ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 5 แผนภูมิเหตุ และผล หรือผังก้างปลา (Cause and Effect Diagrams หรือ Fish Bone Diagrams) (ตอนที่ 2)

 Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 5 แผนภูมิเหตุ และผล หรือผังก้างปลา (Cause and Effect Diagrams หรือ Fish Bone Diagrams) (ตอนที่ 2)

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation

******************************************************************************************************

          สวัสดีครับทุกท่านบทความตอนนี้เป็นบทความที่ต่อเนื่องมาจาก Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 5 แผนภูมิเหตุ และผล หรือผังก้างปลา (Cause and Effect Diagrams หรือ Fish Bone Diagrams) (ตอนที่ 1) ที่ผมได้เขียนเอาไว้ในช่วงสองเดือนก่อน สำหรับบทความในตอนนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องในการประยุกต์ใช้แผนภูมิเหตุ และผล หรือผังก้างปลา ที่ถูกต้องที่สุด พร้อมแล้ว เรามาเรียนรู้กันเลยนะครับ

 

แผนภูมิเหตุ และผล หรือผังก้างปลา (Cause and Effect Diagrams หรือ Fish Bone Diagrams) เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่มักจะต้องนำมาใช้ประกอบการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และยังนิยมใช้ประกอบตอบ CAR (corrective action report) หรือ ตอบข้อร้องเรียนของลูกค้า เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และทำให้ผู้อื่นเชื่อว่าวิธีการแก้ไขปัญหาที่เราคิดมานั้นไม่ได้นั่งเทียน หรือเดาขึ้นมา และทุกครั้งที่มีการแก้ไขปัญหามักจะมีขั้นตอนการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ ดังนี้

      1.   ผู้นำประชุมแจ้งรายละเอียดของปัญหา

      2.    ผู้นำประชุมเขียนข้อปัญหา ที่ตำแหน่งหัวปลา และจากนั้นก็ขีดเส้นก้างปลาซ้ายไปขวา เพื่อเป็นแกนกลางของตัวปลา

      3.    ผู้นำประชุมเขียนหัวข้อสาเหตุหลัก ก้างปลา โดยลากเส้นขึ้นไปด้านบนประมาณ สองเส้น และเส้นล่างประมาณ 2-3 เส้น     แล้วจากนั้น ก็เขียนปลายเส้น โดยเส้นแรกเขียนว่า “Man(คน)” เส้นที่สอง “Machine (เครื่องจักร,เครื่องมือ)” เส้นที่สาม      “Material (วัตถุดิบ)”  เส้นที่สี่ “Management (วิธีการปฏิบัติงาน)” เส้นที่ห้า “Environment(สภาพแวดล้อม) ” หรืออาจมี   เส้นอื่นๆ แล้วแต่ที่ผู้นำประชุมถนัด แต่ส่วนใหญ่ก็มีประมาณนี้ คือ 4M&1E

      4.   สอบถามสมาชิกในแต่ละหัวข้อ ซึ่งแต่ละคนก็จะค่อยๆ อธิบาย (โดยส่วนใหญ่จะมีทั้งผู้ที่ออกความคิดเห็น และผู้ที่เงียบ       ปนๆ กัน)

      5.   เขียนสาเหตุหลัก และสาเหตุย่อย ตามก้างหลัก และก้างรอง

      6.  หาแนวทางแก้ไขจากสาเหตุต่างๆ   

 จากประสบการณ์ที่ผมเคยปฏิบัติตาม 6 ขั้นตอนในการประยุกต์ใช้แผนภูมิก้างปลาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ มีปัญหา ทั้ง 4 ประการ ได้แก่  1. การค้นหารายละเอียดที่เป็นสาเหตุของปัญหาไม่ครบถ้วน 2. เกิดความสับสนในรายละเอียด ตัดสินใจไม่ได้ว่า 3. เข้าใจผิดว่า ต้องเขียนรายละเอียดให้ครบทั้งหมด 4. ระหว่างที่ประชุมเพื่อเขียนแผนภูมิก้างปลา จะมีทั้งคนที่เสนอ (พูดตลอด) และ คนที่ไม่เสนอ (เงียบตลอด) (ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาทั้ง 5 ท่านสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bt-training.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539886064&Ntype=1)

 และเพื่อเติมเต็มในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผมขอนำเสนอขั้นตอนสำหรับการประยุกต์ใช้แผนภูมิเหตุ และผล หรือผังก้างปลา ให้เกิดความถูกต้อง และสร้างความเป็นมืออาชีพ ดังนี้

       1.  อธิบายรายละเอียด โดยผู้นำประชุม อธิบายรายละเอียดของปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ครบถ้วน และทำความเข้าใจกับสมาชิก        ทุกคน เพื่อทำให้ทุกคนเข้าใจในสิ่งที่จะแก้ไขอย่างลึกซึ้ง

       2.   ระดมสมอง (Brain Storm) ใช้เครื่องมือ Affinity Diagram โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้   

