ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




ภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนต้องรู้

 ภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนต้องรู้

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook: BT CORPORATION CO., LTD. , Thongpunchang Pongvarin

 

สวัสดีครับทุกท่านสำหรับบทความตอนที่แล้วผมได้นำเสนอบทความเรื่อง เลิกกังวลง่ายนิดเดียว ไปแล้ว และมีหลายท่านให้ความสนใจ โดย inbox มาสอบถามเพิ่มเติม ผมจึงเกิดแรงบันดาลใจ และขอนำตัวอย่างของวิธีการตัดความกังวลของผมมาแลกเปลี่ยนนะครับ

 

ประสบการณ์ในการตัดความกังวลของผมได้มาจากจาก การศึกษาจริงๆ จังๆ จากสองแนวทาง โดยแนวทางแรก ผมศึกษาจากคำสอนตามหลักทางพระพุทธศาสนา และจากครูบาอาจารย์ต่างๆ ส่วนอีกแนวทาง ผมได้ศึกษาเรื่องจิตวิยา และการพัฒนาตนเองของทั้งคนไทย และฝรั่ง จากการศึกษา และทดลองปฏิบัติด้วยตนเองหลายปีพบว่า “การรักษาอารมณ์ และมีสติอยู่กับปัจจุบัน” คือคำตอบครับ ผมขอยกตัวอย่างนะครับ

           สถานการณ์ตอนนั้นเช้าวันเสาร์ พรุ่งนี้วันอาทิตย์ ผมจะต้องไปสอบประมวลผลความรู้โดยในการสอบแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้ามีข้อสอบ 3 ข้อ ใช้ความรู้ด้านการบริหารงานอุตสาหกรรม และทรัพยากรมนุษย์ ส่วนในตอนบ่าย สอบ การวิจัยขั้นสูง เพียงแค่ข้อเดียว แต่รุ่นพี่ๆ เขาล่ำลือกันว่า มันยากมากๆ ในการตอบแต่ละข้อต้องใช้ความรู้จากหลายวิชามาบูรณาการร่วมกัน ต้องตอบแบบเข้าใจ ไม่ใช่ท่องจำเฉพาะแต่ทฤษฎีมาเขียนอาจารย์ท่านไม่ให้ผ่านแน่นอน

สถานกาณ์ที่ผมประสบอยู่ตอนนั้น มี 6 เรื่องใหญ่ๆ ดังนี้  

1.   ลูกไม่ค่อยสบาย ตัวร้อน ต้องสลับเช็ดตัวกับภรรยา

2.   งานที่บริษัษมีปัญหา และกำลังแก้ไข

3.   เราไม่ค่อยสบาย เพราะอดนอนมาหลายคืน

4.   ข้อสอบที่เราต้องเจอไม่รู้เป็นอย่างไร? เพราะข้อสอบเก่าก็ไม่มี

5.   ต้องส่งงานให้กับลูกค้า แต่งานยังทำได้ไม่ดีเลย

6.   วันนี้ต้องไปรับรถที่ศูนย์ เพราะนำไปเปลี่ยนอะไหล่ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะรับได้กี่โมง และรถของเราจะเสร็จเรียบร้อยจริงๆ หรือไม่ ถ้าไม่เสร็จเราต้องเดือดร้อน เพราะต้องใช้รถ 2 คันในวันพรุ่งนี้ด้วย  

แน่นอนครับ 6 เรื่องนี้ ทำให้ผมกังวลใจเป็นอย่างมาก ถึงมากที่สุด ซึ่งถ้าผมไม่รู้จักแยกแยะ และบริหารความกังวลแล้วละก็ สมองของผมคงระเบิดไม่ได้มานั่งเขียนบทความอยู่ในตอนเป็นแน่  ดังนั้น สิ่งที่ผมจัดการกับสถานการณ์ในตอนนั้น มีดังนี้

