ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




10 ข้อคิดที่ห้ามพลาด จากคณะกรรมการตัดสิน

 10 ข้อคิดที่ห้ามพลาด จากคณะกรรมการตัดสิน  

เขียนโดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

www.bt-training.com

 

            ตอนที่แล้วเราได้เรียนรู้หลักง่ายๆ 5 ข้อ  น่าสนใจ มีที่ไปที่มา ใช้เวลาเหมาะสม ระดมสมองถูกต้อง และสอดคล้องกับ PDCA  กันไปแล้ว ในตอนนี้ ผมขอเพิ่มเติมอีกนิด เพื่อความสมบูรณ์ และเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเตรียมตัวเข้าประกวด กิจกรรมการปรับปรุงงาน โดยตอนนี้จะเขียนจากมุมมองของกรรมการตัดสิน ซึ่งเป็นประโยชน์มากๆ ต่อผู้ที่เข้าแข่งขันประกวดทุกท่าน

ก่อนที่เราจะส่งผลงานเข้าประกวดเราก็ต้อง ทำความเข้าใจก่อนว่า หัวข้อที่กรรมการจะใช้ประเมินนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งแต่ละบริษัทอาจมีความแตกต่างกันบ้าง แต่ก็จะมีหัวข้อหลักๆ ที่คล้ายกัน ดังนี้ครับ

1.      1. แนะนำกลุ่ม ควรแนะนำให้ครบถ้วน สั้น กระชับ เช่น ชื่อสมาชิก ตำแหน่ง คำขวัญ กลุ่ม เป็นต้น

2.    2. การตั้งหัวเรื่องของปัญหา หรือสิ่งที่ทำ ควรมีความถูกต้อง ชัดเจน และมีกรอบระยะเวลาที่สามารถวัดได้ โดยส่วนใหญ่ จะใช้หลัก SMART Target คือ เช่น ต้องการลดของเสีย จากปัญหารอยขีดข่วน งาน Model 7254 ที่แผนกตัด จาก 150 ชิ้นต่อเดือน ให้เหลือ 100 ชิ้น/เดือน เป็นต้น

3.  3. การนำเสนอข้อมูลที่มาของปัญหา  ควรแสดงที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน เช่น รายงานของเสียรอยขีดข่วนจากแผนกตรวจสอบคุณภาพเก็บรวบรวมย้อนหลัง 3 เดือน เป็นต้น เครื่องมือที่นิยมใช้คือ ตารางแสดงข้อมูล (Check sheet) พาเรโต้น (Pareto) และ กราฟ (Graph) ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับการนำเสนอข้อมูลด้วยนะครับ

4.   4. แผนการดำเนินงาน ควรแสดงให้ครบถ้วนตั้งแต่การกำหนดปัญหา หรือการตั้งกลุ่ม (แล้วแต่บริษัท) ไปจนถึงการกำหนดมาตรฐานการดำเนินงาน ซึ่งเครื่องมือที่นิยมใช้คือ แผนภูมิแกนท์ (Gantt Chart) ซึ่งจะต้องแสดงให้ครบทั้ง PDCA หรือ Deming Circle)

5.  5. การวิเคราะห์สาเหตุ ควรแสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้หลัก 5 GEN (พื้นที่จริง (GENBA)  ของจริง (BENBUTSU)  สถานการณ์จริง (GENJITSU) หลักการและทฤษฎี (GENRI) ระเบียบกฏเกณฑ์ (GENSOKU)) คือ ต้องไปดูของเสียจริงๆ ก่อนที่จะมานั่งวิเคราะห์หาสาเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเครื่องมือหนึ่งที่ผมนิยมใช้คือ แผนภูมิต้นไม้ (Tree diagram) การวิเคราะห์โดยใช้หลัก (Why Why analysis) และ การใช้ Affinity Diagram

