ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




การทำงานแบบ 80:20 เพื่อความสำเร็จที่สูงขึ้น article

การทำงานแบบ 80:20 เพื่อความสำเร็จที่สูงขึ้น  

เขียนโดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ วันที่เขียน 13 มีนาคม 2558 Email:tpongvarin@yahoo.com www.bt-training.com Mobile.089-8118340   

 สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับสัปดาห์นี้ผมขอเสนอแนวคิดสั้นๆ จากบทเรียนที่ได้จากการไปบรรยายหลักสูตรการดำเนินกิจกรรมไคเซ็น การลดต้นทุน การปรับปรุงการทำงาน ให้กับหลายองค์การ ลองอ่านดูนะครับ 

หลายครั้งที่ผมเข้าไปบรรยายหลักสูตรเกี่ยวกับการปรับปรุง และพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการลดต้นทุน พบว่าบางบริษัทพนักงานจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมสักเท่าไหร่ ซึ่งจากการสอบถามทำให้ได้คำตอบว่า สาเหตุที่ไม่ค่อยให้ความสนใจในการปรับปรุงการทำงานเพราะว่า

“งานประจำก็ยุ่งพออยู่แล้ว เอางานประจำให้ดีก่อนแล้วกัน

เรื่องการปรับปรุงค่อยว่ากัน”

ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรที่อาจจะคิดแบบนี้ เพราะงานเขาอาจจะยุ่งจริงๆ ก็เป็นได้ อันนี้เราไม่ว่ากัน แต่ถ้างานไม่ยุ่ง แต่ไม่อยากที่จะมีส่วนร่วมในการปรับปรุง และพัฒนางาน เพราะคิดว่า

 

“เป็นเรื่องของหัวหน้า” “เอาไว้ก่อนก็แล้วกัน” “ทำงานประจำให้ดีที่สุด แค่นี้ก็น่าจะพอ” “ทำตามเงินเดือน” “เอาไว้ให้คนอื่นทำก่อน แล้วเราค่อยทำตามก็แล้วกัน”

  

   ถ้าหน่วยงานไหนมีพนักงานที่คิดแบบนี้อยู่แล้วละก็ ลองนำบทความนี้แล้วนำไปแลกเปลี่ยนกันดูนะครับ

              

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยทำงานบริษัท หรือที่เรียกง่ายๆ ว่ามนุษย์เงินเดือนนั่นแหละ สมัยที่ทำงานใหม่ๆ สภาพการแข่งขันทางธุรกิจไม่รุนแรงเหมือนเช่นในปัจจุบัน อาจเป็นเพราะ ค่าแรง ค่าวัตถุดิบ ค่าดำเนินการ หรือค่าโสหุ้ยต่างๆ ไม่แพงหุฉี่เหมือนในปัจจุบัน การทำงานของเราสมัยนั้นจึงไม่ต้องแข่งขันอะไรกันมาก ซึ่งตรงข้ามกับในปัจจุบัน ที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง แรงจนไม่มีที่ยืนสำหรับผู้พ่ายแพ้ หรือผู้ผิดพลาด เพราะคู่แข่งคอยเสียบเข้ามาแทนที่เราตลอดเวลา ดังนั้นทุกองค์การต้องมีการปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) สมัยก่อน เราทำให้ลูกค้าพอใจระดับ Good เราก็ว่าดีแล้ว แต่ในปัจจุบัน เราต้องทำให้รู้สึกว่าเรา คือ The Best หรือ Excellence คือ ต้องดีเลิศ ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ทิ้งคู่แข่งไม่ให้เห็นฝุ่น ดังนั้นบริษัทส่วนใหญ่จึงมีตัวชี้วัด (KPI: Key Performance Indicators) ในหัวข้อ การปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) เพิ่มเข้าไปอีกข้อเพื่อกระตุ้นให้พนักงานต้องมีการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นมากกว่าการปฏิบัติงานในอดีต  

              

การที่บริษัท หรือองค์การจะก้าวไปสู่จุดนั้นได้ จะอาศัยเครื่องจักร เครื่องมือ หรือระบบการปฏิบัติงานอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องอาศัยพนักงานที่มีศักยภาพสูง (High Performance) อีกด้วย สำหรับพนักงานที่มีประสิทธิภาพสูงนั้น ในอดีต อาจหมายถึงพนักงานที่ทำงานประจำได้ตรงตามเป้าหมาย แค่นี้ก็น่าจะเข้าข่ายแล้ว ดังนั้นเวลาการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ก็จะใช้ไปกับการทำงานประจำเกือบทั้งหมด การปรับปรุงการทำงานแทบจะไม่มีเลย เพราะยังไม่จำเป็นเท่าไหร่ 

 

แต่สำหรับในปัจจุบัน คนที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นพนักงานที่มีศักยภาพสูงนั้น โดยต้องคิดปรับปรุงงานที่ทำ ควบคู่กับการทำงานประจำ โดยสังเกตได้จากการที่ต้องทำให้เร็วกว่าเดิม ดีกว่าเดิม และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิมโดย จะมาทำงานชักช้า อืดอาด ยืดยาด ผิดๆ พลาดๆ แก้ไขปัญหาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ได้อีกแล้ว ดังนั้นสำหรับการบริหารเวลาในการทำงานของผู้ที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน และอนาคต ก็จะแบ่งเวลาออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกประมาณ 80% คือ การทำงานประจำ ต้องทำให้ดี ให้บรรลุตามเป้าหมาย ที่กำหนด และส่วนที่สองอีก 20% คือการปรับปรุงงาน โดยต้องคิดค้นหาจุดที่จะปรับปรุงให้การทำงานดีกว่าเดิม และดีขึ้น ๆ อย่างต่อเนื่อง

 

 

ลองคิดดูง่ายๆ ก็แล้วกันนะครับ ถ้าท่านมีลูกน้องสองคน คนแรกทำงานประจำได้ดีเยี่ยม ไม่มีที่ติ ส่วนคนที่สองทำงานได้อย่างดีเยี่ยมไม่มีที่ติเช่นเดียวกัน แต่คนมักจะปรับปรุงการทำงานให้เร็วกว่าเดิม ลดต้นทุนได้มากกว่าเดิม ท่านจะประเมินผลงานให้ใครดีกว่ากัน ฉันใด ก็ฉันนั้น หัวหน้างานของเรา ก็จะประเมินผลลัพธ์ของงานจากการทำงานของเราด้วยวิธีนี้เช่นกัน รู้อย่างนี้แล้วก็ยังไม่สายเกินไป รีบปรับวิธีคิด วิธีการทำงาน เพื่อความสำเร็จในปัจจุบัน และอนาคตกันดีกว่า ดีไหมครับ... 

 

                              




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM) article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com