            2.1   แจกกระดาษว่างๆให้กับสมาชิกในทีม เพื่อใช้ในการบันทึกรายละเอียด ที่มีขนาดกว้างประมาณ 5-6 ซ.ม. ยาวประมาณ 7-8 ซ.ม. ให้สมาชิกในทีมทุกคนจำนวนเท่าๆ กัน คนละประมาณ 5-10 ใบ ซึ่งประโยชน์ที่ได้ของวิธีการนี้คือ ทุกคนจะได้แสดงความคิดเห็น ผ่านการเขียนทุกๆ คน ในจำนวนที่เท่าๆ กัน ซึ่งผู้ที่ไม่เคยแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุม ก็จะได้แสดงออกมาบ้าง ส่วนผู้ที่พูดมาก หรือพูดไม่หยุดระหว่างประชุม ก็จะถูกกำหนดให้พูด หรือแสดงความคิดเห็นได้เพียงแค่ตามจำนวนที่เรากำหนดเท่านั้นครับ

            2.2   บันทึกข้อมูล โดยให้สมาชิกทุกคนเขียนสาเหตุที่คิดว่าจะทำให้เกิดปัญหาที่เรากำลังจะแก้ไขปัญหากันในตอนนี้ โดยทุกคนต้องเขียนออกมา ในจำนวนที่เท่าๆ กัน ขอเน้นย้ำนะครับว่า หัวหน้าทีมต้องจูงใจ หรือบังคับให้ทุกคนเขียน ห้ามอิดออด หรือไม่อยากเขียนไม่ได้โดยเด็ดขาด!!! สำหรับหัวข้อหลักๆ อาจจะเป็น 5M&1E หรือ อาจเป็นรายละเอียดแบบเฉพาะเจาะจงไปเลยก็ได้ เช่น ปัญหาชิ้นงาน MK 4478 เป็นรอยขีดข่วนที่บริเวณมุม ที่แผนกล้าง เราอาจเขียนระบุสาเหตุให้ชัดเจน เช่น ตะกร้าล้างงาน รถเข็น ถาดเรียงงาน เครื่องยกตระกร้า เขียนชัดๆ ตรงๆ ในสิ่งที่เป็นสาเหตุของปัญหาไปเลยก็ได้นะครับ   

           2.3   นำข้อมูลที่สมาชิกทุกคนเขียนมาเรียงจัดกลุ่ม โดยเมื่อจัดกลุ่มเสร็จแล้วเราก็จะเห็นว่า อาจจะได้ สาเหตุหลักๆ ซึ่งอาจจะเป็นหัวข้อสอดคล้องกับ 5M&1E หรือ หัวข้อใหม่ที่สมาชิกกำหนดขึ้นมาเองก็ได้ครับ ซึ่งประโยชน์ของวิธีการนี้คือ ทำให้เราได้รายละเอียดได้ครบถ้วน และไม่ยึดติดกับเฉพาะหัวข้อ 5M&1E เท่านั้นครับ

       3.   เขียนแผนภูมิเหตุและผล หรือผังก้างปลา โดยผู้นำประชุมเขียนหัวข้อปลา และเขียนสาเหตุหลักๆของ ในแต่ละก้าง โดยลากเส้นขึ้นไปด้านบนประมาณ สองเส้น และเส้นล่างประมาณ 2-3 เส้น  ตามหัวข้อหลักๆ ที่เราได้จากข้อที่ 2 โดยพิจารณาสาเหตุหลัก  และสาเหตุรอง ซึ่งอาจจะมีบางหัวข้อที่สอดคล้องกับ 5M&1E และก็จะมีหัวข้อหลักใหม่ๆ ที่เฉพาะเจาะจงมาด้วย

       4.  สอบถามสมาชิกในแต่ละหัวข้อ ซึ่งแต่ละคนก็จะค่อยๆ อธิบาย (โดยส่วนใหญ่จะมีทั้งผู้ที่ออกความคิดเห็น และผู้ที่เงียบ ปนๆ กัน)

       5. เขียนสาเหตุหลัก และสาเหตุย่อย ตามก้างหลัก และก้างรอง

       6.  หาแนวทางแก้ไข จากสาเหตุต่างๆ     

                สำหรับขั้นตอนขั้นตอนในการประยุกต์ใช้แผนภูมิเหตุ และผล หรือผังก้างปลา ให้เกิดความถูกต้อง และสร้างความเป็นมืออาชีพ แบบใหม่ที่ผมนำมาเสนอนี้ ท่านสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงๆ ซึ่งผมใช้ตลอดทุกครั้งที่มีการแก้ไขปัญหา และใช้ประกอบการบรรยายเสมอ รับรองได้เลยครับว่า ดีจริงๆ ท่านจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสมาชิกในทีมได้อย่างแน่นอน ลองนำไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ และถ้าสงสัย หรือติดปัญหาอะไรก็สามารถอีเมลล์ หรือ inbox เข้ามาพูดคุยกันได้นะครับ ผมยินดีแนะนำครับ....     

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ www.bt-training.com

Facebook/fanpage: Thongpunchang PongvarinBT Corporation Co.,Ltd.

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,224 เมื่อโลกไม่เหมือนเดิม การทำงานต้องดีกว่าเดิม
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,223 ภาวะลื่นไหลเพื่อความสำเร็จที่สูงขึ้น
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,222 เทคนิคการรายงานให้น่าประทับใจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,221 ความสำเร็จขององค์กรเกิดจากพนักงานทุกคน ไม่ใช่แค่ใครบางคน
แนวทางสร้างไอเดียเจ๋ง ๆ คุณก็ทำได้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,220 คนกับไฟในองค์กร
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,219 รู้แค่นี้ก็สุขใจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,218 คำพูดตั้งแต่เช้าตรู่ ที่ทำให้เรามีความสุข



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com