ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




เกียรติ และศักดิ์ศรี สิ่งดีๆที่ต้องรักษา และส่งเสริม

 เกียรติ และศักดิ์ศรี สิ่งดีๆที่ต้องรักษา และส่งเสริม

 สวัสดีครับทุกท่านช่วงหลายสัปดาห์นี้ผมได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องเกี่ยวกับ การสอนงาน การสื่อสาร และการประสานงานให้กับหน่วยงานหลายแห่ง โดยระหว่างบรรยายผมก็ได้นึกถึงสิ่งหนึ่งที่สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการบริหารงาน และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นคือ “ศักดิ์ศรี” สิ่งนี้คือสิ่งสำคัญมากๆ ต่อการใช้ชีวิต เรามาเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษากันนะครับ

 

อรอนงค์เดินเข้าไปยังแผนกประกอบ ขณะที่ลูกน้องกำลังสาละวนกับการปฏิบัติงาน จากนั้นก็ถีบเก้าอี้ที่ขวางทางเดินไปสองตัวดังโคร่ม!!! จากนั้นก็ตะโกนแว๊ด......ว่า

 

“มัวแต่อู้อยู่นั้นนะแหละ ทำไมไม่ตั้งใจทำงานกันเลย ก็เพราะทำงานอย่างนี้นี่แหละถึงไม่ก้าวหน้าเหมือนแผนกอื่นเขา พวกหลังเขาความรู้ไม่เคยหา อย่าหวังว่าจะพัฒนาเหมือนคนอื่น คิด และทำได้แค่เนี้ยะ ก็จงอยู่แค่เนี๊ยะ ปีนี้ก็เอาเกรด C ไปให้หมดทุกคนเลยก็แล้วกัน...”

 คำพูดนี้หลุดออกจากจากอารมณ์ชั่ววูบของหัวหน้างานที่ไม่สบอารมณ์เพราะลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ โดยที่ไม่ได้สอบถามหาสาเหตุที่มา ที่ไปของปัญหาก่อนเลยว่า ทำไมถึงทำงานได้ไม่เป้าที่ต้องการ โดยเธอคิด ไปเองว่า ลูกน้องไม่ตั้งใจทำงาน จึงทำให้งานเสร็จช้า ทั้งๆที่ความจริงแล้วสาเหตุที่งานไม่ได้เป้านั้นเกิดจาก วัตถุดิบที่นำเข้ามาใช้ในการผลิตไม่ได้คุณภาพ ซึ่งบริษัทเพิ่งเริ่มนำมาทดลองใช้เป็นครั้งแรก โดยที่อรอนงค์ และพนักงานก็ไม่รู้มาก่อน คำถามชวนคิด

 “ถ้าท่านเป็นลูกน้องที่ทำงานกับเขาท่านจะรู้สึกอย่างไร และยังอยากจะทำงานกับเขาต่อไปอีกหรือไม่”

     ร้อยทั้งร้อย เป็นใครก็รับไม่ได้กับคำพูดนี้ ต่อให้กลับมาขอโทษอีกกี่ครั้ง ความรู้สึกมีมันเสียไปแล้วก็ยากที่จะกลับมาเหมือนเดิม แม้จะขอโทษร้อยครั้ง พันครั้งแล้วก็ตามจริงไหมครับ?

 จากคำพูดของอรอนงค์นี้ ส่งผลทำให้ลูกน้องเริ่มไม่ค่อยเชื่อฟัง บางคนก็ไม่แสดงความเคารพ มิหนำซ้ำบางคนก็แสดงพฤติกรรมต่อต้าน และก้าวร้าวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมที่เคยไป และไม่นานปัญหานี้ก็ค่อยๆ บานปลายกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างกัน จนถึงที่สุดไม่พนักงาน หรือหัวหน้า ก็ต้องมีการแยกทางกัน โดยการขอย้ายแผนก หรือไม่ก็ลาออกไปเลยก็เป็นได้ และสุดท้ายคนที่ต้องกลับมาเสียใจที่สุดคือตัวคนพูดนั่นเอง ถ้าย้อนกลับไปถ้าอรอนงค์ ระวังคำพูด และแสดงให้พนักงานเห็นถึงการเคารพศักดิ์ศรี  และให้เกียรติซึ่งกันและกันแล้วละก็ปัญหานี้ก็คงจะไม่เกิดขึ้นจริงไหมล่ะครับ

 

จากกรณีศึกษาที่ได้อธิบายมานี้ เพื่อนำเข้าสู่การอธิบายขยายความคำว่า “ศักดิ์ศรี” นั่นเอง ซึ่งจากหนังสือพจนานุกรมนักเรียนฉบับปรับปรุงใหม่ของ องคืการค้าของ สกสค. อธิบายว่า “ศักดิ์  หมายถึง อำนาจ ความสามารถ กำลัง ฐานะ”  และ “ศรี หมายถึง มิ่ง ศิริมงคล ความรุ่งเรื่อง ความส่วางสุกใจ ความงาม ความเจริญ” ถ้านำสองคำมารวมกันจะได้คำว่า  “ศักดิ์ศรี” ซึ่งหมายถึง เกียรติ เกียรติยศ

