ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




ความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือเร่งด่วน (a sense of urgency) และ การทำงานเชิงรุก (be proactive)

 ความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือเร่งด่วน (a sense of urgency) และ การทำงานเชิงรุก (be proactive)

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340 

 

สวัสดีครับทุกท่าน บทความที่เขียนขึ้นตอนนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากอากาศที่หนาวจับขั้วหัวใจ แบบไม่ทันตั้งตัว ผมจำได้ว่าเมื่อวันเสาร์อากาศก็ร้อนเหมือนทุกๆวัน แต่พอเช้าวันอาทิตย์เริ่มเย็นๆ แต่พอตกเย็นวันอาทิตย์ต้องรีบไปค้นเสื้อกันหนาวมาสวมแทบไม่ทัน อุณหภูมิที่รวดเร็วอย่างรวดเร็วไม่แค่วันเดียวไม่ค่อยเกิดบ่อยนัก (ไม่แน่อนาคตอาจจะเกิดขึ้นบ่อยๆก็เป็นได้) ถ้าเราไม่มีการเตรียมการให้ดีอาจทำให้เจ็บป่วยได้ จากอุณภูมิที่เปลี่ยนแปลง โดยลดลงอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ผมนึกถึง เรื่องความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือเร่งด่วน (a sense of urgency) และ การทำงานเชิงรุก (be proactive) จึงขอยกประสบการณ์ตรงสมัยที่เคยทำงานมาแลกเปลี่ยนครับ

วันจันทร์ของหลายปีก่อน ในช่วงฤดูหนาวเวลาประมาณ 8.00 น. ผมเดินไปที่ไลน์การผลิตเป็นปกติ เหมือนเช่นทุกวัน ซึ่งสิ่งที่ผมเห็นชนชินตาคือ ลูกน้องจะนั่งประจำที่ เปิดคอมพิวเตอร์ และเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือ แล้วเริ่มการผลิต แต่วันนี้พนักงานกลับไม่อยู่ประจำที่ บางคนก็เดินไปห้องน้ำ ส่วนบางคนก็เดินไปรอบๆ เครื่องจักร เดินไปแผนกอื่น เห็นภาพนี้แล้วผมก็ต้องคิ้วผูกโบว์ ควันออกหูซิครับ สมองตอนนั้นผมคิดต่อไปเลยว่า

 ถ้าลูกน้องเริ่มงานช้า ก็อาจจะทำให้เราส่งสินค้าไม่ทันรอบเวลาปกติ ซึ่งจะกระทบกับการผลิตของลูกค้า รับรองได้เลยว่าเขาไม่ยอมเราแน่ๆ ดังนั้นถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นจริงๆ สิ่งที่เราจะต้องทำคือ ส่งสินค้าเฉพาะที่พอส่งได้ไปก่อน ส่วนสินค้าที่เหลือ เราก็ต้องส่งรอบพิเศษซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก

หลังจากที่เดินไปถึงเครื่องจักรลูกน้องก็รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผมจึงได้ทำการวิเคราะห์และจัดการแก้ปัญหา เวลาผ่านไปประมาณ 20 นาที ก็สามารถเริ่มการผลิตได้ โชคดีที่ไม่กระทบกับการผลิต และการส่งมอบ เพราะวันนั้นแผนการผลิตสินค้ามีน้อย สำหรับแนวทางการวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหาผมขออธิบายโดยใช้หลัก Why Why Analysis ดังนี้

ข้อมูลจากการลงไปดูพื้นที่จริงที่เครื่องจักรซึ่งทุกอย่างปกติยกเว้นที่บ่อน้ำล้างเท่านั้นสิ่งที่พบคือ

เวลา 8.05 น. อุณภูมิบ่อน้ำร้อนสำหรับล้างชิ้นงานอยู่ที่ 45◦C มาตรฐานอยู่ที่ 70±5◦C (ค่าต่ำสุด 65◦C และสูงสุดอยู่ที่ 75◦C) และ Heater ที่มีอยู่ 1 ตัว ทำงานก็ทำงานปกติดีทุกอย่าง

Why 1 ทำไปเริ่มงานช้า                            เพราะ อุณภูมิบ่อน้ำล้าง อยู่ที่ 45◦C ปกติที่เวลา 8.00 น. จะอยู่ที่ประมาณ 68◦C - 72 ◦C ซึ่งสามารถเริ่มการผลิตได้เลย

Why 2 อุณภูมิบ่อน้ำล้าง อยู่ที่ 45◦C          เพราะ อุณภูมิบ่อน้ำล้าง สูงขึ้นช้ากว่าปกติ

Why 3 อุณภูมิบ่อน้ำล้าง ขึ้นช้ากว่าปกติ    เพราะ น้ำเย็นกว่าปกติ และ Heater ทำงานไม่ทัน

Why 4 น้ำเย็นกว่าปกติ                            เพราะ อากาศเย็นอย่างรวดเร็ว และ Heater มีอยู่ตัวเดียวเท่านั้น (ถ้าอุณภูมิปกติ Heater ตัวเดียวก็ทำงานได้เลย แต่นี้เป็นเพราะอากาศเย็นลงรวดเร็วแบบที่เราคาดไม่ถึง)

วิธีการแก้ไขแบบด่วนๆ คือ

1.       ร้องขอไปยังแผนกซ่อมบำรุงเพื่อเพิ่ม Heater ไปอีก 1 ตัว ผลก็คือ อุณภูมิสูงขึ้นเร็วกว่าเดิม (การเพิ่ม Heater ต้องไม่มีผลกระทบกับการผลิต และไม่ทำให้เกิดอันตราย หรือปัญหาอื่นๆตามมา)

2.       กำหนดให้ลีดเดอร์ติดตาม และควบคุมอุณภูมิบ่อน้ำล้าง โดยเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบ และติดตาม เพื่อไม่ให้อุณภูมิสูง หรือต่ำกว่ามาตรฐาน

3.       เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจ ติดตามสินค้า

การขยายผล และต่อยอด

 

1. มาตรฐานการทำงานครั้งต่อไปถ้าครั้งหน้าถ้าอากาศเย็น ต้องเตรียม Heater สำรองเอาไว้เลย

2. ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของ 5M&1E (Men Machine Material Method Management & Environment) หัวหน้างาน และผู้จัดการก็ต้องตื่นตัว (แต่ไม่โวยวาย) และต้องเตรียมแผนการล่วงหน้าเอาไว้ล่วงหน้าเสมอ ส่วนพนักงานต้องแจ้งหัวหน้างานทราบทันที โดยเฉพาะเรื่องที่เกิดความผิดปกติกับเครื่องจักร หรือกรณีอื่นๆ ด้วย อย่ารอช้า จนหัวหน้ามาพบ ต้องรายงานโดยเร็วที่สุด ส่วน

            เรื่องนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า ความหนัก ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญ และไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด เพราะถ้าเราประมาท ไม่สนใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วละก็ ปัญหาอื่นๆ อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้ตั้งตัว หรือคาดไม่ถึงก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี เมื่อมีความตระหนักแล้วก็ต้องหาแนวทางในการแก้ไข และป้องกันเอาไว้ล่วงหน้าด้วย สุดท้ายขอฝากคมคิดสะกิดใจว่า “สิ่งที่แน่นอนที่สุดในโลก คือ การเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเราจึงไม่ควรประมาทเรื่องการเปลี่ยนแปลงโดยเด็ดขาด” 

 

ท่านสามารถอ่านบทความอื่นๆที่สนใจได้ที่ www.bt-training.com ครับ

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com