ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




วิธีการเพิ่มจำนวนกิจกรรมข้อเสนอแนะ และไคเซ็น

 

วิธีการเพิ่มจำนวนกิจกรรมข้อเสนอแนะ และไคเซ็น
เขียนโดยทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
มูลเหตุจูงใจ ประสบการณ์จากการไปบรรยายหลักสูตรกิจกรรมข้อเสนอแนะ และไคเซ็น
 
                หลายครั้งที่ผมได้ไปบรรยายหลักสูตร การดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะ และกิจกรรมไคเซ็น ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบส่วนใหญ่มีอยู่ด้วยกันสองประการคือ บริษัทที่เพิ่งเริ่มทำ ซึ่งปัญหาที่พบคือ พนักงานส่วนใหญ่ ขาดความรู้ ในกิจกรรม ไม่รู้ว่ากิจกรรมนี้คืออะไร จำเป็นอย่างไร ทำไมต้องทำ และถ้าจะทำต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งปัญหานี้แก้ไขได้ไม่ยาก เพียงแค่ให้ความรู้ คำแนะนำ หรือให้ตัวอย่าง พร้อมกับการ แนะขั้นตอน วิธีการดำเนินงานก็ไปได้โลดแล้วครับ แต่สำหรับปัญหาที่สองซึ่งมักเกิดขึ้นกับ บริษัทที่มีการดำเนินกิจรรมทั้งสองมาได้ระยะหนึ่ง โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนั่นก็คือ จำนวนของการเสนอกิจกรรมเหล่านี้ลดลง (ไม่เหมือนช่วงแรก ที่เริ่มทำ)  แม้จะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมก็ตาม เช่น เพิ่มเงินรางวัล จัดประกวดคำขวัญ จัดการแข่งขัน ติดบอร์ด ป้าย ประชาสัมพันธ์ แต่จำนวนก็ยังไม่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดอยู่ดี
            จากประสบการณ์ที่ไปบรรยาย และพูดคุยกับผู้เข้ารับการอบรม ผมเลยเกิดแนวคิด ที่อยากจะผ่าทางตัน ของปัญหานี้ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาก่อน โดยผมขอมองเป็น 3 ประเด็นดังต่อไปนี้ครับ
 
หนึ่ง ด้านตัวพนักงาน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ ขาดความรู้ หรือแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม ไม่มีเวลาคิดเพราะงานประจำวันก็ยุ่งมากอยู่แล้ว โดยนิสัยแล้วไม่ค่อยชอบคิด ไม่ใช่นักสังเกต คิดว่าตนเองมีความรู้น้อย คงทำไม่ได้ พนักงานไม่ค่อยรู้ว่าเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทั้งสอง
แนวทางการแก้ไข คือ หนึ่ง อบรมให้ความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง สอง ควรมีเครื่องมือช่วย เช่น ตารางตรวจสอบ (Check Sheet) เพื่อให้พนักงานนำไปวิเคราะห์หาหัวข้อตามที่ระบุเอาไว้ (เอาไว้แก้ไขปัญหา พนักงานไม่รู้จะทำเรื่องอะไร) โดยนำเอกสารฉบับนี้ถือเข้าไปในกระบวนการแล้วตรวจสอบตามที่ระบุไว้ เท่านี้ก็ได้หัวเรื่องอีกเพียบเลยละครับ (ผมลองมาแล้ว Work มากครับ) สาม ควรมีการแบ่งเวลาให้พนักงานคิดบ้าง เช่น ก่อนเลิกงานสัก ห้านาที หรือสัปดาห์ละ สิบนาที  ให้พนักงานกับหัวหน้า มานั่งคุยกัน เพื่อสรุปปัญหา ข้อบกพร่อง หรือข้อเสนอแนะจากการปฏิบัติงาน  โดยควรจัดเตรียมพื้นที่ ให้เหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ เช่นห้องประชุม โรงอาหาร หรือม้าหิน ใต้ต้นไม้ เป็นต้นครับ สี่ พนักงานควรมีสมุดพกเล่มเล็กๆ ติดตัวเอาไว้ เพื่อเอาไว้บันทึกรายละเอียดต่างๆ เช่น ปัญหา ข้อเสนอแนะ หรือไอเดียต่างๆ (ลงทุนแค่เล่มละไม่เกิน 10 บาท แต่ได้ผลเป็นหลักหมื่นบาทก็มีมาแล้วครับ)
 
