ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




เสียงก้องจากห้องผู้บริหารตอนที่ 94 เรื่องเล่า 9 ช่อง ใช้เงินอย่างไรให้รอดวิกฤติโควิด-19

 เสียงก้องจากห้องผู้บริหารตอนที่ 94

เรื่องเล่า 9 ช่อง
ใช้เงินอย่างไรให้รอดวิกฤติโควิด-19

********************************

 “ร้านปิด ขายของไม่ได้ แต่มีลูกน้องที่ต้องดูแล”

“ไปทำงานไม่ได้ แต่ยังต้องกินข้าว”

“โดนลดเงินเดือน แต่รายจ่ายยังคงที่”

 

ทางรอดคืออะไร?

ทำอย่างไรจึงจะบริหารเงินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เพื่อผ่านวิกฤตินี้ไปให้ได้

 

บทความนี้มีคำตอบครับ...

 

วันนี้ผมขออนุญาตนำหลักการบริหารการเงิน

จากหนังสือชื่อ “ใช้เงินอย่างไรให้รวยขึ้น”

ซึ่งผมเองได้ใช้หลักการ

ตามหนังสือเล่มนี้มามากกว่า 20 ปีแล้ว 

โดยขออธิบายในเชิงประยุกต์เลยนะครับ

 

การที่เราจะใช้เงินให้รอดได้นั้น มีสมการดังนี้

(เงินเก็บ+รายได้) – รายจ่าย = เงินที่มีเหลือใช้

 

ในการบริหารเงินเราสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม โดยพิจารณาจาก 2 เรื่อง ดังนี้

1.       เร่งด่วน หมายถึง กำหนดเวลาที่เกิดขึ้น เช่นถ้าเดี๋ยวนี้ ตอนนี้ หรือวันนี้ ก็เรียกว่าด่วน แต่ถ้าพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า หรือเดือนหน้า ก็อาจจะเรียกว่าไม่เร่งด่วนเหมือนกับวันนี้ ซึ่งเรื่องด่วน หรือไม่ด่วนนั้นท่านก็พิจารณาตามประสบการณ์ หรือสถานการณ์ ของท่านเองเลยนะครับ (เพราะคำว่าด่วนของแต่ละคนนั้นอาจจะเหมือนกัน หรือแตกต่างกันก็ได้)

2.       ความจำเป็น หมายถึง สิ่งที่ขาดไม่ได้ หรือ สิ่งที่เราต้องทำ หรือสิ่งที่เราต้องมีเพื่อความอยู่รอด

  

คราวนี้ผมขอนำเรื่องความเร่งด่วน และความจำเป็นมาจับใส่ตารางเมตริกซ์  เพื่อประกอบการอธิบาย ได้ดังรูปครับ

 

A: เร่งด่วน และจำเป็น

หมายถึง ค่าใช้จ่ายประจำวันที่จำเป็นจริงๆ เช่นค่าอาหาร ค่ายารักษาโรค เป็นต้น

 

B: จำเป็นแต่ไม่เร่งด่วน

หมายถึง เงินเตรียมการสำหรับค่าใช้จ่ายในวันพรุ่งนี้ หรือช่วงเวลาต่อไป ได้แก่ ค่าอาหารในมื้อต่อไป ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมันรถ ค่าเก็บขยะ ค่าดอกเบี้ย เงินที่กู้ยืมมา เป็นต้น

 

C:เร่งด่วนแต่ไม่จำเป็น

หมายถึง รายจ่ายที่ไม่จำเป็นก็ไม่ควรเสียเงินจ่าย เช่น กำหนดจองสินค้าซึ่งอาจจะไม่จำเป็น กำหนดการต่อสมาชิก... ที่ไม่จำเป็น เป็นต้น

 

D: ไม่จำเป็น และไม่เร่งด่วน

หมายถึง รายจ่ายที่ต้องตัดทิ้งทันที เช่น สินค้าฟุ่มเฟือยที่เกินความจำเป็น หรือกิจกรรมบันเทิงที่เกินความจำเป็น (แต่ละคนให้นิยามของคำว่าสินค้าฟุ่มเฟือยที่แตกต่างกันอันนี้ก็แล้วแต่ท่านนะครับ ผมไม่ขอก้าวล่วงนะครับ)

 

คราวนี้เรามาพิจารณากันต่อว่าสิ่งใดที่เราควรพิจารณา เพื่อตัดสินใจปรับลด

1.    อาหาร โดยพิจารณาว่าเราจะใช้จ่ายแต่ละมื้อสักกี่บาทดี โดยพิจารณา ความคุ้มค่า คุ้มราคา ต้องซื้อ หรือทำกับข้าวมาตามความจำเป็น ต้องรับประทานให้หมดด้วยนะครับ อย่างให้เหลือ

 

