ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




You Were What You Think article

 You Were What You Think

วันที่เขียน 26 มกราคม 2558 เขียนโดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ 

WWW.bt-training.com Email: tpongvarin@yahoo.com 

สัปดาห์นี้ผมขอนำแนวคิดที่ได้จากการไปบรรยายหลักสูตร “การทำงานให้มีความสุข และประสบความสำเร็จที่สุด”  ให้กับบริษัทแห่งหนึ่งเมื่อปลายปีที่แล้วมาแลกเปลี่ยนครับ

ท่านเคยรู้สึกแบบนี้บ้างไหม? เบื่องาน” “เบื่อหัวหน้า” “เบื่อลูกน้อง” “ไม่อยากให้โลกนี้มีวันจันทร์” “อยากให้โลกนี้มีแต่วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และขอให้วันอาทิตย์เป็นวันที่มีเวลามากกว่า 24 ชั่วโมง จะเป็น 36 หรือ 48 ชั่วโมงได้ยิ่งดี” (สมัยที่ผมทำงานประจำผมก็เคยรู้สึกแบบนี้เหมือนกันครับ) การที่เรารู้สึกแบบผลก็คือ “ไม่อยากไปทำงาน แต่ก็ต้องไปเพราะหน้าที่ จะลาป่วย ลากิจ ก็ไม่ได้เพราะเป็นหัวหน้าเขา ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ก็ต้องทน ทน ทน แล้วก็ทนๆๆๆ” ผลลัพธ์ที่ผมได้คือ อยู่กับความอดทน ทนกับสิ่งที่ไม่อยากทน

ผลของความรู้สึกนั้น ส่งผลทำให้คำถามเหล่านี้ผุดขึ้น และวนเวียนอยู่ในหัวของผมหลายเดือน  “ทำไมเราต้องตนอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ด้วย” “จะทนเพื่ออะไร”  “จะทนได้อีกนานเท่าไหร่” “เรามีความสุขไหมที่จะทน”  

อยู่มาวันหนึ่ง ขณะขับรถไปทำงานผมฟังรายการวิทยุเกี่ยวกับการดูแล รักษาสุภาพ โดยคุณหมอท่านหนึ่งได้พูดว่า You Were What You Eat” ถ้าหากรับประทานอาหารมันๆ ทอดๆ มากๆ ก็ได้คอเรสเตอรอล กินอาหารสุกๆ ดิบๆ ก็รอรับพยาธิได้เลยอาหารมีให้เราเลือกเยอะแยะตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา ชา กาแฟ น้ำอัดลม ขนม นม เนย หมู เห็ด เป็ด ไก่ ขาหมู หูฉลาม เป็ดปักกิ่ง หรือตั้งแต่ร้านข้างทาง ไปจนถึงภัตตาคาร 5 ดาว ทุกอย่างเรารู้หมดว่ากินอะไรจะดีต่อสุขภาพ เพราะเราเรียนกันตั้งแต่ปฐมแล้วว่า อาหารหลักมี 5 หมู่ เนื้อ นม ไข่ ท่องเป็นนกแก้ว นกขุนทอง แต่ที่สุขภาพเราแย่ เพราะเราตัดสินใจที่จะเลือก และไม่เลือก ในสิ่งที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับเรานั่นเอง เช่น เมื่ออายุมากขึ้น ควร รับประทานผัก ผลไม้ให้มากขึ้น กินแป้งให้น้อยลง เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้จริงไหมครับ  

               You Were What You Think นี่คือไอเดียที่ทำให้ชีวิตผมมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น โดยผมต่อยอดมาจากแนวคิด You were what you eat นั่นเอง โดยเริ่มจากความเชื่อที่ว่า

“สิ่งรอบตัวเราก็เหมือนกับอาหารที่มีให้เราเลือกกิน คือ มีทั้งสิ่งดี และไม่ดี ชีวิตเราจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกที่จะรับ หรือไม่รับ สิ่งต่างๆเหล่านั้นเข้าไปในตัวเรา แม้ในบางครั้งเราอาจเลือกได้มากบ้าง น้อยบ้าง แต่เราก็สามารถที่จะเลือกได้เอง ไม่มีใครมาบังคับเราได้

การใช้ชีวิตของเรา มักจะมีทั้งสิ่งดี และไม่ดีเข้ามาเสมอ ถ้าหากเราพยายามเลือกมองหาสิ่งที่ดี และทิ้งสิ่งไม่ดีออกไปบ้าง เราก็จะมีความสุขมากขึ้น ”

 

