ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 6 แผนภูมิการกระจาย (Scatter Diagram) (ตอนที่ 1)

 Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 6 แผนภูมิการกระจาย (Scatter Diagram)

(ตอนที่ 1) โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation

******************************************************************************************************

ถ้ามีคนบอกว่า

“ถ้าพ่อตัวสูง ลูกจะตัวสูง” ท่านจะตัดสินใจเชื่อโดยทันทีเลยไหม?

 

 พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่อง “กาลามะสูตร” คือ ท่านไม่ให้เชื่ออะไรโดยขาดการใช้ปัญญาโดยเด็ดขาด เพราะถ้าเชื่อเพราะ คนส่วนใหญ่เชื่อ หรือเพราะมีคนบอกให้เชื่อ เราอาจจะกลายเป็นเหยื่อของความงมงายได้จริงไหมครับ? ดังนั้นต้องใช้ปัญญาพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่าสิ่งนั้นจริง เราถึงควรจะเชื่อ ดังนั้นก่อนที่เราจะเชื่อว่าถ้าพ่อตัวสูง ลูกก็จะตัวสูงนั้นจริงหรือไม่นั้น ผมขอประยุกต์ใช้แผนภูมิการกระจายมาเป็นเครื่องพิสูจน์ โดยเริ่มต้นจากเราวัดส่วนสูง ของทั้งสองคน คือ “พ่อ” กับ “ลูก” เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาเปรียบเทียบ ดังนี้

 หลังจากได้ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยเราก็ต้องมาบันทึกลงกราฟ ดังรูป จากแผนภูมิเราจะเห็นว่า จุดที่เกิดขึ้นจะเกาะกลุ่มกันเป็นแนวเส้นทะแยงมุม ซึ่งดูแล้วน่าจะมีความสัมพันธ์กัน แต่เราจะสรุปไปเลยว่า  ถ้าพ่อสูง แล้วลูกจะสูงเลยไม่ได้นะครับ ต้องทำการวิเคราะห์ต่อไปอีกเพื่อทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้เราเชื่ออย่างมีเหตุผลมากที่สุด ซึ่งผมจะอธิบายต่อไป จากตัวอย่างการที่ผ่านมาคงทำให้ท่านเริ่มเข้าใจประโยชน์ของผังการกระจายแล้วใช่ไหมครับ ดังนั้นต่อไปนี้เรามาเรียนรู้ให้ลึกซึ้งกันต่อเลยนะครับ

 ผังการกระจาย (scatter diagram) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นิยมใช้ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์จากคุณสมบัติ 2 ประการ เช่น อุณภูมิของเตาหลอม กับความแข็งของชิ้นงาน หรือ อุณภูมิ  กับ อัตราการเติบโต ปริมาณวัตถุดิบที่ใส่เข้าไปเพิ่ม กับ ความเหนียวที่เกิดขึ้น เป็นต้น สำหรับขั้นตอนการจัดทำ ผังความสัมพันธ์มีดังต่อไปนี้

        1.   เก็บรวบรวมข้อมูล โดยบันทึกข้อมูลสิ่งที่เราสนใจมาเป็นคู่ๆ อย่างน้อย 30 ข้อมูล (ยิ่งมากก็จะยิ่งน่าเชื่อถือ แต่อาจทำให้เสียเวลาทั้งในการจัดเก็บ และการคำนวน)  โดยต้องเป็นข้อมูลที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น เครื่องจักรเดียวกัน วันที่ผลิตที่ไม่ห่างกันมาก เช่น ช่วงสัปดาห์เดียวกัน วันเดียวกัน ก็ยิ่งดี โดยเราจะบันทึกข้อมูลในตาราง (check sheet) (7 QC Tools ชนิดแรกที่ผมได้อธิบายไว้ ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bt-training.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539885575&Ntype=1)

        2.   เขียนกราฟ โดยนำข้อมูลที่ได้จากข้อ 1 มาเขียนกราฟ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้