2.    ที่อยู่อาศัย โดยพิจารณาดูว่า เราต้องส่งเงินธนาคาร หรือต้องจ่ายค่าเช่าเดือนละเท่าไหร่ เงินจะพอไหม? ถ้าไม่พอจะขอลดค่าเช่า หรือลดการจ่ายลงกับเจ้าของห้อง หรือธนาคารได้ไหม? (เราอาจลองคุยกับเขาเลยครับ ธนาคาร หรือเจ้าของห้องเขาคงเห็นใจเราเป็นแน่ เพราะเขาก็ได้รับผลกระทบเหมือนกับเรา) และผมขอแนะนำอีกนิดนะครับว่ากรณีที่เราต้องซ่อมแซม หรือปรับปรุงบ้านของเราก็ควรพิจารณาว่าระหว่างเราทำเอง กับจ้างเขาทำ อันไหนคุ้มค่า มากกว่ากัน ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง ทำเองได้ก็ทำ หรือ ถ้าต้องจ้างเขาทำ เราก็ควรเอาแบบพออยู่ได้ไปก่อนนะครับ แต่สำหรับการตกแต่งบ้าน หรือห้องพัก ขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งรีบนะครับ เก็บเงินไว้ก่อนดีกว่านะครับ

 

3.    สาธารณูปโภค ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเก็บขยะ เราก็ต้องเตรียมเอาไว้จ่ายเขา และสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้คือ ช่วยกันประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ช่วยกันปิด ใช้ให้คุ้มค่าที่สุด (ใช้วิกฤตินี้สร้างนิสัยช่วยกันประหยัดกันเลยครับ)

 

4.       ค่าใช้จ่ายในบ้าน ได้แก่ ค่าข้าวสาร กะปิ น้ำปลา ชา กาแฟ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน เป็นต้น เราก็มาพิจารณาดูดว่า จากเดิมเราใช้ของแพง ตอนนี้ถ้าใช้ราคาที่ถูกลงนิด แต่พอกินได้ จะไหวไหม? ถ้าเรากินได้ เราก็กินเลย ช่วยๆกันประหยัดครับ  

 

5.    สินค้าฟุ่มเฟือย ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่เราอยากได้ แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ สินค้าประเภทที่ว่า “ของมันต้องมี” ถ้าเป็นไปได้ช่วงนี้งดได้ ก็งดไปก่อนนะครับ เอาเงินมากินข้าว จ่ายค่าน้ำค่าไฟกันก่อน เดี๋ยวเศรษฐกิจดีขึ้นเมื่อไหร่เราก็ค่อยไปซื้อนะครับ

 

6.    ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันรถ ค่าเดินทาง เราก็ต้องเตรียมเอาไว้ด้วย และช่วยกันประหยัด ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เราก็อย่าเพิ่งออกนอกบ้านเลยนะครับ ยกเว้น เวลาไปทำงานเท่านั้น

 

7.    ค่าเครื่องมือสื่อสาร อินเตอร์เน็ต ตอนนี้เราก็ใช้เฉพาะที่จำเป็นนะครับ หรือใช้ฟรีตามที่รัฐบาลแจก วิกฤติอย่างนี้เราอาจไม่ต้องการความเร็ว ความแรง แต่เราต้องการอยู่รอดมากกว่า

 

8.    สุขภาพ ร่างกาย อันนี้ก็สำคัญ อย่าลืมเตรียมเงินเอาไว้สำหรับ ค่าหมอ ค่ายา เท่าที่จำเป็น และที่สำคัญคือ รับประทานอาหารให้เหมาะสม ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย ทำจิตใจให้แจ่มใส ผมแนะนำว่าเราควรทำร่างกาย และจิตใจให้แข็งแรง จะได้ไม่มาป่วยช่วงนี้นะครับ

 

9.       พักผ่อน หย่อนใจ รื่นเริง บันเทิงใจ ตอนนี้อยู่บ้าน อ่านหนังสือ ดูทีวี อ่านบทความดีๆ และพัฒนาตนเอง ประหยัดค่าใช้จ่ายกลุ่มนี้ไว้ก่อนเลยนะครับ

 

10.    เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เช่น เงินช่วยงานต่างๆ  เงินเตรียมให้ญาติพี่น้องหยิบยืม อันนี้มีติดกระเป๋าไว้บ้างก็ดี เพราะดีกว่าไม่มี

 

สุดท้ายขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์อีกนิดนะครับว่า ถ้าเป็นไปได้ในช่วงนี้อย่ารีบใช้จ่ายเงินถ้าไม่จำเป็นนะครับ เพราะเราก็ไม่รู้ว่าสถานการณ์นี้จะจบลงเมื่อไหร่ และจะจบลงอย่างไร อย่างน้อยถ้าเรามีเงินใช้จ่าย และมีเงินเก็บอยู่บ้างเราก็จะปลอดภัยครับ

 

สุดท้ายจริงๆนะครับ ขอฝากกำลังใจให้กับทุกๆท่าน ให้สู้วิกฤตินี้ไปด้วยกัน สู้ๆ เราทำได้ เดี๋ยวมันก็ผ่านไปครับ

  

# อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ

#เพื่อประเทศไทย ทำดี ทำได้ ทำเลย

#ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ ดร.

#Thongpunchang Pongvarin Dr.

#Management GURU by Dr.Thong BT

#bt-training.com
Mobile.0898118340

http://www.bt-training.com/

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com