ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




วิธีการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับคนไทยมากที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหา “เกิดอเมริกา โตญี่ปุ่น ตายเมืองไทย” article
 
เขียนโดยทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
Email: tpongvarin@yahoo.com, Tel:089-8118340, www.bt-training.co.th
 
มูลเหตุจูงใจ ขณะบรรยายหลักสูตรการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness)
ที่ บริษัทพานาโซนิค อิเล็กทริกเวอร์ค สาขาขอนแก่น
สถานที่เขียน สนามบินนานาชาติอุดรธานี
 
   วันนี้ผมมาบรรยายหลักสูตร การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผมอธิบายถึงสาเหตุแห่งการไม่เกิดจิตสำนึก และวิธีการปฏิบัติงานที่น่าจะเหมาะสมที่สุด คิดมาคิดไป ก็เลยอยากจะมาแลกเปลี่ยนแนวคิดกันดังนี้ครับ
 
“เกิดอเมริกา โตญี่ปุ่น ตายเมืองไทย”
 
หลายท่านคงเคยได้ยินคำพูดนี้ แล้วก็หัวเราะ แล้วคิดต่อในใจว่า “เห็นด้วยอย่างยิ่ง”ผมก็เป็นคนหนึ่งครับที่ตอบอย่างนั้น
มีผู้บริหารคนหนึ่งท่านมารับฟังผมบรรยาย การบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน พูดไว้น่าสนใจครับว่า
 
“บริษัทของผมจ้างที่ปรึกษา มาทำ TPM สิบกว่าปีแล้ว ไม่บรรลุผลสำเร็จสักที ทำไปๆ พอขึ้นสู่ขั้นตอนที่สี่ อีกหกเดือนต่อมา ตรวจดูอีกที กลับมาอยู่ที่ขั้นตอนที่ 1 อีกแล้ว”
 
จากการที่ได้แลกเปลี่ยนแนวคิด และประสบการณ์กัน ระหว่างพักการบรรยาย ก็เลยสรุปต้นตอ อันเป็นที่มาของปัญหาความล้มเหลวของการนำระบบต่างๆจากประเทศมาใช้ในประเทศไทยมีสาเหตุหนึ่งมาจาก
 
การที่เรานิยมลอกแบบเขาแล้วนำมาปฏิบัติ (ประเภทที่ว่า เอามาทั้งดุ้นเลย) โดยไม่รู้จักวิธีการประยุกต์ให้เหมาะสมกับบุคลิกลักษณะและนิสัยที่แท้จริงของคนไทย”
 
ลักษณะโดยทั่วไปของมนุษย์
 
                    คนเรานั้นจะทำอะไรสองอย่างพร้อมกัน และหวังว่าจะได้ผลได้ดีเท่ากันทั้งสองอย่างนั้นยาก
                    เมื่อเวลาผ่านไป ความตั้งใจก็มักจะลดลงตามไปด้วย
                    คนเรามักจะมีความเผลอเรอเป็นทุนเดิม ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่เกิด (ทั้งๆที่ไม่อยากได้เลย)
                    ความมุ่งมั่น ตั้งใจ จะแปรผันไปตามสภาพแวดล้อมในการ ในการทำงาน เช่น ความหิว เหนื่อย เมื่อย ล้า ปัญหาส่วนตัว ปัญหางานต่างๆ เป็นต้น
                    มักชอบใช้ความรู้สึก รางสังหรณ์มากกว่าไปดูของจริง
                    ชอบทำงานแบบรวบรัด เพื่อทำให้เสร็จเร็วๆ จึงทำให้ขาดความละเอียดรอบคอบ
                    มักขาดสติ และสมาธิ
                    เมื่อมีสิ่งรบกวนใดๆ เข้าแล้วละก็ จะขาดสมาธิทันที
                    ชอบทำตามอารมณ์ เช่น วันไหนอารมณ์ดี ก็จะทำงานได้ดี แต่ถ้าวันไหนอารมณ์เสียแล้วละก็ จะทำงานเพียงเพื่อให้เสร็จๆ ไปเท่านั้น
 
ลักษณะโดยทั่วไปของคนไทย
 
                    คนไทย ชอบสนุกสนาน การเฮฮา สังสรรค์
                    คนไทย มักจะไม่เครียดกับชีวิต ซึ่งบางทีอาจทำให้ขาดความมุ่งมั่นในการทำงาน
                    คนไทย มีความสัมพันธ์ เป็นลำดับชั้น ตามลำดับความอาวุโส
                    คนไทย ยกย่อง คนมีความรู้ ความสามารถ หรือผู้รู้จริง
                    คนไทย นิยมคนใจนักเลง ประเภทกล้าได้ กล้าเสีย และกล้ารับผิดชอบ ไม่ทอดทิ้ง
                    คนไทย มีความยืดหยุ่นสูง ไม่ยึดติดอะไรตายตัว 
                    คนไทย ไม่ชอบผูกพันระยะยาว ชอบทำงานเฉพาะกิจ และมีผลต่อการทำงานเป็นทีม
                    คนไทย ส่วนใหญ่มีความคิดเป็นของตนเอง (แต่ละคน ก็คิดกันคนละอย่าง) ดังคำพูดที่ว่า
                    ทำอะไรตามใจ คือไทยแท้ ทำให้ขาดระเบียบวินัย คนไทย เข้าใจกฏระเบียบ มารยาท และกติกา ของสังคมเป็นอย่างดีแต่มักชอบละเมิด
                    เมื่อมีการทำผิด ก็มักจะให้อภัย และไม่เน้นการลงโทษอย่างรุนแรง
 
