ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




ขอร้องเถอะ..... อย่าเยอะ.....

 ขอร้องเถอะ..... อย่าเยอะ.....

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook:BT-Corporation

สวัสดีครับทุกท่าน บทความตอนนี้มีชื่อว่า นักปราชญ์ซื้อลา เปลี่ยนกระดาษ 3 ครา กลับไร้อักษร “ลา”

ผมได้แนวคิดระหว่างที่อ่านหนังสือ “คำจีน เขียนชีวิต” มาชวนอ่าน ชวนขำ และชวนคิด ครับ  เรื่องราวก็มีดังนี้

นักปราชญ์ท่านหนึ่ง เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถมาก โดยเขาสามารถจดจำตำหรับ ตำรา ปรัชญาคำสอน ได้แทบทุกบรรทัด และเขามักจะโอ้อวด ความรู้ กับคนอื่นเสมอ อยู่มาวันหนึ่ง ลาของเขาได้ตายลง เขาจึงไปตลาดเพื่อหาซื้อลาตัวใหม่ ซึ่งเจ้าของลาก็เสนอให้ปราชญ์ท่านนี้เป็นคนเขียนหนังสือสัญญา ซึ่งเข้าทางของปราชญ์ท่านนี้พอดีเป๊ะ เขาจึงบรรจงประดิษฐ์ ประดอย แต่งคำพูด ในหนังสือสัญญาอย่างสละ สลวย โดยเขียนไปประมาณ 3 หน้ากระดาษ ซึ่งก็กินเวลาไปหลายชั่วโมง

เมื่อเขียนเสร็จสรรพ เจ้าของลาก็ขอร้องให้ปราชญ์ท่านนี้อ่านให้ฟัง ซึ่งก็เข้าทางเขาอีกนั่นหละครับ เขาจึงเก็กหล่อเต็มที่ จากนั้นก็ยืนอ่านหนังสือสัญญาเสียงดังลั่นตลาด เพราะต้องการอวดความรู้ให้คนที่เดินผ่านมาผ่านไปได้เห็น ซึ่งก็เข้าทางเขาอีกนั่นละครับ ชาวบ้านที่ ผ่านมา ผ่านไป ก็ให้ความสนใจ แล้วหยุด มุงดู กว่าจะอ่านจบเวลาก็ผ่านไปเกือบครึ่งวัน ซึ่งเจ้าของลารู้สึกเบื่อที่ต้องทนรอฟัง จึงถามปราญช์ท่านนี้ว่า

 “หนังสือสัญญา 3 หน้ากระดาษ ไม่เห็นมีคำว่าลาเลยแม้แต่คำเดียวล่ะท่าน

จริงๆแล้วท่านเพียงแค่เขียนในสัญญาว่า ข้าขายลาให้กับท่านเป็นราคาเท่าใด

และข้าก็ได้รับเงินเรียบร้อยแล้วแค่นี้ก็น่าจะพอแล้วนะท่าน”

 เท่านั้นละครับ คนทั้งตลาดที่ยืนมุงดู ก็ร้องฮือ... และเห็นด้วยกับชายขายลาคนนั้น ..... นิทานเรื่องนี้ จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า “ชายขายลา” จนถึงปัจจุบันนั่นเอง ต้องขอขอบพระคุณ ดวงพร วงศ์ชูเครือ ที่เรียบเรียงเนื้อหาดีๆ และสำนักพิมพ์ บ้านพระอาทิตย์ ที่ผลิตผลงานดีๆ ที่มีให้เราอ่าน และได้ศึกษานะครับ จากสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ครับ

 เรามานำประเด็นของคำสอนเรื่องนี้มาพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร (communication skill)  กันนะครับ

ท่านเคยเห็นคนประเภทนี้บ้างไหม?

ประเภทที่ 1 พูดเยอะ แต่หาเนื้อหาสาระที่จะเอามาเป็นประโยชน์ไม่ได้เลย (ประเภทนี้ไม่ต้องการอวดอ้างตนเอง แต่ไม่มีความรู้เรื่องการพูดจริงๆ) เช่น เวลาจะพูดอะไร ก็ยกตัวอย่าง ชักแม่น้ำทั้ง 500 สาย แต่ไม่สามารถสรุปประเด็นอะไรได้เลย จนทำให้ ก่อนพูด กับหลังพูด ไม่ได้มีความแตกต่างกันเลย หรือแย่กว่านั้น หลังพูด ยิ่งทำให้คนงง และสับสนมากขึ้นกว่าอีก ซึ่งผมก็เคยเป็นมาก่อน ซึ่งผมขอแนะนำหลักง่ายๆ เพื่อช่วยในการพัฒนาการพูดให้สั้น กระชับ ตรงประเด็น ซึ่งผมชอบใช้คือ 5W&2H ซึ่งประกอบด้วย What? ทำอะไรล่ะ Who? ใครล่ะ When? เมื่อไหร่ล่ะ Where? ที่ไหนล่ะ Why? ทำไมล่ะ How? อย่างไรบ้างล่ะ และ How much? เท่าไหร่ล่ะ ซึ่ง Keyword นี้ใช้ได้ทุกอย่าง  จากตัวอย่างปราชญ์ซื้อลา สรุปสัญญาง่าย ไม่ต้องเยอะ  จากนิทานเรื่องนี้ ถ้าเราจะเขียนหนังสือสัญญา ก็จะได้ดังนี้

วันที่ 25/2/2559 เวลา 11.00 น. ที่ร้านขายของชำ ในตลาดกวางสี นาย ก (ผู้ขาย) ได้ขาย ลา (ตามรูป วาดรูปรายละเอียดของลา)  ให้นาย ข (ผู้ซื้อ) ราคา 100 ตำลึง และนาย ข ได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็เซ็นต์ชื่อ พร้อมตราประทับ แค่นี้ก็จบ ไม่เห็นต้องไปยืดยาดให้เสียเวลา

 ประเภทที่ 2 พูดเยอะ สาระมากไป เพราะต้องการโชว์ โอ้อวด สรรพคุณ ความรู้ ความสามารถตนเอง  คนประเภทนี้ก็เหมือนกับปราญช์ ซื้อลานั่นละครับ ถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆ สักวันต้องพลาด และเสียท่า ไม่วันใด ก็วันหนึ่งอย่างแน่นอน (ถ้าใครรู้ตัวว่าเป็นแบบนี้ รีบแก้ไขตนเองนะครับ)

        สุดท้าย ขอฝากคมคิดสะกิดใจที่ว่า “ทำอะไรแต่พอดี ชีวีจะมีสุข แต่ถ้าทำอะไรเกินพอดี ชีวีก็จะมีแต่ทุกข์” โชคดีนะครับ..... 

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ  ได้ที่ www.bt-training.com ครับ 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์




Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com