บทสัมภาษณ์ ดร.ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
ลงใน meeit.biz
https://meeit.biz/article/theory-and-thinking/
Talk about
ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ [Managing director l BT CORPORATION CO,. LTD]
THEORY of TELLING
ภายใต้การบริหารเชิง Productivity Improvement
“การรายงาน” ล้วนเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เพราะหากข้อมูลเกิดข้อผิดพลาด ย่อมส่งผลกระทบต่อหน่วยงานทุกภาคส่วน ดังนั้น
หากเราสร้างความเข้าใจเพื่อรายงานข้อมูลอย่างถูกต้อง-เท็จจริงจะช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งช่วยสร้างเสริมความน่าเชื่อถือแก่องค์กร โลกใบนี้ มีหลากทฤษฎีที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานอย่างเหมาะสม ซึ่ง “โฮเร็นโซ” ก็เป็นหนึ่งในทฤษฎีของประเทศญี่ปุ่นที่หลายองค์กรชั้นนำ (ระดับโลก) ให้ความสนใจ เนื่องจากมีลักษณะจัดการเป็นระบบระเบียบ แบบแผนชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ ผมมองว่าไม่ว่าจะกี่สิบกี่ร้อยปี หากมนุษย์ยังคงทำงาน โฮเร็นโซ ย่อมเป็นหนึ่งในกิจวัตรที่ขาดไม่ได้ในทุกเช้า โดยสาระสำคัญของการทำโฮเร็นโซที่ดีนั้น ผู้รายงานจะต้องสามารถสรุปข้อมูลได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ พร้อมสร้างทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ฟัง
ครั้งแรกที่ 5ส เข้ามาในประเทศไทย คงต้องย้อนกลับไปสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงเวลานั้น ญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตอุตสาหกรรมหนัก พร้อมนำนโยบายการจัดระเบียบพนักงานมาใช้ (5ส) ส่งผลให้นิคมอุตสาหกรรมเจริญเติบโตรวดเร็ว ปัจจุบัน มีองค์กรเอกชนไทยไม่น้อยได้นำแนวคิดนี้ไปใช้ ทั้งประสบความสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง ซึ่งก็ต้องบอกว่าเราทำต่อ ๆ กันมา โดยขาดความรู้ เช่นตัวอย่างที่ผมเคยเจอ มีบริษัทแห่งหนึ่งต้องการทำ 5ส ก็เลยจัดตั้งทีมขึ้นมา แล้วทีมงานดันไปก็อปปี้แบบฟอร์มการทำมาจากอินเทอร์เน็ต โดยไม่รู้เลยว่าหลักการแท้จริง หรือแก่นสาระสำคัญคือสิ่งใด ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าวิธีการให้คะแนนเป็นอย่างไร พื้นที่ตรวจสอบอยู่บริเวณไหน ทำกันแบบคนตรวจก็ไม่เข้าใจ คนถูกตรวจก็หงุดหงิดใส่ ส่งผลให้ระหว่างทั้งสองแผนกทะเลาะกัน จนมองหน้ากันไม่ติดอีกเลย
“ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม เราควรทำอย่างเข้าใจในวัตถุประสงค์”
การทำไคเซ็นในญี่ปุ่นมีมานานกว่า 1000 ปี ด้วยจุดประสงค์ปรับปรุง ต่อยอด พัฒนา ในสิ่งคุ้นเคยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ในประเทศไทย มีองค์กรเอกชนหลายแห่งได้นำหลักการทำไคเซ็นมาใช้ แต่ก็ยังทำกันแบบผิดวัตถุประสงค์ เพราะมัวแต่ไปโฟกัสที่ผลกำไร แท้จริงแล้วหากนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในองค์กร ผู้บริหารควรทำความเข้าใจกับพนักงานของตนให้ดีก่อน เช่น พยายามสร้างความตระหนักในหน้าที่ ตระหนักถึงผลกระทบ และตระหนักถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ
“การทำไคเซ็นไม่ใช่การแสวงหาผลกำไร หากแต่เป็นการปรับปรุงหรือต่อยอดในสิ่งที่มีอยู่ให้พัฒนา”
จาก 3 ตัวอย่างทฤษฎีด้านบน สังเกตได้ว่าแต่ละหลักการมีแนวทางการใช้งานที่เหมาะสมอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำไปใช้ในทิศทางใด แต่ก่อนจะนำไปใช้ต้องสามารถตอบคำถามตนเองให้ได้ก่อนว่า เรารู้จักกับทฤษฎีดีพอหรือยัง ใช้แล้วจะส่งผลกระทบอย่างไร สามารถปรับเปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน และสุดท้ายจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรในองค์กรได้อย่างไร
