ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 7 แผนภูมิควบคุม (Control Chart) (ตอนที่ 2)

 Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 7 แผนภูมิควบคุม (Control Chart) (ตอนที่ 2)

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation CO., Ltd.

******************************************************************************************************

          บทความตอนที่แล้วเราได้รู้รายละเอียดคร่าวๆ ของแผนภูมิควบคุมกันไปแล้วนะครับ สำหรับบทความตอนนี้เรามาเรียนรู้ตัวอย่างการประยุตก์ใช้ แผนภูมิควบคุมกระบวนการกันะเลยนะครับ

 

          แผนกประกอบของเล่น ของบริษัทแห่งหนึ่งมักพบปัญหาหยุดการผลิตอยู่บ่อยๆ ทำให้ส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ทัน จากการตรวจสอบสภาพการปฏิบัติงานเพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาพบว่า ไม้ที่รับมาจากแผนกตัดมีขนาดไม่สม่ำเสมอ คือ บางครั้งก็ยาวกว่าที่ต้องการก็ต้องเอาไปแก้ไขให้สั้น ส่วนบ้างครั้งก็สั้นจนใช้ไม่ได้ ต้องทิ้งไป ทำให้ต้นทุนสูง ซึ่งแผนกตัดไม้ ไม่มีการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางสถิติมาก่อนเลย เราสามารถประยุกต์ใช้ แผนภูมิควบคุมเพื่อแก้ไขปัญหาการตัดไม้ไม่ได้ขนาดดังนี้

1.  กำหนดให้มีการเก็บไม้จำมาตรวจสอบ 25 ครั้ง ครั้งละ 4 ชิ้น จากนั้นก็บันทึกค่าที่วัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดที่มีมาตรฐาน

2.  คำนวนหาค่า เฉลี่ย x bar ค่า R และทำการเปิดตารางทางสถิติ ได้ค่า UCL = 25.25 เซ็นติเมตร CL = 25.0 เซ็นติเมตร และ LCL = 24.75 เซ็นติเมตร (สำหรับวิธีการคำนวนต่างๆ ถ้าท่านใดสนใจสามารถอีเมลล์ หรือ inbox) มาสอบถามได้นะครับ

3. เขียนแผนภูมิควบคุม และสร้างเป็นแบบฟอร์มเปล่าให้พนักงานใช้บันทึก โดยกำหนดให้พนักงานต้องสุ่มหยิบชิ้นงานมาครั้งละ 4 ชิ้น ทุกๆ 1 ชั่วโมง จากนั้นก็หาค่าเฉลี่ยของชิ้นงาน แล้วบันบันทึกค่าที่ได้ แล้วทำการบันทึกผล

 

จากกราฟทำให้พบว่า ช่วงเวลา 10.00 น.-12.00 น. ชิ้นไม้มีขนาดสั้นกว่าที่กำหนด จากการตรวจสอบพบว่า มีการขันนอตระหว่างที่มีการตั้งใบมีดไม่แน่น ทำให้ใบเลื่อยคลอน และให้ตัวได้ ทำให้มีมีขนาดสั้น การป้องกัน ใช้หลักการของการควบคุมด้วยสายตา  (Visual Control) โดยขีดสีที่ตัวนอต ของเครื่องตัด โดยกำหนดตำแหน่งที่ชัดเจนไว้อย่างชัดเจน ทำให้พนักงานสังเกตได้ง่ายเมื่อมีการคลายตัว หรือขันไม่แน่น ซึ่งถ้าพบ พนักงานก็หยุดการผลิต และทำการปรับแต่งโดยการขันให้แน่นด้วยตนเอง

จากตัวอย่างกรณีการตัดไม้นี้ทำให้เราพบว่า ถ้าหากเรามีการติดตามปัญหาอย่างใกล้ชิด จะทำให้เราทราบถึงแนวโน้มของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเราอาจจะหยุดเพื่อดำเนินการแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นมาได้ จากตัวอย่างจะเห็นว่า ตอน 9.00 น. เราพบว่า ชิ้นไม่เริ่มมีขนาดสั้นลงแล้ว และเริ่มหลุดสเป็ก ตอน 10.00 น. -11.00 น. กว่าจะกลับมาเข้าที่เข้าทางก็ปาเข้าไปเที่ยงวัน เสียหายไปตั้ง 2 ชั่วโมง และ ในช่วงตั้งแต่ 18.00 น ไปเรื่อยๆ จนถึง 21.00 น เริ่มมีปัญหาชิ้นงานขนาดยาวขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่เอะใจ ปล่อยให้ชิ้นงานหลุดสเป็กไปตอน 21.00 จนเลิกงาน เสียหายเสียหายไปอีกใน 3 ชั่วโมงนี้   

ส่วนในช่วง 21.00 น. -24.00น. ชิ้นไม่มีขนาดยาวกว่าปกติ จากการตรวจสอบพบว่ามีเศษไม้ที่เกิดจากการตัดไปอุดที่บริเวณด้านป้อนงาน ทำให้ป้อนงานได้ไม่สะดวก พนักงานจึงต้องใช้แรงในการดันไม่เข้าเครื่องมากกว่าปกติ สำหรับวิธีการแก้ไข กำหนดให้พนักงานทำความสะอาดเครื่องจักรทุกๆ สิ้นกะ (ปกติจะทำเพียงแค่วันละครั้งเท่านั้น) คือ กะเช้า ทำความสะอาดเวลา 15.20 น.-15.30น. ส่วนกะบ่าย ทำความสะอาดเวลา 23.20-23.30 น. นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆนะครับ สำหรับการประยุกต์ใช้นั้นยังมีอีกมากมากครับ  เช่น กรณีที่เราพบว่าชิ้นงานไม่ได้ขนาด เราอาจทำการสุ่มย้อนกลับไปนำงานชิ้นอื่นในลอทก่อนหน้า เพื่อทำการยืนยันอีกครั้ง และหลังจากการแก้ไขปัญหาแล้วเราอาจต้องเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบ หรือสุ่มตรวจอีกด้วย ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับ ความซีเรียสของปัญหา ซึ่งก็แล้วแต่หน่วยงานที่จะตกลงกันเองนะครับ

 

สำหรับบทความในตอนนี้คือบทสรุปของ Easy 7QC Tools แบบเก่า ทั้ง 7 เครื่องมือ ซึ่งก็จบครบถ้วนสมบูรณ์ ถ้าท่านใดสนใจหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม ก็สามารถส่งอีเมลล์ หรือ inbox เข้ามาสอบถามได้นะครับ .....

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติมได้ที่ www.bt-training.com ครับ

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com