1. ตั้งสติ อยู่กับปัจจุบัน โดย ผมจะไม่เอาอดีต มาทับถม หรือทำให้เรากังวล เช่น “เราอาจจะอ่านหนังสือไม่แน่นพอ” “วิธีการแก้ไขปัญหาที่สั่งไป มันอาจจะใช้ไม่ได้” “ถ้าย้อนกลับไปได้ เราน่าจะทำสิ่งนี้มากกว่า” “ลูกเคยป่วยหลายวัน ถ้าป่วยเป็นแบบที่เคยเป็นจะทำยังไงต่อ” และไม่นำอนาคตมากดดันตัวเองจนทำให้เสียสติ ขาดสมาธิ เช่น “ถ้าลูกไม่หายป่วยจะทำอย่างไร?” “ถ้าเกิดอ่านไปไม่ตรงกับข้อสอบจะทำยังไง?” “ถ้ารถซ่อมไม่เสร็จจะไปสอบยังไง?เป็นต้น

2.  ให้กำลังใจตนเอง โดยพูดกับตัวเองว่า  

เฮ๊ย!!! ทอง เอ็งเป็นคนที่โคตรเก่งเลย สถานการณ์แค่นี้เดี๋ยวเอ็งก็ผ่านไปได้ มีคนแย่กว่าเอ็งอีกเยอะแยะ เขายังผ่านไปได้เลย เอ็งจะไปกลัวอะไร? อย่างน้อยเอ็งก็มีความรู้ ความสามารถ ปัญหาเหล่านี้มันก็อีแค่บททดสอบในชีวิตเท่านั้นเอง เดี๋ยวมันก็ผ่านไป และปัญหาเล็กๆ แค่นี้ถ้าเอ็งแก้ไขอะไรไม่ได้ แล้วอนาคตล่ะถ้าเกิดมีปัญหาใหญ่กว่านี้ เอ็งจะแก้ได้หรือ? กลัวอะไรวะ สู้มันเลย...  เอ็งทำได้ เดี๋ยวเอ็งก็ทำได้ ยังไงๆ เอ็งก็ทำได้ชัวร์ ร้อยเปอร์เซ็นต์ แค่วางแผนดีๆ ทำดีๆ เดี๋ยวปัญหาก็จบ ปัญหามันไม่อยู่กับเอ็งนานหรอก มันอยู่แป๊ปเดียว เดี๋ยวเดียว มันก็ไปแล้ว ปัญหามันไม่ค่อยชอบหน้าเอ็งหรอกจริงๆนะเว๊ย!!! ทอง.....”

3. จัดลำดับงานใหม่ตามสถานการณ์ โดยพิจารณาจาก “ความสำคัญ และเร่งด่วนของงาน” อะไรสำคัญ จำเป็น รีบด่วน จัดลำดับใหม่ซะตั้งแต่ตอนนี้เลย เช้าทำอะไร สายทำอะไร เที่ยงทำอะไร บ่ายทำอะไร เย็นทำอะไร นอนกี่โมง ตื่นกี่โมงดี เพื่อทำให้เราพร้อมที่จะไปสอบพรุ่งนี้ได้เต็มที่ที่สุด

4. สมมติว่าสิ่งที่แย่ที่สุดเกิดขึ้น แล้วหาแนวทางทางที่ดีที่สุดเพื่อจัดการกับปัญหานั้นๆ โดยผมเตรียมไว้เลยว่า ถ้าเหตุการณ์ หรือสถานการณ์มันแย่ หรือเลวร้ายที่สุด เกิดขึ้น เราจะทำอะไรบ้างในแต่ละปัญหา เช่น ถ้าลูกกินยาแล้วตัวไม่เย็นอีก ก็พาไปหาหมอ โดยภรรยาขับรถไปได้ หรือ กรณีที่วิธีการแก้ไขปัญหาที่เรานำเสนอไปใช้ไม่ได้ เราก็จะเตรียมแผนสองเอาไว้แล้ว หรือถ้าข้อสอบออกมาไม่ตรงกับที่เราอ่าน อย่างน้อย เราก็มีหลักในการตอบตามที่เราได้จำ Model หรือ รายละเอียด และขั้นตอนมา เป็นต้น

5. คิดแต่สิ่งที่ดีๆ เพื่อสร้างกำลังใจให้กับตนเอง หรือ ที่หลายๆ คนเรียกกว่า คิดบวก (Positive Thinking) โดยผมจะบอกกัตัวเองว่า “เรื่องแค่นิดเดียวเอง อย่างน้อย เราก็ทำอะไรดีๆ หลายอย่างไปแล้ว และเชื่อเถอะเดี๋ยวสถานการณ์มันก็จะดีขึ้น เราสวดมนต์ ไหว้พระ ชอบทำบุญ พระย่อมคุ้มครอง”   