“Economic disruption but I’m not disrupted”
ภายใต้สถานการณ์ disruption ของโลกธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรมไทยหลายแห่งได้เริ่มปรับเปลี่ยนกลยุทธ์-วิธีการทำงานโดยเน้นเครื่องจักรเข้าทดแทน ซึ่งส่วนใหญ่ที่ถูกปรับเปลี่ยนจะมี 3 ส่วนสำคัญ ดังนี้

A.I. [Artificial Intelligence] เริ่มมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อสั่งงานเครื่องจักรเฉพาะด้าน เช่น งานผลิตที่ซับซ้อน หรืองานวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ยอดการผลิตเติบโตและสำเร็จได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
ROBOT ปัจจุบันตามโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ จะมีการใช้หุ่นยนต์พ่นสี (ตัวถัง) หรือใช้หุ่นยนต์เป็นช่างเชื่อมต่อวัสดุ เนื่องจากเป็นวิธีลดอุบัติเหตุจากการทำงานของมนุษย์ ทั้งสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่พัก แต่การใช้หุ่นยนต์ทำงานยังคงมีข้อจำกัดอยู่ ในเรื่องของต้นทุนที่สูงและซ่อมแซมยาก แต่ในอนาคตจะกลายเป็นเรื่องปกติทั่วไป เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีคลื่นสัญญาณที่สามารถดาวน์โหลด-อัพโหลดข้อมูลได้รวดเร็ว
Online Network ธุรกิจยุคปัจจุบัน ไม่ใช่ลักษณะของปลาใหญ่กินปลาเล็กอีกแล้ว แต่เป็นปลาที่ว่องไวและแข็งแรงถึงจะสามารถอยู่รอดปลอดภัย แล้วการจะอยู่รอดได้ ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสื่อสาร เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างฉับพลัน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนวางแผนการผลิตด้วยระบบออนไลน์ วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายด้วยปัญญาประดิษฐ์ อัพเดทสถานการผลิตทุกชั่วโมง สร้างช่องทางการจัดซื้อจัดส่งด้วยระบบแอพพลิเคชั่น ติดตาม-สอบถามความพึงพอใจของลูกค้าผ่านโซเชียลออนไลน์ เป็นต้น
“THINKING FOR DEV”
นอกจากศึกษาทฤษฎีเพื่อสร้างความใจ “การฝึกคิดต่อยอด” ล้วนเป็นหัวใจหลักต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพองค์กร และการที่องค์กรจะอยู่รอดได้ภายใต้สถานการณ์ disruption ทุกแผนก-ทุกฝ่าย จะต้องช่วยกันร่วมมือพัฒนา
ผู้บริหาร ฝ่ายบริหาร หัวหน้างาน จำเป็นที่จะต้องศึกษาหาข้อมูลให้มาก โดยไม่ปิดกั้นตนเอง พยายามเรียนรู้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ ศึกษาจุดแข็งจุดอ่อนของคู่แข่ง ฝึกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ควรรอบรู้เรื่องการบริหารจัดการบุคลากร การจัดสรรเวลา และการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจอย่างเชี่ยวชาญ
พนักงานระดับปฏิบัติการ ฟันเฟืองสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้ แม้จะมีเครื่องจักรทันสมัย ระบบจัดการพร้อมสรรพ หากแต่ไม่มีคนทำงานทุกอย่างก็ไม่สามารถเกิดขึ้น แต่ใช่ว่าการเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการณ์จะสามารถนิ่งนอนใจได้ในยุคปัจจุบัน ด้วยการมาของเทคโนโลยีสื่อสาร 5G การเลิกจ้างงานมนุษย์ครั้งใหญ่อาจกำลังมาถึงในไม่ช้า ดังนั้น พนักงานควรหมั่นฝึกฝนทักษะอื่น ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพส่วนตัว ห้ามหยุดนิ่ง ไม่อย่างนั้นอาจจะลำบากได้ในอนาคต
“การฝึกคิดต่อยอดและพัฒนา คือจุดเริ่มต้นของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่”