมาทันที แล้วหลังจากนั้นก็สัญญากันว่า จะไม่มาทะเลาะกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องอีกเลย ...

ถ้าหากเรานำนิทานเรื่องนี้มาวิเคราะห์กับคนในองค์กร ก็จะพบว่ามีบางครั้งที่ตัวเรา หรือพนักงานบางคน หรือบางกลุ่ม ทะเลาะกัน เกลียดกัน ไม่ชอบขี้หน้ากัน เหม็นหน้ากัน ไม่อยากทำงานร่วมด้วย มีอคติต่อผู้อื่น ทั้งๆที่ยังไม่รู้เลยว่าทำไม หรือเหตุผลที่แท้จริงที่เราไม่ชอบเขา หรือเกลียดเขานั่นเป็นเพราะอะไรกันแน่? แต่เราก็รู้สึกทางลบกับเขาไปแล้ว ซึ่งความรู้สึกที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นเหล่านั้นอาจเกิดจากฟังคนอื่นพูด ตัดสินผู้อื่นเร็วเกินไปทั้งๆที่ยังไม่รู้จักเขาดีพอ ไม่เคยเปิดใจที่จะฟังคนอื่น เป็นต้น และเมื่อเรารู้สึกลบแบบนี้ เราก็จะแสดงออกโดยการหลีกเลี่ยง ไม่อยากไปสุงสิง หรือแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ในเชิงลบ เช่น ต่อต้าน พูดจาเหน็บแนม เยาะเย้ย ถากถาง ใส่ร้ายป้ายสี หรือที่ร้ายที่สุดคือทำร้ายเขาเลย ก็อาจเป็นได้จริงไหมครับ?

จะดีกว่าไหม ถ้าเราลองให้เวลากับตัวเอง เพื่อทบทวนตนเอง ก่อนที่จะตัดสินว่าใครเป็นอย่างไร? หรือคิดให้ดี คือ คิดให้รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงว่า เราทำอะไร เขาทำอะไร เราทำผิดอะไร เขาทำผิดอะไร ก่อนที่จะทะเลาะกับผู้อื่น เพื่อตั้งสติ และตอบคำถามให้ได้ 7 ข้อ ดังนี้

1.   “สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เราต้องไปทะเลาะกับเขาน่ะ มันคือะไรกันแน่?

2.   “เราได้อะไรจากการทะเลาะกับผู้อื่น”

3.   “คนอื่น เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง สามี ภรรยา ลูก และญาติของเรา พวกเขาเขาจะรู้สึกอย่างไร? เขาจะเห็นด้วยกับเราหรือไม่? เมื่อเราไปทะเลาะกับเขา”

4.   “คนรอบข้างที่จะลุกขึ้นมายืนมุงดูเมื่อเราไปทะเลาะกับคนอื่นเขาจะรู้สึกอย่างไร? สะใจ สนุก หรือ???

5.   “เราได้รับชัยชนะจากการทะเลาะกันแล้วเราได้อะไร?

6.   “คนที่เขาทะเลาะกับเราแล้วเขาแพ้ เขาจะรู้สึกอย่างไร? เขาจะอายไหม เขาจะเสียหน้า เขาจะทำงานที่นี่ต่อไปได้ไหม เขาจะแค้นเราไหม เขาจะอาฆาตเราไหม?

7.   “มันคุ้มกันแล้วเหรอที่จะไปทะเลาะกับคนอื่น?

 

ทั้ง 7 ข้อนี้ ผมขอเรียกว่า “คำถามเพื่อเรียกสติให้กลับคืนมา” ลองนำไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ รับรองได้จะช่วยลดอาการหัวร้อน แล้วเรียกสติให้กลับคืนมา ก่อนที่จะแสดงออกในสิ่งที่ไม่ดีๆ ออกไป สุดท้ายขอฝากคมคิดสะกิดใจที่ว่า “ใจเย็น เป็นสุข ใจร้อน รับทุกข์” โชคดีนะครับ.........

 

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ Www.bt-training.com ครับ




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com