6.     6.   การกำหนดวิธีการแก้ไข และป้องกันการเกิดซ้ำ ควรสอดคล้องกับข้อ 5 คือ สาเหตุ ควรเป็นการแสดงถึงการป้องกันการเกิดซ้ำ (Preventive action) และควรเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น จัดทำคู่มือ จัดการฝึกอบรม และสอบวัดความรู้ จัดทำมาตรฐาน สร้างระบบป้องกัน ติดตั้งระบบเตือน เป็นต้น ซึ่งผู้นำเสนออาจจัดทำเครื่องมือ หรืออุปกรณ์จำลองเพื่อแสดงประกอบก็จะดีมากๆเลยนะครับ ทำให้กรรมการเข้าใจได้ง่าย และเล็งเห็นในความทุ่มเท และตั้งใจอีกด้วยครับ

  

7.     7.   แสดงผลลัพธ์ ไม่ว่าจะบรรลุเป้าหมาย หรือไม่ก็ต้องแสดงนะครับ ส่วนใหญ่จะแสดงออกเป็นสองส่วนคือ หนึ่ง ผลทางตรง เช่น การเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นหลังการดำเนินกิจกรรม กับเป้าหมาย ซึ่งควรแสดงออกให้ชัดเจน เปรียบเทียบออกมาเป็นตัวเลข และเปอร์เซ็นต์ (สำหรับกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมา ต้องอธิบายปัญหา หรือสิ่งที่ทำให้เราไม่บรรลุเป้าหมาย และเราจะแก้ไข หรือป้องกันอย่างไรต่อไป เพื่อทำให้เราบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้) สอง ผลทางอ้อม เช่น ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมที่เพิ่มมากขึ้นของสมาชิกในทีม การให้ความร่วมมือ ความสามัคคี ความรู้ในการปรับปรุงงาน ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือบริหารคุณภาพ นอกจากนี้ยังอาจอธิบายถึง การนำไปขยายผลให้กับหน่วยงาน หรือแผนกอื่นๆ ก็จะได้คะแนนเพิ่มอีกด้วยนะครับ

8.   8. การกำหนดมาตรฐาน กรณีที่บรรลุเป้าหมาย ควรนำวิธีการแก้ไข หรือป้องกันการเกิดซ้ำในข้อ 6 มากำหนดเป็นมาตรฐานการดำเนินการแก้ไข เช่น กำหนดใน WI (Work Instruction)  หรือ สร้างมาตรฐานการปฏิบัติ (Standardization) เป็นต้น

9.       9. แผนงานในอนาคต ซึ่งผมแนะนำว่า ควรนำพาเรโต้ ที่เรานำเสนอในข้อ 2 เรื่องนำเสนอข้อมูลที่มาของปัญหามาแสดง แล้วจากนั้นก็เลือกปัญหาที่ได้คะแนนเป็นลำดับที่สอง มาเป็นหัวข้อในการดำเนินกิจกรรมในอนาคต อย่างนี้กรรมการชอบแน่ๆ

10. 10. เวลา ควรนำเสนอภายในเวลาที่กำหนด ห้ามเกินนะครับ เพราะจะกระทบต่อการนำเสนอของทีมต่อไป และอาจจะโดนตัดคะแนนเอาง่ายๆ ผมแนะนำว่า ต้องซ้อมเยอะๆ และนำเสนอเฉพาะหัวใจจริงๆ น้ำ หรือลูกเล่น เอาไว้ก่อนก็ได้ครับ

 

 

เมื่อมุมมอง 10  ข้อของกรรมการอย่างละเอียดแล้ว ก็ลองนำไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ รับรองได้ว่า ถ้าท่านนำแนวคิดจากประสบการณ์ของผมไปต่อยอด และปรับปรุง แล้วละก็ โอกาสที่ท่านจะประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัลชนะเลิศในเวทีประกวดการแข่งขันกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพงาน อยู่แค่เอื้อมเท่านั้นเอง โชคดีนะครับ 

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM) article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com