 
หลังจากที่ลักษณะของคนทั่วไป และลักษะเด่นของคนไทย ไปแล้ว ผมก็ขอเสนอ แนวทางในการปฏิบัติงาน ที่คิดว่าน่าจะเหมาะสมกับคนไทยมากที่สุด ดังนี้ครับ
 
1.       ไม่ควรสั่งงานลูกน้องหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน
2.       กระตุ้นลูกน้องอยู่เป็นระยะ และต่อเนื่อง
3.       จัดการควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) เช่น ป้าย หรือสัญลักษณ์ ต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องกระตุ้นให้พนักงานได้เกิดสติ และช่วยเพิ่มระมัดระวัง
4.       จัดกิจกรรม หรือเครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อช่วยป้องกันความผิดพลาด เผลอเรอ (Fool Proof) หรือ Poka Yoke เป็นต้น
5.       ควรบริหารงานโดยใช้ความจริง (Management by Fact) และเหตุผล (Cause and Effect)
6.       ควรกำหนดขั้นตอนการทำงานเป็นลำดับชัดเจน และนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
7.       กำหนดบทลงโทษ สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการป้องปรามผู้ที่จะทำผิด หรือไม่รักษากฏกติกา ข้อบังคับ
8.       ควรแนะนำให้พนักงานใช้สติในการทำงาน เช่น การส่งเสริมให้ทำสมาธิก่อนเริ่มงานอย่างน้อย 1 นาที หรือจัดกิจกรรมเข้าวัด เพื่อปฏิบัติธรรม ก็ดีไม่น้อยครับ
9.       ควรกำหนดมาตรฐานด้านผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานทั้งคุณภาพ (Quality) และ ปริมาณ (Quantity) ระยะเวลา (Time Line) เพื่อให้พนักงานได้มีเป้าหมายในการทำงานในแต่ละวันอย่างชัดเจน
10.    ควรจัดกิจกรรมสันทนาการ เพื่อให้พนักงานได้รู้สึกผ่อนคลายจากบรรยากาศที่เครียดๆ ในการทำงาน เช่น การจัดนำเที่ยว จัดกีฬาสี จัดเลี้ยงประจำปี ประจำเดือน ซึ่งสิ่งที่ได้นอกจากความสนุกสนาน และการผ่อนคลายแล้ว ยังทำให้พนักงานได้รู้จักกันอีกด้วย เป็นการสร้างความสามัคคีในองค์การอีกทางหนึ่งครับ
11.    ติดตามการทำงานของพนักงานอย่างเหมาะสม ไม่มาก หรือน้อยจนเกินไป
12.    ควรจัดกิจกรรมที่ใช้เวลาไม่นาน เช่น การประเมินผลกิจกรรมต่างๆ จากปีละครั้ง หรือปีละสองครั้ง ก็ควรเปลี่ยนเป็น ปีละสี่ หรือหกครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาไม่ผูกพันธ์ระยะยาวนั่นเอง
13.    หัวหน้าควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านการทำงาน เช่น มีความรู้สูงกว่าลูกน้อง และในด้านพฤติกรรม ความประพฤติ และการวางตัวต่างๆ ต้องเหมาะสม เพื่อให้ลูกน้องใช้เป็นแบบอย่าง
14.    ควรจัดช่องทางให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น ทั้งที่เป็นทางการ เช่น จัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็น โดยให้พนักงานเข้ามีส่วนร่วม และไม่เป็นทางการ เช่น กล่องรับฟังความคิดเห็น เป็นต้น เพื่อรับฟังความคิด ความรู้สึกของพนักงาน ในด้านต่างๆ
15.    ทำให้ที่ทำงานเหมือนบ้านหลังที่สอง โดยทำทุกอย่างด้วยความรัก ความจริงใจ ให้เกรียรติ เคารพในสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ และที่สำคัญมองว่าพนักงานทุกในองค์กรทุกคนทุกตำแหน่ง ทุกแผนก มีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด เพราะทุกคนคือ ผู้ที่คอยช่วยกันผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จครับ    
 
จากทฤษฎี และแนวคิดของผม ไม่รู้ว่าโดนใจใครบ้างหรือเปล่าครับ ยังไง ก็ลองนำไปประยุกต์ใช้กันดู ตามความเหมาะสมนะครับ สำหรับผมรับรองว่าหากใครลองนำไปใช้รับรองได้เลยว่า ได้ผลล้านเปอร์เซ็นต์ครับ



บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com