ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




เร็วกว่า เพื่ออะไร?

 เร็วกว่าเพื่ออะไร?

เขียนโดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340 www.bt-training.com

 

                สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับบทความตอนนี้ ได้แนวคิดมาจากการที่ได้ดูข่าวทางโทรทัศน์ แล้วเห็นเหตุการณ์การทะเลาะวิวาท บนท้องถนน แล้วรู้สึกไม่ค่อยดี ผมจำได้ว่าสมัยผมเด็กๆ ไม่ค่อยได้เห็นเหตุการณ์แบบนี้ แต่เด็กสมัยนี้กลับได้เห็นข่าวอาชญากรรม และการใช้ความรุนแรง แทบทุกวัน บางวันก็มีหลายเหตุการณ์ ผมเลยนั่งคิดเล่นๆ เพื่อหาสาเหตุว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น


 ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ (ผมด้วยครับ) มักจะให้ความสำคัญกับความเร็ว เช่น

1.       ต้องการรู้เรื่องราวข่าวสารเร็วๆ  เช่น เหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ

2.       ต้องการผลลัพธ์เร็วๆ เช่น การทำงาน หรือการประชุมในที่ทำงาน  

3.       ต้องการไปถึงที่หมายเร็วๆ  เช่น ขับรถไปทำงาน หรือไปเที่ยว                                                       

ผลก็คือ ผมเริ่มเครียด และหงุดหงิดง่ายมากกว่าเดิม ผมคงเป็นแบบนี้ต่อไปไม่ได้แล้วหละ

“เราจะเร็วไปเพื่ออะไร และช้ากว่าจะเสียหายไหม? 

นี่เป็นคำถามหลังจากที่ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “ไม่ต้องฉลาด ก็มองเห็นโอกาสมากกว่าคนอื่น” ซึ่งเขียนโดย โคมิยะ คาสุโยชิ สำนักพิมพ์ WE LEARN และหนังสือ เรื่องสติ ใครว่ายาก คำอธิบายสติ และการปฏิบัติธรรมด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย (Mindfulness in Pain) ซึ่งเขียนโดย ภันเต คุณะรัตนา มหาเถระ และแปลโดย นัยนา นาควัชระ สำนักพิมพ์มูนิธิโกมลคีมทอง   ซึ่งผมก็ค่อยเปลี่ยนคำถามทั้งสามใหม่ดังนี้

1.       เป็นเรื่องที่สำคัญกับเราหรือไม่ เราจะรู้ไปทำไม ทำไมต้องรู้ ไม่รู้ได้ไหม และรู้ช้ากว่าได้ไหม? ผลที่เกิดขึ้นคือ ผมดูทีวี และสนใจข่าวสารตามกระแสน้อยลง และรู้เฉพาะเรื่องที่สำคัญ ๆ กับชีวิต ผลก็คือ มีเวลาอยู่กับครอบครัว และตัวเอง ได้อ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น มีเวลาเขียนบทความมากขึ้น ใจก็นิ่ง

2.       ทำไมต้องไปเร็วกว่าคนอื่น ช้ากว่านี้ได้ไหม และถ้าช้ากว่าเดิมจะเสียหายอะไรไหม? ผลที่เกิดขึ้นคือ ผมมีสติ ไม่เร่งรีบ ทำอะไรช้าลงกว่าเดิม (แต่ไม่อืดอาด ยืดยาด และไม่ขี้เกียจนะครับ) รู้จักที่จะฟัง และคิดตามความเห็นของผู้อื่นมากยิ่งขึ้น ได้เห็นกริยาท่าทาง การแสดงออก รวมไปถึงการใช้ชีวิต ของคนรอบๆตัวเรามากขึ้นกว่าเดิม (เขาทำเหมือนเดิม แต่แต่ก่อนเราไม่เคยดูเอง) ซึ่งทำให้เราเข้าใจผู้อื่นมากยิ่งขึ้นด้วยละครับ

3.       ช้าเร็วก็ถึงเหมือนกัน ให้คนอื่นแซงไปก่อน คงไปเป็นไร ไม่เสียเงิน ไม่เสียอารมณ์ ไม่เกิดอุบัติเหตุ เพราะเรามีลูก ต้องใจเย็นๆ ผลที่เกิดขึ้นคือ ผมขับรถสบายใจมากขึ้น ใครจะแซงอะไรก็ปล่อยเขาไป คิดว่าถนนไม่ใช่ของเรา เป็นของทุกคน เวลารถติด ก็มองคนขายพวงมาลัย มองร้านค้า มองคนขับรถข้างๆ เรา ได้เห็นแม่ค้าขายข้าวเหนียวหมูปิ้ง ได้อ่านป้ายโฆษณาที่เราไม่เคยสนใจ ทำให้รู้ว่าเขาก็มีของที่เราต้องการขายตรงนี้ด้วย (ขายตั้งนานแล้ว เราไม่เคยสนใจจะอ่านเอง)

 

สำหรับบทความนี้เป็นเพียงแนวคิด และการปฏิบัติของผมเองครับ ซึ่งผลลัพธ์รวมสุดท้ายที่ผมได้คือ ความสุขกาย และสบายใจ มีสติ มีสมาธิมากยิ่งขึ้น รู้ว่าอะไรควรทำ เราก็ทำ และอะไรที่ไม่ควรทำ เราก็เลิกทำ  โดยเลือกทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์จริงๆ กับตัวของเรา ครอบครัวของเรา สังคมของเรา และเพื่อนร่วมประเทศ ร่วมโลกของเราครับ ตอนนี้อาการหยุดหงิด หรืออารมณ์เสียง่ายก็ค่อยๆหายไป (แต่ก็มีบ้างบางครั้ง) คนรอบข้าง และคนในครอบครัวก็พลอยมีความสุขไปด้วยที่เห็นผมเปลี่ยนนิสัยเป็นแบบนี้ เทคนิคนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ผมขอเชิญชวนให้ลองนำไปใช้ดูนะครับ ..... 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com