การรักษา และเพิ่มพูนศักดิ์เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้บริหาร และหัวหน้างาน ถ้าหากเรารักษา และเพิ่มพูนศักดิ์ศรีให้กับตนเอง เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง และคนรอบข้างแล้วละก็ พวกเขาก็จะทำงานให้กับเราด้วยความเต็มใจ ช่วยเราแบ่งเบาหน้าที่ และความรับผิดชอบ และพร้อมที่จะปฏิบัติงานไปพร้อมกับเรา สำหรับแนวทางในการเพิ่มพูนศักดิ์ศรีให้เกิดขึ้น ได้แก่ การแสดงออกซึ่งการยอมรับนับถือ และให้การสนับสนุนผู้อื่นอย่างจริงใจ การชมเชย และรับรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น การเสริมสร้าง และให้กำลังใจ การการพูดข้อเท็จจริง และสร้างสรรค์ ประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ไม่คิดทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน เป็นต้น จากตัวอย่างของอรอนงค์ เธออาจแสดงออกถึงการให้เกียรติ และเคารพศักดิ์ศรีของผู้อื่นโดย เริ่มจากตั้งสติ แล้วค่อยๆ เดินเข้าไปพูดคุยกับลูกน้องดีๆ ให้ลูกน้องอธิบายก่อน โดยเริ่มว่า

 

“น้องๆ ขอโทษนะพี่ตรวจสอบยอดการผลิตของพวกเราแล้วตอนนี้ไม่ได้ตามจำนวนที่เขาผลิตเลย งานนี้สำคัญจริงๆ ดังนั้นเราต้องรีบช่วยกันแก้ไขปัญหาแล้วหละ ไม่ทราบว่าเราติดปัญหาอะไรบ้าง? และมีอะไรที่พี่พอจะช่วยได้ไหม? เพื่อที่จะได้รีบผลิตให้ได้ตามแผนให้ได้เร็วที่สุด”

 

            ถ้าอรอนงค์พูดแบบนี้ตั้งแต่แรก ปัญหาก็ไม่บานปลายจริงไหมครับ? เรื่องเกียรติ และศักดิ์ศรี เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และกระทบต่อความรู้สึกของคน ถ้าหากเรามองเห็นคุณค่าของคนจากพฤติกรรม การแสดงออก ความประพฤติ โดยตัดเรื่อง เงินทอง ทรัพย์สิน การศึกษา ชื่อเสียง หัวโขน ยศ อำนาจ ตำแหน่ง ออกไป เราก็จะเริ่มมองเห็นความงดงามในจิตใจที่แท้จริงของคนมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเราลองเปรียบเทียบดูระหว่าง ผู้จัดการเงินเดือนหลักแสน มีบ้านหลังใหญ่ รถยุโรปคันโตๆ แต่ทรัพย์สินที่ได้มานั้น เกิดจากการทุจริต คอรับชั่น โกงกินองค์การของตนเอง เล่นการเมืองในองค์การ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง และพวกพ้อง กลั่นแกล้งเพื่อนร่วมงานคนอื่น ทำร้าย ใส่ความผู้ที่ตั้งใจทำงาน ไม่อยากเห็นคนอื่นทำงานดีกว่าตนเอง แต่ตัวเองก็ไม่ทำอะไร  จ้องจะเลื่อยขาเก้าอี้หัวหน้า ถือมีดคอยแทงข้างหลังเพื่อนร่วมงาน กับ พนักงานระดับปฏิบัติการ ทำงานได้ค่าแรงรายวัน โดยวันไหนมาทำงานก็ได้เงิน วันไหนหยุดทำงาน ก็ไม่ได้เงินสักบาท ที่ทำงานโดยสุจริต คนไหนที่มีเกียรติ และควรได้รับเกียรติ และยกย่องในศักดิ์ศรี มากกว่ากัน ซึ่งทุกท่านตอบได้ไม่อยากจริงไหมครับ?

 

            สำหรับบทความในตอนนี้ขอฝากให้อ่าน เพื่อเป็นจุดเล็กๆ ของสังคมในการส่งเสริม และเชิดชูคนดี ให้มีกำลังใจเดินหน้าทำดีต่อไปเพื่อประเทศชาติไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเราครับ สุดท้ายขอฝากคมคิดสะกิดใจที่ว่า “ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับขความสุข ผู้ให้เกียรติ และศักดิ์ศรี ก็ย่อมได้รับเกียรติและศักดิ์ศรีกลับมาเช่นกัน” โชคดีนะครับ

 

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ www.bt-training.com และ 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM) article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com