ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




การเขียน Action Plan ตามแนวทางของ PDCA article

การเขียน Action Plan ให้ประสบผลสำเร็จ ด้วยแนวทางของ PDCA

โดยทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ วิทยากร นักเขียน ที่ปรึกษา 

แลกเปลี่ยนแนวคิด: email:tpongvarin@yahoo.com โทร:089-8118340

ที่โต๊ะทำงานของผู้จัดการฝ่ายผลิต


"วันนี้ MD เขากำหนดแผนงานประจำปี ของแผนกเราดังนี้


1. ส่งมอบสินค้าทันเวลา (On Time Delivery) ได้มากกว่า 98%
2. ปริมาณของดี เทียบกับของเสีย (Yield) 0.05%
3. อัตราการเพิ่มผลผลิต (Productivity) เพิ่มขึ้น 5%


ดังนั้นเป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องไปเขียนแผนงานมาผมกำหนดให้พรุ่งนี้เย็นคุณต้องส่งให้ผม
อย่าลืมนะ เพราะอีกสองวันผมต้องนำข้อมูลเข้าประชุมด้วย ใครมีคำถามอะไรไหม?"

ผู้จัดการสั่งหัวหน้างาน 3 แผนกที่นั่งอึ้งอยู่กับคำสั่งนั้น
หลังจากที่ทุกคนกำลังมืดแปดด้าน สรุพล ก็พูดขึ้นมาว่า
"แล้วเราจะทำยังไงล่ะครับ ผมไม่รู้จะเขียนยังไงเหมือนกัน เพราะ จากที่เขียนมาเมื่อปีก่อน

ก็ทำได้บ้างไม่ ได้บ้าง ทำจริงบ้าง หรอกเขาบ้าง พี่ช่วยแนะนำหน่อยเถอะครับ"
ผู้จัดการทำหน้างง เพราะไม่ทันคิดว่าลูกน้องจะกล้าถาม เลยรีบตอบสวนขึ้นไปว่า
"ผมให้เกียรติพวกคุณเต็มที่ คุณคิดอะไรมาก็ได้ทั้งนั้น คิดมาก่อน แล้วผมจะช่วยแก้ไขให้"
เอ้าไปทำงานต่อได้แล้วเดี๋ยวผมจะรีบเข้าประชุม" ผู้จัดการรีบไล่ลูกน้อง แล้วรีบเดินไปซดกาแฟด้วยความสบายใจ
 
 

ท่านเคยประสบเหตุการณ์แบบนี้บ้างหรือไม่? และถ้าเป็นท่านอยู่ในสถานะใดครับ?

ถ้าหากเป็นผู้จัดการก็คงดีหน่อย แต่ถ้าเป็นหัวหน้างานละก็จะทำอย่างไงดีล่ะทีนี้
 เหตุการณ์นี้ผมเคยประสบมาก่อนครับ แต่โชคดีที่ผมเป็นหัวหน้างานครับ (มองโลกในแง่ดีหน่อย)

เลยได้มีโอกาสทดลองใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับวันนี้เลยอยากที่จะนำไอเดียนั้นมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนครับ 


 เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเขียนแผนปฏิบัติการ หรือ Action Plan จึงมีความสำคัญอย่างมาก

เพราะเป็นตัวกำหนดแผนการดำเนินงานทั้งหมด ดังคำพูดที่ว่า "วางแผนดีมีชัย ไปแล้วกว่าครึ่งหนึ่ง" 

ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หัวหน้างาน หรือผู้ที่จะเขียนแผนงานต่างๆ ต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

ถึงวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย เพื่อที่จะได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปเขียนแผนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 สำหรับหลักการเขียน Action Plan ที่ผมนิยมใช้ คือ วงล้อของเดมิ่ง หรือ Deming Circleซึ่งเป็นแนวคิดของ ดร.เดมิ่ง

ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักดังนี้ คือ PDCA คือ P (Plan) คือ

การวางแผน D (Do) คือการนำไปปฏิบัติ C (Check) คือการตรวจสอบ และA (Action) คือการประเมินผลผลที่เกิดขึ้น

เพราะคิดว่าเป็นหลักการที่เป็นเหตุ เป็นผลดี มีที่ไปที่มาชัดเจน (ช่วยแก้อาการ มึน หรืออาการมั่วได้ดี)

สำหรับแนวทางในการประยุกต์ใช้ PDCA เพื่อการเขียน Action Plan หรือแผนงานต่างๆ มีดังต่อไปนี้


1.กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย โดยกำหนดให้ชัดเจนให้เป็นตัวเลข และต้องมีกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน

เช่น จำนวนของเสียลดลง 5% จากปีก่อน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ง 1มกราคม 2553- 30มิถุนายน 2553


2.ตรวจสอบสภาพจริงที่เกิดขึ้น ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง สภาพเครื่องจักร คน อุปกรณ์ สิ่งแวดล้อม

โดยต้องลงไปดูข้อมูล จากบันทึก รายงาน สภาพพื้นที่ปฏิบัติงานจริง เพื่อให้เห็นภาพที่แท้จริงที่ครอลคลุมทั้งหมดก่อน


3.วิเคราะห์ข้อมูล รายละเอียดทั้งหมด นำวัตถุประสงค์นั้นมาเขียนแผนภูมิต้นไม้ (Tree Diagram) หรือ Mind Mapping

แล้ววิเคราะห์ให้ครอบคลุมทุกมิติ วิธีการนี้จะทำให้เราได้มองภาพรวม และเห็นรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายนั้น

เช่น เพื่อลดปัญหาข้อร้องเรียนของลูกค้า เพื่อเพิ่มยอดขาย เพื่อเพิ่มจำนวนการส่งมอบสินค้าให้ทันเวลา


4.เขียนแผนงาน (Action Plan) โดยเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากแผนภูมิต้นไม้มาเขียนเป็นแผนงาน 

แกนท์ (Gantt Chart) สำหรับรายละเอียดในแผนงานส่วนใหญ่ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ กำหนดเวลา ผู้รับผิดชอบ วิธีการติดตาม และประเมินผล ซึ่งใช้โปรแกรม Excle ทำง่ายๆ


5.นำแผนงานที่เขียนไว้ไปสื่อสารให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง

โดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบอะไร ก็ต้องไปทำให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ มิให้ขาดตกบกพร่องแม้แต่น้อย


6.นัดประชุมกันเป็นระยะเพื่อเป็นการติดตาม และประเมินผล ซึ่งโดยที่นิยมส่วนใหญ่ก็สัปดาห์ละครั้ง อย่างสองสัปดาห์ครั้งตามความเหมาะสมครับ


7.สรุปกันเมื่อถึงเวลาที่กำหนด ถ้าบรรลุเป้าหมายก็ฉลองกันหน่อย อาจไปกินข้าว กินกาแฟ หรือขนมเล็กๆน้อย แต่ถ้าไม่สำเร็จ

(ธรรมดาครับ ไม่มีใครทำครั้งเดียวแล้วแก้ไขได้สำเร็จเลย) ก็เรียกทีมงานมานั่งคุยกัน

แล้วพิจารณาดูซิว่า เราวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงจุดหรือไม่ หรือเราไม่นำแผนงานไปปฏิบัติกันอย่างจริงจัง

แล้วค่อยๆ พิจารณาดูกันใหม่อีกที จากนั้นก็มานั่งเขียนแผนงานกันใหม่อีกครั้ง


          ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ในระหว่างที่มีการปฏิบัติงานนั้นหากมีข้อสงสัย ไม่แน่ใจ หรือติดขัด

ให้รีบแจ้งทีมงาน หรือหัวหน้าทีมทันที อย่าทำไปด้วยความรู้สึกถูกบังคับ หรือทำเพราะหน้าที่

ควรทำไปด้วยความมุ่งมั่นที่อยากจะเห็นความสำเร็จของงาน หรือสนุกกับสิ่งที่ทำนะครับ นะครับ เพราะโอกาสความสำเร็จจะมีสูงกว่าด้วย


          สุดท้ายสำหรับท่านใดที่ต้องการวิธีการเขียน Action Plan โดยใช้แผนภูมิต้นไม้

สามารถส่ง email มาได้ที่ tpongvarin@yahoo.com หรือ โทร 089-8118340ครับ ขอให้โชคดี กับ KPI ในปีนี้

และสนุกกับการเขียน Action Plan กันทุกคนนะครับ
 

ปล. ขอฝากข้อคิดในการเขียน Action Plan  ดังนี้
"เขียนในสิ่งที่ทำได้จริง                ไม่เพ้อฝันจนเกินกำลังความสามารถ"
"เขียนให้ครอบคลุมในทุกประเด็น  ไม่ให้ขาดแม้แต่ประเด็นเดียว"
"เขียนในสิ่งที่รู้จริง                       ไม่มั่ว หรือเดาเอา"
"เขียนเมื่อมั่นใจ                           ไม่มั่นใจอย่าเพิ่งเขียน"
"เขียนไม่ดี                                  เขียนใหม่รอให้ดีก่อนนำไปใช้จริง"     
              

"ไม่รีบ ไม่ดี ไม่ทำ"  โชคดีครับ
 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com