ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




เหตุผลดีๆ ที่เราต้องไปช่วยเหลือคนอื่น article

 

เหตุผลดีๆ ที่ทำให้เราอยากไปช่วยคนอื่น
เขียนโดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
วันที่เขียน 16 มิถุนายน 2553
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้ไปบรรยายหลักสูตร “การพัฒนาทักษะการบริหารงาน สำหรับหัวหน้างานในสายการผลิต” ที่บริษัท G K Assembly มาครับ เลยเกิดไอเดีย อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ครับ
เหตุเกิดในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานของบริษัทแห่งหนึ่ง เป็นการสนทนาปัญหาคาใจ ระหว่างหัวหน้างาน กับลูกน้อง หลังจากที่หัวหน้างานเห็นลูกน้องนั่งคุยกัน หลังจากทำงานเสร็จ โดยขอร้องให้ลูกน้องไปช่วยงาน เพื่อนร่วมงานแผนกถัดไป เหตุผลเพราะแผนกที่ปฏิบัติงานถัดไปนั้น วันนี้มีพนักงานขาดงานสองคน
“พี่ ทำไมพี่ต้องให้ พวกผมไปช่วยแผนกอื่นด้วยล่ะ!” ลูกน้องถามขึ้นด้วยอารมณ์ไม่พอใจ
“ทำไม ถึงถามอย่างนี้ล่ะฮึ!” หัวหน้าถามกลับ ด้วยใบหน้าสงสัย
“ก็ผมรู้สึกไม่ยุติธรรมเลยนี่ครับ” ลูกตอบ แล้วเริ่มอธิบายต่อ
“พอพวกผมว่าง  พี่ก็ให้ผมไปช่วยงานแผนกอื่น แต่เวลาแผนกอื่นว่า ไม่เห็นมีใครมาช่วยพวกผมเลยนี่ครับ”หลังจากฟังลูกน้องตัดพ้อพักใหญ่ หัวหน้าก็เริ่มอธิบายขึ้นบ้าง
“บริษัทอยู่ได้ ก็ด้วยมีกำไร และกำไร ก็เกิดจากลูกค้าซื้อสินค้า และการที่เราทุกคนในบริษัทช่วยกันผลิตสินค้าก็เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ทั้งในด้านคุณภาพ ปริมาณ และการส่งมอบ ดังนั้น การที่แผนกของเราทำงานเสร็จแล้ว แต่แผนกที่เขาปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง หรือ ปฏิบัติงานต่อจากเรา ทำงานไม่เสร็จ หรือเขา มีปัญหาเราก็ต้องไปช่วยเขา จะมานิ่งดูดายได้อย่างไร?” หัวหน้าหยุดพูด แล้วตั้งคำถามว่า
“รู้ไหม เพราะอะไร เราจึงต้องไปช่วยงานคนอื่นทำงาน?”  ถามจบหัวหน้าก็ยืนนิ่ง เพื่อรอคำตอบ สักครู่ ก็เริ่มมีเสียงตอบกลับมา
“เพื่อส่งงานได้ทัน และพี่ก็จะได้ไม่โดนลูกค้าต่อว่าใช่ไหมล่ะ?” หัวหน้ายิ้ม เพราะที่ได้ยินคำตอบแบบนั้น แล้วพูดต่อว่า “ใช่แล้วครับ เพราะการที่ลูกค้าต่อว่านั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการที่เขามาต่อว่าเรานั้น นั่นแสดงว่าเขาไม่พอใจ และการไม่พอใจนี้เอง จะเป็นจุดเริ่มต้นของการร้องเรียน และถ้าร้องเรียนมากๆเข้า เขาก็จะยกเลิกการซื้อสินค้าจากเรา ไปซื้อจากคู่แข่งของเราแน่นอน หรือถ้าแย่ยิ่งไปกว่านั้นเขาก็อาจจะไปบอกต่อคนอื่นๆ อีกเพื่อ ไม่ให้มาซื้อของจากบริษัทเรา ”  หัวหน้าหยุดพูด แล้วกวาดสายตาไปยังลูกน้องที่ร่วมประชุม แล้วพูดต่อว่า “นึกภาพตามก็แล้วกัน สมมติเราสั่งซื้อของพอถึงเวลานัดเราก็ไปตรงเวลาเป๊ะ แต่ เจ้าของร้านบอกว่าของยังไม่เสร็จ ต้องรออีกสักชั่วโมงหนึ่ง เราจะรู้สึกอย่างไร? เราก็คงเบื่อ เซ็ง และคงไม่อยากจะมาซื้อของร้านนี้อีกถ้าไม่จำเป็น จริงไหมครับ?” หัวหน้าพูดจบได้ซักพักหนึ่ง ลูกน้องก็เริ่มเดินไปช่วยงานแผนกอื่น ตามที่หัวหน้างานร้องขอ
            ปัญหาการไม่ช่วยงานกันระหว่างพนักงาน แต่ละแผนก เป็นเรื่องปวดหัว ปวดใจ ของหัวหน้างานหลายคน ดังตัวอย่างกรณีนี้ (ผมก็เคยเจอเหมือนกัน) สำหรับความคิดของพนักงานส่วนใหญ่ คือ “ทำไมเราต้องไปช่วยเขาด้วย ไม่เคยมีใครมาช่วยเราเลย” “เราทำงานของเราเสร็จสมบูรณ์แล้ว ไม่เห็นจะต้องไปช่วยคนอื่นเขาเลย หน้าที่ใคร ก็หน้าที่มันซิ” “เราไปช่วยคนอื่นแล้วเราจะได้อะไร” สำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้างานนั้นต้องทำความเข้าใจกับพนักงานให้ดีนะครับ โดยควรอธิบายถึง เหตุ และผลของการไปช่วยคนอื่น และที่สำคัญควรไปคุยกับแต่ละแผนกให้ชัดเจนว่า “เราผลิตสินค้าในนามของบริษัทขอเรา ไม่ได้ผลิตสินค้า หรือขายสินค้าในนามแผนกใด แผนกหนึ่งเท่านั้น” เพราะฉะนั้นแล้ว เราทุกคนในบริษัทก็ต้องช่วยเหลือกัน ต้องสามัคคีกัน เห็นแผนกไหน หรือใครยุ่ง ถ้าเราพอช่วยได้ ต้องรีบไปช่วยกัน เพราะถ้าเรามัวแต่คิดที่จะแบ่งแยก เพื่อที่จะโดด เด่น ดูดี แต่เพียงคนเดียว หรือแผนกเดียว มันคงเป็นไปไม่ได้ เหมือนนิทานเรื่องการทะเลาะกันของนิ้วมือทั้งห้า เพื่อจะอวดอ้างความดี ความเด่นของตน แต่สุดท้าย นิ้วแต่ละนิ้วก็แยกออกจะกันไม่ได้ ต้องอยู่ติดกันอยู่ดี
การทำงานก็เหมือนกันนะครับ ถ้าเรามั่วแต่ต้องการจะแบ่งแยก แผนกใคร แผนกมันแล้วละก็ สุดท้าย ผมว่าไม่มีที่อยู่ด้วยกันทุกแผนกละครับ ซึ่งอย่ารอให้ถึงวันนั้นเลยครับ เรามาหันหน้าเข้าหากัน ช่วยกัน สามัคคีกัน เพื่อความอยู่รอดของพวกเราทุกคนในองค์กร บนโลกของการแข่งขันอันแสนจะรุนแรงใบนี้ *********



บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร No.1,273 กับ ดร.ทองพันชั่ง Leader as Coach ปั้นลูกน้องให้เป็นผู้นำ ผู้นำรุ่นใหม่ไม่เน้นสั่ง แต่เน้นโค้ช article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร No.1,272 กับ ดร.ทองพันชั่ง Leader as Coach ปั้นลูกน้องให้เป็นผู้นำ ผู้นำต้องรีบจัดการ อย่าปล่อยให้คำถามเหล่านี้วนเวียนอยู่ในหัว article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร No.1,271 กับ ดร.ทองพันชั่ง Leader as Coach ปั้นลูกน้องให้เป็นผู้นำ สิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการจากหัวหน้า หรือผู้นำของเขา article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร No.1,270 กับ ดร.ทองพันชั่ง Leader as Coach ปั้นลูกน้องให้เป็นผู้นำ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร No.1,269 กับ ดร.ทองพันชั่ง Productivity Coach โค้ชเพิ่มผลผลิต 5ส แบบใหม่เพื่อความยั่งยืน จากหนังสือ TPM สำหรับโรงงานแบบลีน
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร No.1,268 กับ ดร.ทองพันชั่ง Productivity Coach โค้ชเพิ่มผลผลิต ลดปัญหาเครื่องจักรใช้เวลานานในการติดตั้ง หรือเปลี่ยนรุ่น จากหนังสือ TPM สำหรับโรงงานแบบลีน
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร No.1,267 กับ ดร.ทองพันชั่ง Productivity Coach โค้ชเพิ่มผลผลิต ลดปัญหาเครื่องจักรหยุดปานกลาง จากหนังสือ TPM สำหรับโรงงานแบบลีน
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,266 ลดปัญหาการหยุดเครื่องจักรเล็กน้อย จากหนังสือ TPM สำหรับโรงงานแบบลีน
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,265 ตื่นรู้ เพื่อตัวเอง ซะที!!!
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,264 ความสูญเปล่า 7 ประการใน TPM
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,263 ก้าวล้ำนำตัวเอง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,262 กล้าสร้างทางของตนเอง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,261 กล้าเผชิญกับคำคัดค้าน เพื่อการเติบโต
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,260 อัจฉริยะ มาจากไหน ?
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,259 ทิศทางสำคัญกว่าความเร็ว
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,258 การเพิ่มผลผลิต Productivity
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,257 ZEN ปล่อยวางเพื่อความสุข
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,256 ผู้นำทำพิษ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,255 หัวใจของ TEAM การทำงานเป็นทีม
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,254 เทคนิตป้องกันไฟช็อต สำหรับพนักงาน



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com