ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




ผู้นำ กับ การสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของงานของผู้ตาม

 ผู้นำ กับ การสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของงานของผู้ตาม

 โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation

******************************************************************************************************

          สวัสดีครับทุกท่าน บทความในตอนนี้ผมได้แนวคิดมาจากการไปบรรยาย หลักสูตร การบริหารทีมอย่างสร้างสรรค์ (Creative Team Building)  และจิตสำนึกความเป็นเจ้าของงานให้กับหลายองค์การ (Sense of Belonging and Ownership) เรามาเรียนรู้จากกรณีศึกษากันนะครับ

            การที่ได้นำความรู้ ความสามารถ และศักยภาพด้านต่างๆ ที่มีอยู่ในตนเองออกมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ คือ ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พนักงานมีความสุข และรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของงาน และรักในงานที่ทำ ซึ่งแน่นอนผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ งานออกมาดี มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายที่องค์การตั้งไว้ เกิดความสามัคคี และการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับพนักงาน และองค์การ ซึ่งเรื่องนี้ใครๆ ก็รู้ แต่เชื่อหรือไม่ครับว่า มีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ตัวเองว่า

“ฉันใช้คนได้เหมาะสมกับงานแล้วจริงๆแล้วหรือไม่?

นี่คือคำถามสั้นๆ แต่คำตอนนั้นยาว ที่หัวหน้างาน หรือผู้บริหารทุกคนต้องตอบให้ได้ (อย่าตอบแบบเข้าข้างตัวเองนะครับ) เรื่องการใช้คนให้เหมาะสมกับงาน ผมขอนำกรณีศึกษาจากหนังสือชื่อ “คำจีนเขียนชีวิต” ซึ่งเรียบเรียงโดย ดวงพร วงศ์ชูเครือ ของสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ ซึ่งผมประทับใจมากๆ เริ่มอ่านเลยนะครับ

            ซินชี่จี๋ ผู้มีความรักชาติ และความรู้ความสามารถ ทั้งด้านการรบ และกวี ได้อาสาเข้าร่วมต่อสู้กับศัตรูจนผลงานเป็นที่ประจักษ์ ไม่นานเขาก็ได้ทำงานในราชสำนัก ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการทหาร ในแถบหูเป่ย เจียงซี และหูหนาน หลายปี แต่แล้วก็ถูกข้าศึกโจมตีจนต้องหนีไปซ่อนตัวอยู่ถึง 18 ปี ณ ริมทะเลสาบได้ เมืองเชียงเหรา จนปี ค.ศ. 1203 เขาได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการทหารแห่งเมืองเจ้อเจียงตะวันออก ควบตำแหน่งเจ้าเมืองเส้าชิง ซึ่งที่นี่เขามักจะสนทนากับกวีผู้รักชาตินามว่า ลู่โหยว อยู่เสมอ และในฤดูใบไม้ผลิในปีต่อมา ได้รับบัญชาจากฮ่องเต้ให้ไปเข้าเฝ้าเพื่อสอบถามเกี่ยวกับแคว้นจิน โดยก่อนออกเดินทาง ลู่โหยวได้เขียนกวีให้กับเขาบทหนึ่ง สรุปความได้ว่า

“ขุนนางตงฉิน มีความรู้ ความสามารถเป็นเลิศมากมาย

กลับได้เป็นเพียงที่ปรึกษาทางทหาร ซึ่งใช้ความสามารถเพียงน้อยนิดเท่านั้น”

และหลังจากเข้าเฝ้าแล้วฮ่องเต้ก็มีบัญชาให้เขาเป็นเพียงเจ้าเมืองเจิ้นเจียง และไม่นานเขาก็ล้มเป่วย และตรอมใจตายในที่สุด สุภาษิตนี้เตือนใจเราว่า ความสามารถมาก แต่ได้ใช้เพียงน้อยนิด อาจทำให้เกิดความเสียหายได้” 

            จากบทเรียนเรื่องนี้ ถ้าหากย้อนกลับมาในที่ทำงานของเรา แล้วลองมาทบทวนดูว่า ในฐานะที่เราเป็นหัวหน้า ลูกน้องของเราแต่ละคน มีความรู้ ความสามารถ และศักยภาพด้านใดบ้าง และเราจะทำอย่างไร? ให้ลูกน้องแต่ละคนได้แสดงออก หรือนำศักยภาพที่พวกเขามีอยู่มาใช้อย่างเต็มที่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์กับตัวเขาเอง และองค์การ ซึ่งผมขอแนะนำเทคนิคการค้นหาศักยภาพของพนักงานที่ผมเคยใช้แล้วได้ผลมาแลกเปลี่ยนดังนี้

1.      หาเวลาพูดคุยกับพนักงานทุกคน ทุกระดับ ตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการ หัวหน้างาน ผู้ช่วยผู้จัดการ (ทุกคนที่เป็นลูกน้องเรานั่นละครับ) โดยเรื่องที่จะพูดคุยกัน คือ เรื่องการทำงาน เรื่องความสนใจ ความสามารถ และความต้องการในการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งสิ่งที่เราได้ คือ

·       ทราบว่าพนักงานแต่ละคนมีความรู้สึกอย่างไรกับการปฏิบัติงาน

·       ทราบว่าเขามีความสามารถด้านใด ชอบทำงานลักษณะใด เช่น ชอบทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ชอบทำงานเอกสาร ชอบทำงานประเภทตรวจสอบ  เป็นต้น

·       ทำให้เราได้ทราบจุดอ่อน จุดแข็ง และความต้องการในการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน

2.      บันทึกรายละเอียดต่างๆ โดยผมจะจัดทำรูปแบบเอกสาร พนักงานคนละ 1 หน้ากระดาษ A4 เป็นแฟ้มลับ ประวัติส่วนตัวของพนักงาน

3.      ปรับแผนการปฏิบัติงาน เช่น จัดพนักงานให้เหมาะสมกับงาน ย้ายพนักงานเพื่อให้ได้เรียนรู้งานที่ตนสนใจ หรือย้ายพนักงานไปทำงานในตำแหน่งที่เขาถนัดมากกว่า

4.      นำไปใช้ประกอบการจัดทำแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคล (IDP: Individual Development Plan)

ลองนำไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ อาจเสียเวลาหน่อย แต่สิ่งที่เราจะได้นั้นคุ้มค่าจริงๆ เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน ทำให้เขารู้สึกว่าเราให้ความสนใจพวกเขา และเราเข้าหาง่าย ไม่ต้องมีพิธีรีตรองอะไรให้เยิ่นเย้อแล้ว ยังทำให้เราสามารถปรับให้พนักงานได้ทำงานที่ตนเองมีความถนัด สนใจ หรืออยากที่จะทำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พนักงานเกิดความรัก ความผูกพัน กับงาน และองค์การนั่นเอง ขอฝากคมคิดสะกิดใจว่า “การทำงานที่เรารัก ก็เหมือนกับการที่เราได้อยู่กับคนที่เรารัก คือ ถ้าเรารักในสิ่งนั้นแล้ว เราก็จะอยากจะอยู่กับสิ่งนั้นๆ ไปนานๆ และไม่อยากจะห่างจากสิ่งนั้นแม้แต่วินาทีเดียว ตรงกันข้าม ถ้าหากเราเกลียดสิ่งใดเข้าแล้วละก็ แม้แต่เสี้ยว ของเสี้ยววินาที เราก็ไม่อยากจะอยู่ด้วย และอยากจะหนีไปให้ไกลแสนไกลที่สุด...” จริงไหมครับ?

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ www.bt-training.com

Facebook/fanpage: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com