ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




Feedback อาวุธสำคัญที่หัวหน้างานประสบความสำเร็จสูงสุด article

 

 Feedback อาวุธสำคัญที่หัวหน้างานประสบความสำเร็จสูงสุด

 

เขียนโดยทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com

Mobile.089-8118340 www.bt-training.com

               สวัสดีครับทุกท่าน สัปดาห์นี้ผมขอนำแนวคิดแนวคิดที่ได้จากการไปบรรยายหลักสูตหัวหน้างาน และภาวะผู้นำมาแลกเปลี่ยนนะครับซึ่งหัวข้อนี้เป็นหัวข้อหนึ่งที่ผู้จัดมักจะขอเลยว่าต้องมีในหลักสูตร หัวข้อที่ว่านี้คือ “Feedback”

Feedback เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น เสริมสร้างความสัมพันธ์ทีดีระหว่างกัน แก้ไขปัญหาที่พนักงานรู้สึกไม่พอใจ โดยเฉพาะเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงาน  การ Feedback นั้นทำได้โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรา เช่น หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่ลูกน้องของเรา มาบอกกับเราตรงๆว่า เราข้อดีอะไร และเราต้องปรับปรุงอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งที่ได้รับฟังมานั้นเราก็ต้องตั้งใจฟังอย่างมีสติ แล้วคิดทบทวนเพื่อพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แต่สำหรับบทความนี้ผมจะขอแนะนำเทคนิวิธีการ Feedback สำหรับหัวหน้างาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาลูกน้องกันนะครับ  การให้ Feedback กับลูกน้อง นั้นมีหลักการง่ายๆ 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ก่อนการ Feedback มีรายละเอียดดังนี้

1.  ต้องตั้งมั่นอยู่อยู่บนพื้นฐานของความจริง ห้ามใช้ความรู้สึก คาดเดา คิดเอาเอง ว่าลูกน้อง เป็นอย่างนั้น อย่างนี้

2.  มีเหตุการณ์ที่ชัดเจน นั่นหมายความว่าเราจะมั่วไม่ได้ เปรียบเสมือนกับกระจกสะท้อนให้เห็นตัวเอง และเมื่อเรามองเห็นตัวเราเองแล้ว เราก็นำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงตัวเราเองให้ดีขึ้น  

3. หมั่นสังเกตจนมั่นใจในพฤติกรรมของลูกน้อง และจดบันทึกเอาพฤติกรรมเด่นๆเอาไว้ด้วย แก้ลืม โดยเฉพาะผู้ที่มีลูกน้องเยอะๆ ต้องจดให้ละเอียดนะครับ ว่าชื่ออะไร พฤติกรรมด้านดี ด้านไม่ดี นิสัยใจคอ เป็นยังไง

4.  เตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนการ Feedback นะครับ

5.  จัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสม บางเรื่องเป็นทางการ หรือเป็นความลับ ก็เลือกที่มิดชิดหน่อย บางเรื่องสบายๆ ไม่เครียด ก็อาจเลือกโรงอาหาร หรือสนามฟุตบอลก็ได้

ระยะที่ 2 ระหว่างการ Feedback มีรายละเอียดดังนี้

1.  สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน

2.  แลกเปลี่ยนข้อเท็จจริงระหว่างกัน แนวทางที่ผมชอบใช้คือ

3.  Outside in โดยเริ่มจากให้พนักงานเล่าถึงปัญหา ความรู้สึกอึคอัดใจ ก่อน จากนั้น เราก็อธิบายข้อมูลของเรา Inside out เพื่อให้พนักงานรับรู้ว่าเรารู้สึกกับเขาอย่างไร จากนั้นก็ Balance โดยหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน และแนวทางนี้จะช่วยทำให้ทั้งพนักงาน และเรามีความรู้สึกที่ดีต่อกัน

4.  สร้างคำมั่นสัญญา (Commitment) และจัดทำแผนการปรับปรุงร่วมกัน

ระยะที่ 3 หลังการ Feedback มีรายละเอียดดังนี้

1.     ติดตามผลการให้ Feedback

2.   ประเมินผลถ้าพนักงานสามารถทำได้บรรลุเป้าหมาย เราก็ต้องชื่นชม และให้รางวัล แต่ถ้าพนักงานเกิดต่อต้าน หรือไม่ปฏิบัติตามเราก็ต้องหามาตรการแก้ไขต่อไป เช่น พูดคุยซ้ำ หรือใช้วิธีการที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น สำหรับกรณีที่เป็นความผิดร้ายแรง

สำหรับองค์ประกอบของความสำเร็จในการ Feedback ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

1.      ผู้ให้ Feedback ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหัวหน้างานซึ่งต้องมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการ Feedback เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องรู้จักนิสัย ใจคอ ลักษณะส่วนบุคคลของลูกน้องด้วยว่าเขามีสินัยอย่างไร สุดท้ายต้องมีความจริงใจ และอดทนที่จำให้ Feedback กับลูกน้อง สำหรับผมแล้วมักคิดว่า เราให้ Feedback เพื่อพัฒนาเขา เขาดีขึ้น เราก็ดีใจ แถมได้บุญอีกต่างหาก และในปัจจุบัน การ Feedback นี้ถือเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานทุกคนด้วยนะครับ เพราะถือว่าเป็นการพัฒนาพนักงานในหน่วยงานของเรานั่นเอง

2.      ผู้รับการ Feedback ต้องยอมรับความจริง และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งใดจริง เป็นประโยชน์ก็ไม่เสียหายไม่ใช่เหรอ? ถ้าเราจะรับฟัง และนำมาปรับปรุงตัวเราจริงไหมครับ? แต่ถ้าสิ่งใดที่เราคิดว่าไม่จริง หรือเราไม่เห็นด้วย เราก็มีสิทธิแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรง ด้วยความสุภาพ จริงไหมครับ?

3. กระบวนการ Feedback ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนดังที่กล่าวมา โดยทั้งผู้ให้ และผู้รับการ Feedback ต้องมีความเชื่อว่าสิ่งที่เรา Feedback นั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นประโยชน์ ไม่ได้เป็นการจับผิด หรือจ้องจะแจกใบเตือน หรือทำร้าย ไล่ออก แต่เป็นการหาแนวทางในการพัฒนาร่วมกัน เพื่อทำให้พนักงานก็สบายใจ งานก็เดินราบรื่น

สุดท้ายขอฝากอีกนิดว่า Feedback จะสำเร็จได้ ต้องอาศัยความรัก ความร่วมมือ และความจริงใจ ซึ่งถ้าทั้งหัวหน้า และลูกน้องมีทั้งหมดที่กล่าวมานี้ รับรองได้เลยครับว่า ความสุข ความสำเร็จ ความสบาย ก็อยู่แค่เอื้อมมือของพวกเรานี่เองละครับ... 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM) article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com