ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




วิธีสร้างความมั่นใจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการรายงาน (Effective Reporting) article

เขียนโดยทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

Email: tpongvarin@yahoo.com, Tel:089-8118340, www.bt-training.com

 
มูลเหตุจูงใจ ขณะบรรยายหลักสูตรการเขียนรายงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Reporting) ที่ศูนย์ฝึกอบรม บริษัทพานาโซนิค (Panasonic) 
 
 
เวลาที่ต้องไปรายงานกับผู้ใหญ่ หรือหัวหน้า ท่านเคยรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือไม่?
 
ไม่อยากไป ไม่มั่นใจ กลัวเจอคำถามอะไรก็ไม่รู้ เดี๋ยวตอบไม่ได้ ซวยอีก !!!!!!
 
ถ้าหากท่านเคยรู้สึกอย่างนี้  วันนี้ผมมีเทคนิคดี มาแบ่งปันกันครับ
 
หลักการที่สำคัญ และเป็นพื้นฐานในการรายงานคือความรู้เรื่องการสื่อสาร ซึ่งการสื่อสารประกอบไปด้วย สามส่วน ดังนี้
 

1. ผู้สื่อสาร ซึ่งต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และหัวเรื่องให้ดี รวมถึงการเตรียมเนื้อหา และจัดเรียงลำดับให้ดีก่อนที่จะนำไปสื่อสารให้คนอื่น
 
2. วิธีการสื่อสาร ต้องเลือกวิธีการสื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และสถานการณ์ เช่น พูด อธิบาย เขียน Memo ส่งเมลล์ หรือโทรศัพท์ ตามแต่สะดวกครับ แต่สิ่งที่สำคัญคือ อะไรก็ได้ ที่ง่าย สะดวก และเข้าใจ นำไปทำได้อย่างถูกต้อง
 
3. ผู้รับสาร ผู้ฟัง หรือผู้อ่านรายงาน โดยควรคำนึงถึงผู้ฟังว่า มีลักษณะแบบไหน ชอบน้ำเยอะๆ ยกตัวอย่าง หรือเอาแต่เนื้อๆ
 
สำหรับขั้นตอนการสื่อสาร ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
 
1.      กำหนดวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ต้องการสื่อสาร เช่น ต้องการแจ้งให้ทราบ ต้องการบอกให้ทำ ต้องการเตือนให้ระวัง ต้องการชี้แนะเพื่อปรับปรุง เป็นต้นครับ
2.      รวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด ครบถ้วน ในทุกประเด็น  
3.      วิเคราะห์ผู้อ่านว่าเขาคือใคร? เขามีนิสัยอย่างไร? เขาชอบฟังแบบไหน? (อธิบายเยอะๆ และยกตัวอย่าง หรือสรุปความ เอาแต่ประเด็นสำคัญๆ)
4.      เตรียมรายงาน แล้วทบทวนจนคิดว่าครบทุกประเด็นแล้ว โดยเตรียมไปด้วยว่า เขาจะถามอะไรเราบ้างในการรายงานครั้งนี้? และเราจะตอบอะไร?กับเขาในคำถามเหล่านั้น
5.      ถามกลับผู้ที่รับรายงานจากเรา ว่าเข้าใจไหม? เห็นด้วยไหม? มีความคิดเห็นอย่างไร? ต้องการอะไรจากการรายงานของเราเพิ่มเติมอีกหรือไม่? มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมไหม? มีคำแนะนำเพิ่มเติมให้กับเราไหม?
 
ข้อมูลที่ต้องเตรียมเพื่อรายงานปัญหา หรือความผิดปกติในการปฏิบัติงาน
 
                   ลักษณะของปัญหา ……….. ,
                   ผลกระทบ การผลิต ลูกค้า และอื่นๆ
                   ชื่อ Product ที่พบ ปัญหา รายละเอียด …………………. จำนวน ……….. ,
                   การจัดการกับ วัตถุดิบที่มีอยู่ ………………
                   ผลกระทบกับการส่งมอบหรือไม่? …………………… ,
                   การขอ Special Accept จากลูกค้าได้หรือไม่?
                   การแก้ไขปัญหา ……………… ผู้รับผิดชอบ….. กำหนดเสร็จ ……
                   การป้องกันปัญหา ……………. 
                   ค่าใช้จ่ายในการจัดการกับปัญหานี้ …………………
                   ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา …………….
 
ข้อมูลที่ควรเตรียมเพื่อรายงานประจำวัน
 
                   แผนการผลิตประจำวัน ………..
                   จำนวนพนักงาน มาทำงาน มาสาย ลาป่วย กิจ ……………..
                   ยอดการผลิต ผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ………..
                   ปัญหาที่พบ แนวทางแก้ไข และป้องกัน ………....
                   จำนวนของดี............. ของเสีย ………..
                   OEE (Overall Equipment Effectiveness ) ………….......
                   KPI ดัชนีชี้วัดผลงาน ………..
                   จำนวนผลผลิตที่ได้ ........................   
                   จำนวนผลผลิตที่เสียหาย ................... ,เกณฑ์การจัดการกับของ  เสีย .......................
                   ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้……………….. ปริมาณวัตถุดิบที่เหลือ …………………………..
                   เรื่องอื่นๆ อุบัติเหตุ กิจกรรมพิเศษ ………..
                   ความสูญเสียอื่นๆที่เกิดขึ้น ..............    และการแก้ไข .............................
                   ผลกระทบต่อการผลิต มีหรือไม่? อย่างไร?................
                   งานฝากให้ผู้อื่นทำต่อ ………………………. งานค้างให้ผู้อื่นทำต่อ ……………………….
                   การส่งมอบ..............  
                   ข้อร้องเรียนจากลูกค้า................... 
 
ข้อมูลที่ควรเตรียมเพื่อรายงานประจำวัน
 
                   วัตถุประสงค์ เพื่อ ................
                   ลักษณะของปัญหา หรือสิ่งที่ต้องการปรับปรุง ................
                   สภาพทั่วไปก่อนการปรับปรุง ................
                   สภาพหลังการปรับปรุง ................
                   แนวทางในการดำนเนินการแก้ไขปรับปรุง ................
                   ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการปรับปรุงครั้งนี้ ................
                   เปรียบเทียบ สิ่งที่ได้ เวลา ค่าใช้จ่าย การประหยัด ประสิทธิภาพ ................
                   ผลกระทบที่อาจจะตามมา มีหรือไม่? อย่างไร? ................
                   การนำไปต่อยอดในการดำเนินงาน มีหรือไม่? อย่างไร? ................
 
จากข้อมูลดังกล่าว หากเรานำมาทำเป็นตาราง ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรายงานได้มากทีเดียวครับ 
 
ลองนำไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ ซึ่งบางท่านอาจจะปรับปรุง เพิ่มเติม ตามลักษณะงานของท่านได้ตามความเหมาะสม
 
ถ้าทำแบบนี้ รับรองได้เลยว่า หัวหน้าของท่าน คงไม่ต้องมาถามอะไรท่านอีกแน่นอน และสุดท้ายการเตรียมตัวที่ดีอย่างนี้จะช่วยให้ท่านเกิดความมั่นใจ และอยากที่จะไปรายงานได้อย่างแน่นอน
 
ซึ่งสิ่งนี้เองจะทำให้หัวหน้าของท่านต้องร้อง ว๊าว....... ด้วยความตะลึงอย่างแน่นอนครับ
 

 

 

 

 

 

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM)
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com