ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




ต้นทุนต่ำ กำไรสูง เติบโตไม่หยุด ด้วย OEE

 ต้นทุนต่ำ กำไรสูง เติบโตไม่หยุด ด้วย OEE  

โดย ดร.ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์  Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340 facebook: BT CORPORATION CO., LTD.

************************************************************************************************************************************************

สัปดาห์นี้ผมได้มีโอกาสไปบรรยายหลักสูตร OEE โดยก่อนที่จะไปบรรยายผมได้สรุปแนวคิดการนำ OEE ไปประยุกต์ใช้ให้เห็นผล วันนี้จึงขอนำมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ

มีคนกล่าวว่า “ถ้าเราไม่สามารถวัดได้ เราก็ไม่สามารถประเมินได้” ก็จริงเพราะการวัดทำให้รู้ว่า ณ ปัจจุบัน เรามีความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับใด และเรายังห่างจากเป้าหมายเท่าใด แต่ถ้าวัดแล้วไม่ทำอะไรก็จะเข้าสูตรที่ว่า “วัดได้แล้วแต่ไม่ได้ทำ ก็ไร้ค่า เสียเวลา เสียเงิน เสียทองเปล่าประโยชน์”  จริงไหมครับ

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมแล้วจะมีการวัดค่า เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานหลายด้าน ตามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหลายข้อ โดยแยกเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น คน เครื่องจักร เครื่องมือ วัตถุดิบ พลังงาน เป็น ต้น

        การวัดค่า OEE (Overall Equipment Effectiveness : OEE) หรือประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร เป็นการวัดค่าที่เกิดจาก การคูณกันของตัวเลข สามตัวคูณกัน คือ อัตราการเดินเครื่องจักร (Availability Rate :  A) ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง(Performance Rate : P) และอัตราคุณภาพ (Quality Rate : Q)

         

          เมื่อนำตัวเลขทั้งสามมาคูณกันจนเสร็จสรรพเรียบร้อย เราก็จะได้ตัวเลขมาค่าหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวเลยที่แสดงให้เห็นว่ากระบวนการผลิตของเรา หรือเครื่องจักรของเรานั้น มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่าไหร่ และถ้าตัวเลขต่ำว่าเป้าหมาย ก็จะทำให้เราเห็นทันทีว่า มีสาเหตุมาจากอะไร เกิดจาก เครื่องจักรที่ด้อยประสิทธิภาพ เครื่องจักรหยุดกะทันหัน (Break Down) เกิดการสูญเสียความเร็ว หรือเกิดจากการบริหารจัดการผลิตที่มีการรอคอย การว่างงาน การเดินเครื่องจักรตัวเปล่า วัตถุดิบไม่ไหลเข้าสู่กระบวนการอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

 

สำหรับขั้นตอนการนำ OEE ไปประยุกต์ใช้ ให้เห็นผลจริง มีดังนี้ครับ

1.    บันทึกข้อมูลถูกต้อง โดยหัวหน้างาน ต้องจัดทำแบบฟอร์ม การบันทึกข้อมูลการผลิตให้ชัดเจน โดยต้องจัดเตรียมช่องสำหรับใส่รายละเอียดให้ครบถ้วน เช่น เวลาหยุดเครื่องจักร เวลาผลิตสินค้า เวลารองาน เวลาเครื่องจักรหยุดตามแผน เวลาเครื่องจักรหยุดนอกแผน ปริมาณที่ผลิตได้ ปริมาณชิ้นงานดี และชิ้นงานเสีย  การสูญเสียเวลาจากกิจกรรมต่างๆ ที่นอกจากแผนการผลิต และต้องบันทึกสาเหตุของปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้ชัดเจน ซึ่งสิ่งนี้สำคัญมากๆนะครับ โดยเฉพาะพนักงานที่คุมเครื่องจักร ต้องบันทึกเอกสารอย่างถูกต้องห้ามผิดพลาดเด็ดขาด ดังนั้นเมื่อมีพนักงานใหม่เข้ามาหัวหน้างานก็ต้องสอน เน้นย้ำ และตรวจสอบการบันทึกเอกสารของพนักงานอย่างเคร่งครัดมากๆด้วยนะครับ

 

2.    คำนวณค่า OEE สอดคล้องกับการผลิต โดยก่อนที่จะตัดสินใจนำ OEE มาใช้ ต้องทำความเข้าใจกระบวนการผลิตของเราก่อน ว่ากระบวนการผลิตของเราเป็นอย่างไร เช่น เครื่องจักรของเราผลิตสินค้าเหมือนกัน และเมื่อผลิตแล้วสินค้าที่ได้จากแต่ละเครื่องจักรจะมารวมกัน เราก็ใช้ OEE แบบรวม หรือ กระบวนการผลิตที่เป็นไลน์การผลิตต่อเนื่องกัน และชิ้นงานไหลแบบไหลทีละชิ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้น จนจบกระบวนการ (One Piece Flow) เราก็วิเคราะห์ OEE รวม ถ้าไลน์การผลิตของเราเป็นแบบแต่ละเครื่องทำงานแตกต่างกัน และมีงานระหว่างกระบวนการผลิต (WIP : Work In Process) เราก็ต้องคำนวณ OEE แยกเป็นเครื่องจักรไป เป็นต้นครับ โดยค่าที่ได้ทั้งสามที่เราจะนำมาวิเคราะห์ OEE คือ 1. อัตราการเดินเครื่องจักร (Availability Rate :  A) 2. ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง(Performance Rate : P) และ3. อัตราคุณภาพ (Quality Rate : Q) โดยนำค่าทั้งสามมาคูณกัน

3.     ทำไคเซ็น และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลัก PDCA ดังนี้

เริ่มจากการวางแผนงาน (Plan) โดยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสาเหตุที่ค่า OEE  ต่ำ จากนั้นก็ระดมสมองกับผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่พนักงาน จนถึงผู้จัดการ เพื่อหาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไข ป้องกัน จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติตามแผน (DO) ตรวจสอบผลลัพธ์ (Check) เพื่อเปรียบเทียบผลการแก้ไขปัญหาก่อน และหลัง และสุดท้าย จัดทำมาตรฐาน(Action)  เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของปัญหา แต่ถ้าปัญหายังไม่ยุดติ หรือไม่น้อยลง ก็ PDCA กันใหม่ไปเรื่อยๆ หรือแม้แต่ค่า OEE บรรลุเป้าหมายแล้ว แต่ถ้าเราอยากจะท้าทายตัวเอง ก็ PDCA ต่อไปอีกก็ได้นะครับ

4.     ยกระดับผลิตภาพให้สูงขึ้น โดยพิจารณา ตัวชี้วัด ได้แก่ อัตราผลิตภาพ หรือการเพิ่มผลผลิต (Productivity) คุณภาพ (Quality) ต้นทุน (Cost)   การส่งมอบ (Delivery) ความปลอดภัย (Safety) ขวัญกำลังใจ (Moral) พลังงาน (Energy) สิ่งแวดล้อม (Environment) จรรยาบรรณ (Ethic) เป็นต้น โดยขยับเป้าหมายที่เคยตั้งไว้ให้สูงขึ้น เพื่อเป็นการท้าทายการทำงานของทุกคน

ถ้าหากบริษัทใด หรือองค์กรใดทำได้แบบนี้รับรองได้เลยครับว่า บริษัทของท่านจะมีกำไร และจะเติบโตอย่างยั่งยืนแน่นอนครับ

 

 

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ Www.bt-training.com ครับ




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com