สอง หัวหน้างาน ซึ่งถือเป็นหัวใจ เพราะเป็นฟันเฟืองที่คอยขับเคลื่อนที่สำคัญ สำหรับปัญหาส่วนใหญ่ของหัวหน้างานที่เป็นอุปสรรค์ต่อการดำเนินกิจรรมทั้งสองคือ ขาดความรู้ ความเข้าใจ ยุ่งจนไม่มีเวลาจะทำอะไรอยู่แล้ว ขาดความรู้ในการปรับปรุง และพัฒนาตนเอง  และนิสัยส่วนตัวที่อาจจะเป็นอุปสรรค์ต่อการดำเนินกิจกรรม
แนวทางแก้ไข ควรศึกษาหาความรู้ให้มีความเข้าใจในกิจกรรมทั้งสองอย่างลึกซึ้ง เช่น หัวข้ออะไรบ้าง และสิ่งใดที่สามารถทำได้ จากนั้นก็ควรเข้าไปให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด และที่สำคัญควรมีการกระตุ้นให้เกิดการคิด และวิเคราะห์เพื่อค้นหาจุดบกพร่อง หรือจุดที่ควรปรับปรุง และพัฒนา สุดท้ายต้องคอยติดตามผล และให้กำลังใจลูกน้องเสมอ  อีกประการหนึ่งคือ ต้องปรับเปลี่ยนตนเองให้เห็นความสำคัญของการปรับปรุง และพัฒนางาน (ขอแนะนำว่า ต้องปรับเปลี่ยนตนเองก่อน แล้วจึงค่อยไปปรับเปลี่ยนลูกน้อง จะได้ผลเร็วที่สุดครับ)
 
สาม คณะกรรมการ และผู้บริหาร จากปัญหาที่พบบางครั้งเช่น การไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกลำเอียง หรือไม่เป็นธรรม และความล่าช้าในการดำเนินการตัดสิน นั้นมีความล่าช้าทำให้ผู้ที่เขียนรู้สึกเบื่อที่จะรอผม (คนส่วนใหญ่ ใจร้อน อยากรู้ผลไวๆ)
แนวทางการแก้ไข ควรมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง เช่นติดบอร์ดที่บริเวณ โรงอาหาร ทางเดิน ห้องน้ำ หรือบริเวณที่คนเดินผ่านไป ผ่านมามากๆ เพื่อให้คนสนใจ หรืออาจส่งเมลล์ เพื่อ Update ให้กับหัวหน้างานต่างๆ เพื่อแจ้งไปยังลูกน้องได้ทราบความคืบหน้าต่างๆ
สอง ควรนำกิจกรรมอื่นเข้ามาช่วย เช่น การให้ความรู้ด้าน วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) วิศกรรมคุณค่า (Value Engineer) การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) 5ส. การลดความสูญเปล่า TPM (Total Preventive Maintenance) และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย โดยควรเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงานนะครับ สาม ควรมีการให้รางวัลอย่าเหมาะสม โดยรางวัลอาจไม่ใช่ตัวเงินเสมอไป ผมเห็นบางที่ก็ให้ใบประกาศ ถ้าหากสามารถเสนอหัวข้อได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน สามสัปดาห์ สี่ ควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้พนักงานได้ค้นคิด หาปัญหาได้ด้วยตนเอง โดยส่งเสริมให้พนักงานค้นหาจุดผิด จุดบกพร่อง จุดปัญหา หรือจุดที่ควรปรับปรุงได้ด้วยตนเอง
            สุดท้าย ก็ขอเอาใจช่วยทุกบริษัท ให้ดำเนินกิจกรรมทั้งสองให้บรรลุเป้าหมาย ตามที่แต่ละท่านได้กำหนดเอาไว้ แม้จะยากเย็นเหมือนเข็ญครก ขึ้นภูเขาก็ตาม เพราะ "กิจกรรมนี้บอกได้เลยครับว่า เป็นกิจกรรมง่ายๆ แต่ทำแล้วได้ผลจริงล้านเปอร์เซ็นต์ครับ"
 



บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM) article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com