6. ทำตามลำดับงาน ด้วยความมั่งมั่น ตั้งใจ ทำเฉพาะสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรานั่นแหละ ทำให้มันจบๆ ไปทีละอย่าง ๆ และรักษาอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ ไม่ให้ขุ่นมัว หรือ สับสน

ผลลัพธ์จากสถานการณ์ในวันนั้นก็คือ ลูกผมดีขึ้นตัวเย็น ออกไปขี่จักรยานได้  งานก็ราบรื่น ผมไปรับรถตอนเย็นๆ ผมรู้สึกสบายใจ นอนหลับเต็มตื่น ไม่กังวล และตอนไปสอบผมก็ทำข้อสอบได้ สิ่งที่อ่านมานั้นตรงกับแนวข้อสอบที่อาจารย์ท่านแนะนำ (เขียนเกือบ 6 ชั่วโมง จนปวดมือเลย จำได้ว่ากลับมาต้องมากินยาแก้ปวด และทายาด้วย) และเย็นวันสอบนั้นผมก็ขับรถกลับบ้านอย่างมีความสุข และไม่นานผลสอบก็ออกมา ซึ่งผมก็สอบผ่านทั้งสองชุดวิชา สรุปเรื่องนี้สอนให้ผมทราบซึ้งใจกับคำกล่าวที่ว่า ความกังวลมีผลต่อระบบหมุนเวียนของโลหิต และระบบประสาททั้งระบบ ข้าพเจ้าไม่เคยรู้เห็นว่ามีคนตายเพราะทำงานหนักเกินไป รู้แต่ว่ามีคนจำนวนมากตายเพราะความระแวงสงสัย” และ “สรุปแล้วมีเพียงแค่เพียง 8% เท่านั้นแหละที่สมควรให้เราเสียเวลามานั่งคิด นอนคิด”  

จากเรื่องราวของผมที่เล่ามานี้ ผมขอผมขอกราบขอบพระคุณ และขอยกย่อง เทิดทูน พระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ และนักวิชาการ นักเขียน นักวิจัย ผู้มีความรู้ทั้งหมาย ทุกๆท่าน ที่สละเวลาในการศึกษา และนำความรู้ เกี่ยวกับการบริหารสติ อารมณ์ และการตัดความกังวล รวมไปถึงเรื่องราวต่างๆที่เป็นประโยชน์มาให้กับคนบนโลกนี้ได้ศึกษา เสมือนหนึ่งเป็นภูมิคุ้มกันตนเอง ให้รอดพ้นจากสถานการณ์อันเลวร้ายต่างๆ ไปได้ด้วยดี เป็นยาขนานเอกในชีวิตที่ใช้จัดการกับ ความเครียด ความกดดัน ความกังวล และเรื่องรบกวนจิตใจ ที่กำลังจะเข้ามาในชีวิตทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ได้อย่างอยู่หมัด ขอกราบขอบพระคุณอีกครั้งครับ สุดท้ายขอฝากคมคิดสะกิดใจที่กล่าวโดย เซอร์ วิลเลี่ยม ออสเลอร์ ว่า “เรามิสามารถเห็นสิ่งใดอย่างชัดเจน หากมันยังไม่มาถึง แต่จงมองในสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นอยู่ในปัจจุบันกาล” โชคดีนะครับ

 

 ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ Www.bt-training.com ครับ

 

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,233 ลดต้นทุนง่าย ๆ แค่ "ปิด"
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,232 ข้อคิดสะกิดใจ เหนื่อยเพื่ออนาคต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,231 ลดต้นทุนสำเร็จเพราะทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,230 ลดต้นทุนล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,229 วินัย 4 ประการแห่งการบริหารชีวิต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,228 10 แนวทางในการลดต้นทุนที่เข้าใจง่าย และทำได้จริง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,227 ต้นทุนเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องรู้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,226 การตรวจสอบต้องใช้ตา และหัวใจ เพื่อทำให้เข้าใจความจริงทั้งหมด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,225 หัวใจของการประชุม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com