ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




สินค้าไม่ได้คุณภาพ = ปิดกิจการ

 สินค้าไม่ได้คุณภาพ = ปิดกิจการ

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook: BTCorporation

                สวัสดีครับทุกท่านบทความตอนนี้ผมได้แนวคิดระหว่างที่ได้ไปบรรยายเรื่องการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ (Quality Awareness Building) โดยขณะที่บรรยายเรื่องการป้องกันความผิดพลาดของพนักงาน ผมก็ได้พูดถึงเรื่องความเสียหายเมื่อสินค้าไม่ได้คุณภาพ จึงได้ตั้งคำถามกับผู้เข้ารับการอบรมว่า

 

“สินค้าไม่ได้คุณภาพ ความเสียหายเท่ากับเท่าไหร่?

 

จึงอยากนำมาแลกเปลี่ยนครับ เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อพนักงานปฏิบัติงานผิดพลาดบริษัท หรือองค์การต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายประการ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับของปัญหา และความรุนแรงที่เกิดขึ้น ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษานะครับ

 กรณีศึกษาที่ 1 พนักงานประกอบชิ้นงานผิดพลาด โดยลืมประกอบชิ้นส่วนไป 3 ชิ้น และแผนกตรวจสอบคุณภาพสามารถตรวจพบได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขงาน (rework) เพื่อทำให้ชิ้นงานนั้นตรงกับสเป็คที่กำหนด เช่น ค่าแรงพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าวัตถดิบ ค่าวัตถุดิบ ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าเครื่องจักร เป็นต้น กรณีแรกนี้สรุปว่า “สินค้าเสียหาย หรือไม่ได้คุณภาพ ถ้าเราพบที่ภายในบริษัทความเสียหายนั้นก็ยังพอควบคุมได้ และแก้ไขได้ไม่ยาก” คราวนี้เรามาพิจารณากรณีศึกษาที่ 2 ดูบ้างนะครับ

 กรณีศึกษาที่ 2 พนักงานปฏิบัติงานผิดพลาดโดยลืมประกอบชิ้นส่วนไป 1 ชิ้น ซึ่งแผนกตรวจสอบคุณภาพ (quality control) ตรวจสอบแล้วแต่ไม่พบความผิดปกติ แต่เจ้ากรรมดันไปพบที่ลูกค้าคราวนี้ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นละคืออะไรบ้าง ?

คราวนี้คงไม่ใช้ความเสียหายเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขงานเท่านั้น แต่ความเสียหายที่จะตามมาอีกมากมายที่เราคาดไม่ถึง เช่น ลูกค้าเขาก็จะบันทึกว่าบริษัทของเรามีความผิดพลาดประเภทนี้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นครั้งที่เท่าไหร่ ถ้าเป็นครั้งแรก และไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวรการผลิตของเขา เขาก็จะไม่ว่าอะไรเท่าไหร่ แต่ถ้าเจ้ากรรมความผิดพลาดที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับลูกค้าเต็มๆ เช่น ทำให้เขาหยุดการผลิต ทำให้เกิดของเสียในกระบวนการของเขา อันนี้เรื่องใหญ่มาก อาจถึงขั้นต้องเรียกค่าเสียหาย เพื่อชดเชยค่าใช้จ่าย ที่เขาได้รับ

และถ้าเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกแล้วละก็ ขึ้นบัญชีดำ (black list) จากนั้นก็จะประเมินคะแนนให้ด้านคุณภาพสินค้าให้กับเราต่ำ ซึ่งคะแนนที่ต่ำนี้เองอาจจะทำให้ลูกค้ายกเลิกสัญญา แล้วไปซื้อสินค้าจากคู่แข่งของเราเพิ่ม หรือไม่ก็ไปหาซับพลายเออร์ (supplier) รายใหม่แทนที่เรา ซึ่งผลลัพธ์ก็ไม่ต้องสงสัย บริษัทของเราก็จะมียอดคำสั่งซื้อน้อยลง ๆ ยอดขายก็จะต่ำลง ๆ เหมือนสาระวันที่ค่อยๆ เต้ยลง ๆ และสุดท้ายเราก็อาจจะต้องปิดกิจการไปโดยปริยาย สรุปกรณีที่สองคือ “เกิดปัญหาภายในบริษัท แต่ไปพบที่ลูกค้า อันนี้เรื่องใหญ่......”

             จากตัวอย่างทั้งสองเราก็คงจะเห็นแล้วนะครับว่า สินค้าไม่ได้คุณภาพนั้นส่งผลเสียหายมากเพียงใด เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ช่วยกันสร้างจิตสำนึกคุณภาพ (quality awareness)  และความตระหนักในการปฏิบัติงาน ด้วยการทำงานอย่างมีสติ คือ รู้ตัวตลอดเวลาว่า ขณะที่ปฏิบัติงานต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพ และต้องทำงานให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด อย่าใจลอย ไปนึกถึงเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน ต้องนึกเสมอว่าเวลางานต้องพยายามคิดแต่เรื่องงาน ส่วนเรื่องอื่นๆ เอาไว้เวลาพักค่อยคิด ค่อยทำ เพราะถ้าเรามัวแต่คิดสับสน ปนเปกันทั้งเรื่องงาน เรื่องเที่ยว กีฬา ละคร สนุกสนานเฮฮา แล้วละก็ งานที่เราปฏิบัตินั้นจะมีโอกาสสูงที่จะผิดพลาดอย่างแน่นอนจริงไหมครับ?

 

สุดท้ายขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่ปฏิบัติงานทุกท่าน ให้มีพลังในการรักษาสติ และสมาธิระหว่างที่มีการทำงานตลอดเวลา เพื่อที่จะได้ช่วยกันผลิตสินค้า หรือให้บริการที่ดี ทำงานถูกต้อง จะได้มีต้องมีใครมาว่า หรือส่งผลทำให้เกิดของเสีย และความผิดพลาดตามมา ขอฝากคมคิดสะกิดใจว่า ตอนที่เราอยู่ในห้องสอบเราก็ต้องมีสติอยู่กับคำถาม คำตอบของข้อสอบนั้น จึงจะทำให้สามารถสอบผ่าน และทำคะแนนได้ดี การทำงานก็เหมือนกัน ตอนเราทำงาน เราก็ต้องคิดถึงแต่เรื่องขั้นตอนการทำงาน มาตรฐานในการปฏิบัติงาน และความคาดหวัง หรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในการทำงาน งานจึงจะมีคุณภาพ สินค้าที่ผลิตก็จะออกมาดีและตรงตามที่ลูกค้ากำหนดจริงไหมครับ .....

ท่านสามารถอ่านบทความที่สนใจอื่นๆ ได้ที่ www.bt-training.com ครับ 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com