จากจุดเริ่มต้นนี้ผมจึงทบทวนตนเองถึงผลดี ผลเสียที่เกิดขึ้นกับความคิด จากนั้นจึงเริ่มเปลี่ยนแนวคิด และเปลี่ยนมุมมองใหม่จากสิ่งต่างๆ รอบตัวทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป้นเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง ลูกค้า โดยพยายามมอหาส่วนดี มากกว่าส่วนเสีย มีเหตุการณ์หนึ่งที่ผมประทับใจมาก อยากนำมาเล่าคือ สมัยทำงานผมมีเพื่อนร่วมงานชาวต่างชาติคนหนึ่ง ตอนนั้นผมมักจะมองว่าเขาเก่งแต่ Present แต่ถ้าถามเนื้องานลึกๆ แล้วเขาสู้เราก็ไม่ได้ ด้วยความคิดแบบนี้ ทำให้ผมมักจะงัดกับเขาตลอดในที่ประชุม ผลก็ไม่ต้องเดาละครับ ความขัดแย้ง ไม่มองหน้า ไม่คุยกัน และงานสะดุดเป็นธรรมชาติเลย ซึ่งนี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมเบื่อ และไม่อยากมาทำงาน

 

ผมเริ่มเปลี่ยนแนวคิด และการกระทำ โดยมองจุดดีของเขา แล้วเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง ซึ่งจุดดีที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้คือการใช้ภาษาอังกฤษของเขาดีกว่าเรา และการทำงานของเขาก็ไม่ได้แย่ไปทุกเรื่อง บางเรื่องเขาก็ทำได้ดีกว่าเราจริงๆ หลังจากที่เปิดใจ และมองหาจุดดีของเขาแล้ว ผมก็ค่อยๆเริ่มพูดคุยกับเขาดีขึ้น โดยถือโอกาสฝึกภาษาอังกฤษ ไปในตัวโดยไม่ต้องเสียเงินไปเรียน แค่นี้ชีวิตเราก็ดีขึ้นแล้วเห็นไหมครับ อีกกรณีหนึ่ง สมัยที่ผมทำงานมีลูกน้องอยู่คนหนึ่ง มีนิสัยพูดตรงและไม่มีหางเสีย ไม่ค่อยฟังใคร เถียงเก่ง ซึ่งแน่นอนพฤติกรรมแบบนี้ไม่มีหัวหน้างานคนไหนชอบแน่ๆ ผมเปลี่ยนความคิด ค้นหาจุดดีของเขา ความรู้สึกหลังจากที่เปลี่ยนมุมมองจากลูกน้องคนนี้คือ ผมพบว่าเขาเป็นคนจริงใจ พูดตรงดี ไม่โกหก ผมพยายามฝึกฝนตนเองให้มองหาส่วนดีของผู้อื่นมากขึ้นๆ จนเป็นนิสัย ผลที่ได้รับคือ  “อาการเบื่อๆ เซ็งๆ ก็ค่อยๆ หายไป” 

การเปลี่ยนแนวคิดนี้ทำให้เรียนรู้ว่า ถ้าคนเราทุกคนเปิดใจที่จะเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว และยอมรับว่า ทุกสิ่ง ทุกอย่าง บนโลกในนี้ไม่มีอะไรที่ดีทั้งหมด หรือแย่ทั้งหมด แม้กระทั่งตัวเราเองก็ตาม คนเรามีความแตกต่าง และมีลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน การที่เราไปตัดสินคนอื่น ว่าดี แย่ โดยตัวเองเป็นมาตรฐาน แล้วพยายามมองหาแต่ส่วนไม่ดีของคนอื่น ทำให้เรามีความทุกข์กาย ทุกข์ใจ จะดีกว่า ถ้าทุกคนเปลี่ยนแนวคิด และพฤติกรรมโดยหันมามองส่วนดีของผู้อื่น และเปิดใจช่วยกันปรับปรุงของเสียซึ่งกันและกัน รับรองว่าทุกคนที่อยู่รอบข้างเรา จนถึงประเทศไทยของเราจะมีความสุขอย่างแน่นอนจริงไหมครับ?  

ขอสรุปเป็นแนวคิดส่งท้ายว่า “การนำเม็ดผักกาดไปฝังดิน ต้นที่โตขึ้นจากเม็ดนั้นย่อมเป็นต้นผักกาด ไม่ใช่ต้นขนุน หรือทุเรียน ฉันใด การที่เราคิดดี ทำดี ผลที่ได้รับ คือ ความสุขกาย สบายใจ และความร่มเย็นในชีวิตจริง ฉันนั้นจริงไหมครับ?




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM) article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com