ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




การบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
เขียนโดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์  วิทยากร นักเขียน และที่ปรึกษา
Email:tpongvarin@yahoo.com,www.bt-training.com,Tel:089-8118340
    เมื่อสัปดาห์ก่อนเพื่อนของผมโทรมาปรับทุกข์ว่า “ถ้าหลังจากได้รับโบนัสแล้วจะรีบยื่นใบลาออกทันที”  ซึ่งเขาเคยบ่นให้ผมฟังหลายครั้งว่ามีปัญหาขัดแย้งกับหัวหน้า
ผมได้พูดให้กำลังใจ และบอกให้เพื่อนคนนี้ไปคิดใหม่อีกสิบครั้ง เพราะการลาออกไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ไหนจะต้องหางานใหม่ ปรับตัวกับเพื่อร่วมงาน และสภาพแวดล้อมใหม่ๆอีก แล้วถ้าเจอหัวหน้าแย่กว่านี้ล่ะจะไม่มีปัญหาอยู่อีกเหรอ การที่ตัดสินใจลาออกเพื่อยุติการแก้ไขปัญหานั้น คงไม่น่าจะดีเท่าไร เพราะทุกที่ก็มีปัญหาความขัดแย้งด้วยกันทั้งนั้นจริงไหมครับ?
หลังจากที่ได้ให้คำปรึกษากับเพื่อนอยู่นาน ผมก็นึกได้ว่าน่าจะหาทางออกที่ดีกว่านี้ โดยประยุกต์หลักวิชาองค์การสมัยใหม่ (Modern Organization) ติดตามได้เลยครับ
ความขัดแย้ง (Conflict) หมายถึง พฤติกรรมอันเป็นปรปักษ์ หรือการไม่ลงรอยกันของคนในองค์กร
ซึ่งที่มาของความขัดแย้ง ก็มีอยู่มากมาย เช่น การขัดผลประโยชน์ การไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการ อคติ การเข้าใจผิด การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง การคิดไปเอง การใส่ร้าย โอ๊ย!!!อีกมากมายครับ
ซึ่งจริงๆ แล้วความขัดแย้งนั้นก็มีประโยชน์เหมือนกันนะครับไม่ใช่มีแต่โทษอย่างเดียว
โดย Jones ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับประสิทธิผล (Effectiveness) ขององค์กร เป็นกราฟรูประฆังคว่ำ ซึ่งสรุปสั้นๆได้ว่า
  • เริ่มต้นเมื่อความขัดแย้งค่อยๆสูงขึ้น ประสิทธิผลขององค์กรก็จะค่อยๆสูงขึ้น เพราะคนจะแข่งขันกันทำงาน ผลงานก็จะออกมาดี แต่พอถึงจุดสูงสุดที่ความขัดแย้งนั้นมากเกินที่คนในองค์กรจะรับได้แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะเกิดตรงกันข้ามทันที นั่นคือ ยิ่งความขัดแย้งเพิ่มสูงขึ้นเท่าไร ประสิทธิผลขององค์กรก็จะยิ่งลดลงๆ  และลดลงอย่างรวดเร็ว

สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนั้น ผมขอประยุกต์ใช้จากหลักการของนักวิชาการหนายๆท่านเลย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 แนวทาง ดังต่อไปนี้