2.1   ลากเส้นแนวตั้ง และแนวนอนให้ตั้งฉากกัน

2.2   เขียนชื่อหัวข้อของข้อมูลที่เราเก็บรวบรวมมาต่อท้ายแกนตั้ง แกนนอน (ดังรูป)

2.3   พิจารณาช่วงของข้อมูล แล้วจัดทำสเกล (scale)  ให้เหมาะสม โดยควรพิจารณาค่าต่ำสุด และสูงสุด ของข้อมูลแต่ละกลุ่มก่อนนะครับ เพื่อทำให้เราสามารถกำหนดค่าต่ำสุด สูงสุด และช่องว่างของแต่ละช่อง หรือสเกลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด

2.4   เขียนจุด โดยอ่านตัวเลขจากตารางหัวข้อแรก หรือช่องแรก แล้วลากเส้นเบาๆไปทางซ้าย จากนั้นอ่านตัวเลขหัวข้อที่สองเราจะได้จุดตัดนั้นพอดี

2.5   ทำตามข้อ 2.4 จนครบทุกจุด

2.6   ลากเส้นแนวนอนเพื่อแบ่งครึ่งจุด บน-ล่าง โดยให้จำนวนจุดด้านบน และด้านล่างของเส้นมีจำนวนเท่าๆ กัน

2.7   ลากเส้นแนวตั้งแบ่งครึ่งจุด ซ้าย-ขวา โดยให้จำนวนจุดด้านซ้าย และด้านขวามีจำนวนเท่าๆกัน

2.8   กรณีที่จำนวนจุดเป็นเลขคี่เราอาจลากเส้นทับจุดที่อยู่ตรงกลาง ทั้งแนวนอน และแนวตั้ง ซึ่งเราจะแบ่งจุดออกได้เป็น 4 ส่วน

2.9   รวมจำนวนจุดที่ได้เข้าด้วยกัน โดยนำ n1+n3 ได้ค่าแรก และ n2+n4 ได้ค่าที่ สอง ในแต่ละช่อง (Quadrant) และกำหนดให้ช่องมุมบนด้านขวามือ เป็นช่องที่หนึ่ง หรือ n1 ส่วนช่องบนด้านซ้ายมือคือ n2 มุมล่างซ้ายมือ คือ  n3 และสุดท้าย มุมล่างขวามือกำหนดให้เป็น n4   

      3.  พิจารณาความสัมพันธ์กันดังนี้

3.1   n1+n3 > n2+n4 แสดงความคุณสมบัติทั้งสองที่เรานำมาวิเคราะห์นั้นมีความสัมพันธ์เชิงบวก หรือ มีความคลาดเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน

3.2   n1+n3 < n2+n4 แสดงความคุณสมบัติทั้งสองที่เรานำมาวิเคราะห์นั้นมีความสัมพันธ์เชิงลบหรือ มีความคลาดเคลื่อนไปในทิศทางตรงกันข้าม

3.3   n1+n3 ไม่เท่ากับ n2+n4 นั่นแสดงว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันเลยครับ

         4.       คำนวนหาค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ (correlation) โดยการคำนวนค่าต่างๆ ที่ได้จากข้อมูล ตามสูตร ซึ่งจะทำให้เราทราบว่าข้อมูลที่เราเก็บรวบรวมมานั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร แต่ไม่ได้บอกว่าสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใดนะครับ โดยจะมีค่าที่จะเรียกว่า สัมประสิทธ์ของความสัมพันธ์ เป็นตัวที่บอกถึงขนาด และความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งสอง (เรื่องนี้ผมขอเอาไว้อธิบายในครั้งต่อไปก็แล้วกันนะครับ)

 สำหรับบทความตอนนี้ขอนำเสนอแนวคิด และวิธีการจัดทำก่อน ส่วนในตอนต่อไปเราจะมาศึกษาตัวอย่างการประยุกต์ใช้แผนภูมิการกระจายกันนะครับ

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ www.bt-training.com

Facebook/fanpage: Thongpunchang Pongvarin , BT Corporation Co.,Ltd. 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com