ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




พนักงานคิดแบบไหนที่องค์การต้องการ article

 พนักงานคิดแบบไหนที่องค์การต้องการ   

เขียนโดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ วันที่เขียน 18 มีนาคม 2558 Email:tpongvarin@yahoo.com www.bt-training.com Mobile.089-8118340

              สวัสดีครับทุกท่านสัปดาห์นี้ผมขอนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness) มาแลกเปลี่ยนครับ โดยได้แนวคิดมาจากการไปบรรยายเรื่องการลดต้นทุน และการดำเนินกิจกรรมไคเซ็นให้กับหลายบริษัท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ลองอ่านกันดูนะครับ



ที่แผนกผลิตของบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกซ์แห่งหนึ่ง

เรื่องก็มีอยู่ว่าเมื่อตอนเริ่มกะเวลาประมาณ สองทุ่มกว่าๆ (เวลาทำงานกะดึก 20.00 น – 08.00น.) หัวหน้าบอก กับพนักงานทุกคนให้เข้มงวดกับงานให้มากๆ เพราะพนักงานแผนกคิวซี (QC: Quality Control Circle) บอกว่าพบงานเสียตั้งแต่กะเช้าและมีงานเสียหลุดออกไปจำนวนมาก ขอให้พนักงานทุกคนระมัดระวังหน่อย เพราะไม่อยากให้กะดึกของเราเสียชื่อ

แต่แล้วเรื่องก็เกิดขึ้นจนได้ โดยก่อนที่จะเลิกกะ หัวหน้าแผนกคิวซีก็มาแจ้งอีกว่าพบปัญหางานเสียตอน ตีสาม และตอนประมาณหกโมงเช้าซ้ำอีกครั้ง หัวหน้าฝ่ายผลิตก็เลยปรี๊ดแตก.... และมีการปะทะคารมก็เกิดขึ้น

ด้วยความโกรธ ผสมกับความง่วง จึงตะโกนถามหัวหน้าแผนกคิวซีว่า

“ทำไมเพิ่มมาบอกผมตั้งแต่ตีสามล่ะว่ามีงานเสีย”

“ก็คุณไม่มาถามนี่” ตอบด้วยอารมณ์โมโห ไม่แพ้กัน

แล้วการเถียงอย่างดุเด็ด เผ็ดมันส์ ก็เกิดขึ้น

               จุดจบของปัญหานี้ส่งผลทำให้ทั้งหัวหน้าฝ่ายผลิต และหัวหน้าแผนกคิวซี ต้องอยู่รายงานเรื่องราวการปฏิบัติงาน ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนให้กับผู้จัดการทั้งสองแผนกทราบ กว่ะจะได้กลับบ้านก็เกือบสิบโมง

            จากกรณีศึกษาพบว่า ต่างคนต่างคิดว่า “คนอื่นน่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้...” หรือคิดว่า “คนอื่นเขาคงจะทำอย่างนั้นอย่างนี้...” ปัญหาจึงเกิดขึ้น จะเห็นว่า ปัญหานี้หัวหน้างานฝ่ายผลิตคิดว่า เมื่อเกิดปัญหา หัวหน้าฝ่ายคิวซีก็น่าจะมาแจ้ง ส่วนหัวหน้าฝ่ายคิวซีก็คิดว่า เมื่อเกิดปัญหาหัวหน้างานฝ่ายผลิตน่าจะมาติดตามงานเอง ผลก็เลยเป็นอย่างที่เห็น ต้องกลับบ้านสาย แถมมาเถียงกันให้อายลูกน้อง และเพื่อร่วมงานอีกจริงไหมครับ

จะดีกว่าไหมถ้าเราเปลี่ยนความคิดที่ว่า “คนอื่นน่าจะทำ คือ คนอื่นต้องมาทำเพื่อเรา” ไปเป็น “เราควรจะทำอะไรให้คนอื่นก่อนที่จะให้คนอื่นทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้กับเรา” อย่างกรณีนี้ ถ้าหัวหน้าฝ่ายผลิตเริ่มจากความคิดที่ว่า เราควรจะไปติดตามงานของเรานะ เพราะนี่คือความรับผิดชอบของเรา ไม่ต้องรอให้คนอื่นมาบอก เพราะคนอื่นเขาอาจจะยุ่งก็ได้ เราจึงควรเดินไปหาเขา ดีกว่าให้เขาเดินมาหาเรา” และหัวหน้าฝ่ายคิวซีก็เริ่มจากความคิดที่ว่า “เราควรจะไปบอกเขานะ เพราะถ้าเขารู้ เขาจะได้แก้ไขปัญหา ไม่เกิดของเสีย และการที่เขาไม่มาถามเราก็อาจเป็นเพราะเขากำลังยุ่งอยู่ก็ได้ เราจึงควรไปบอกเขาดีกว่าที่จะมานั่งรอให้เขามาถาม”

               ถ้าหากสองคนนี้ คิดแบบนี้ตั้งแต่แรกปัญหาของเสีย การผลิตผิดพลาด ต้นทุนสูง ส่งสินค้าไม่ทัน ก็คงไม่เกิดขึ้นจริงไหมครับ ลองคิดดูนะครับว่า

 องค์การต้องการคนแบบไหนมากกว่ากัน ระหว่าง พนักงานที่คิดถึงตนเองก่อน คนอื่น และมองว่าคนอื่นต้องทำงานเพื่อตนเอง กับ พนักงานที่คิดถึงคนอื่นก่อนตนเอง และทำงานเพื่อส่วนรวม เพื่อองค์การมากกว่าตนเอง และองค์การที่จะเจริญก้าวหน้าควรมีพนักงานแบบไหนมากกว่ากัน... 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM) article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com