วิธีที่ 1 วิธีการหลีกเลี่ยง (Avoiding) ใช้เมื่อความขัดแย้งไม่มาก เล็กน้อยๆ ปัญหาไม่สำคัญ ซึ่งทำได้โดยยอมๆ ไปเถอะ เรื่องจะได้จบๆไป ขอกันกินมากกว่านี้อีก ข้อดีคือ ฝึกฝนให้เป็นคนใจกว้างเหมือนแม่น้ำ (แต่ก็อย่ากว้างจนเกินไปนะครับ)
วิธีที่ 2 การประนีประนอม (Compromise) ใช้เมื่อเกิดการเผชิญหน้ากัน ซึ่งทำได้โดย หายใจเข้า หายใจออก ให้ครบร้อย รอให้สถานการณ์เย็นก่อน แล้วค่อยมาเจรจา (ถ้าร้อน เจอ ร้อน ก็ระเบิดแน่) ด้วยเหตุและผล ด้วยข้อมูล จริง ไม่เอาอารมณ์ ความรู้สึก มาเกี่ยว ข้อดีคือ ท่านจะได้ฝึกฝนให้เป็นคนใจกว้าง และใจเย็นเหมือนน้ำแข็ง (แต่อย่าแข็งจนไม่ทำอะไรเลยนะครับ)
วิธีที่ 3 การแข่งขัน (Competitive)ใช้เมื่อสองฝ่ายที่ขัดแย้งกัน แล้วไม่ทำอะไรเลย หรือภาษาบ้านๆ เราเรียกว่า “อึน” มัวแต่ดูเชิงกัน ซึ่งอาจเกิดการการเกี่ยงกันทำงาน หรือความขี้เกียจ แก้ไขโดยจัดให้มีการแข่งขันกัน โดยให้รางวัลอย่างเหมาะสมกับผลลัพธ์ของงานนั้น จะได้ไม่ว่างแล้วระหว่างที่แข่งขันกันทำงานเราก็คอยประสานให้เกิดความสามัคคีซะ แค่นี้ก็จบครับ งานเดิน คนก็เดิน วิธีการนี้สอนให้มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างไม่ลดละเพราะต้องการจะเอาชนะครับ
 วิธีที่ 4 การยอมจำนน (Accommodation)ใช้กับฝ่ายที่ผิด หรือฝ่ายที่แพ้ ได้เปิดใจ ยอมรับ แล้วกล่าวคำว่า “ขอโทษ” แล้วยอมรับความคิดเห็น หรือแนวทางปฏิบัติของผู้ชนะ เราแพ้เราก็ยอมรับ แต่ถ้าชนะก็อย่าไปซ้ำเติม หรือหัวเราะเยาะเขาเป็นอันขาด ควรให้กำลังใจ และอย่าไปถือสา หาความ สำหรับวิธีการนี้จะช่วยฝึกฝนให้เราเป็นคนมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
วิธีที่ 5 ร่วมมือ (Collaboration)ใช้เมื่อต้องการหาทางออกร่หวมกันไม่รู้จะขัดแย้งกันไปทำไม เพราะถึงอย่างไร เราก็ต้องทำงานด้วยกันอยู่ดี เสียเวลาเปล่า มาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันแก้ไขปัญหาดีกว่า จริงไหมครับ?
     การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต้องใช้เวลา จะมาปุ๊ป ปั๊บ วันเดียวเสร็จ คงยาก
เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า กรุงโรมไม่สามารถสร้างให้เสร็จภายในวันเดียว และเรื่องเล่าของ จอห์น เอฟ เคนเนดีย์  (John F. Kennedy) ประธานาธิปดีคนที่ 35 ของสหรัฐ ที่ว่า
ครั้งหนึ่งจอมพลท่านหนึ่งกล่าวกับคนทำสวนของเขาว่า “จงช่วยปลูกต้นไม้ให้ต้นหนึ่ง”
คนสวนคนนั้นแย้งกลับว่า “ต้นไม้ต้นนั้นโตช้า และกว่าจะโตก็ต้องใช้เวลาถึงหนึ่งร้อยปี”
ท่านจอมพลได้ยินดังนั้นจึงตอบกลับไปว่า “ถ้ารู้อย่างนี้แล้วก็อย่ามัวเสียเวลาอยู่เลย จงรีบไปปลูกเสียตอนบ่ายนี้เถิด”  
รู้อย่างนี้แล้วอย่างเสียเวลาเลยครับ รีบมาช่วยกันบริหารความขัดแย้งกันอย่างสร้างสรรค์กันดีกว่าเพราะถ้าหน่วยงานเรามีความสามัคคี คนก็มีความสุข หน่วยงานก็เจริญก้าวหน้า
ตรงข้ามถ้ามีแต่ความขัดแย้ง เราก็ทำงานอย่างไม่มีความสุข อยู่ทน ทนอยู่ ใครทนไม่ไหวก่อน ก็ออกไปก่อน บริษัทก็ย่ำแย่ เสียบุคลากรดีๆไปอีก
จริงไหมครับ?
สุดท้ายขอฝาก คม คิด สะกิดใจ ว่า “จุดเริ่มต้นของการลดปัญหาความข้ดแย้ง มีอยู่ง่ายๆ แค่สองคำ คือ ขอโทษ และ ขอบคุณ นั่นเองครับ”

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM) article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com