ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ ทำได้แค่เปลี่ยนความคิดนิดเดียว

คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ ทำได้แค่เปลี่ยนความคิดนิดเดียว

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook: BT CORPORATION CO., LTD. , Thongpunchang Pongvarin

*********************************************************************************************************************************************************************************

สวัสดีครับทุกท่านเมื่อสัปดาห์ก่อนผมได้มีโอกาสไปบรรยายหลักสูตร การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ภาคปฏิบัติงาน และระหว่างที่บรรยายผมได้ปิ๊งแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพ รามาอ่านกันเลยนะครับ

 

ปัจจัยที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการต่อความอยู่รอด และการเจริญเติบโตขององค์กร คือ คุณภาพ (quality) และต้นทุน (cost) จากประสบการณ์ในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่เป็นหัวหน้างาน ผู้จัดการ วิทยากร ทำให้ได้มีโอกาสสัมผัสกับพนักงานระดับปฏิบัติการ และผู้บริหารทุกระดับ ทำให้ทราบถึงความเข้าใจผิดบางประการ เกี่ยวกับคุณภาพ และการผลิตสินค้า ซึ่งมี 4 ข้อดังนี้ครับ

1.       การที่เราผลิตของเสีย (defect) พนักงานปฏิบัติงานผิดพลาด (human error) และ การแก้ไขงาน (rework) เป็นเรื่องธรรมดา เพราะโรงงานไหนๆ ก็มีของเสียด้วยกันทั้งนั้น

ก็อาจจะใช่ แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าเราไม่ผลิตของเสีย ตั้งใจทำงานให้ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด เพื่อทำให้การแก้ไขงานเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่พวกเราทุกคนจะสามารถทำได้ ลองเปรียบเทียบระหว่างบริษัทของเราที่มีของเสียมากกว่า มีพนักงานที่ทำงานผิดๆ พลาดๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก บ่อยมากๆ ถึงมากที่สุด และพบปัญหาการแก้ไขงานเกิดทุกวัน แต่คู่แข่งของเรากลับตรงกันข้ามเลย คือ เขามีปริมาณของเสียน้อยนิด พนักงานทำถูกทุกครั้ง และการแก้ไขงานแทบหาไม่เจอ ลูกค้าจะอยากซื้อสินค้าของบริษัทไหน และบริษัทไหนจะมีต้นทุนสูงกว่ากัน และบริษัทไหนมีโอกาสปิดกิจการก่อนกัน

 

2.       การปรับแต่งเครื่องจักรบ่อยๆ (machine adjustment) จะช่วยทำให้มั่นใจว่างานเรามีคุณภาพสูง

ก็อาจจะใช่ แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าเราปรับแต่งเครื่องจักรให้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก ครั้งเดียว ให้ดีที่สุดเลย จะดีกว่านะครับ หรือ Do it Right at First Time เราเอาเวลาที่เสียไปกับการปรับแต่ง การตรวจสอบเพื่อยืนยันผลการตรวจสอบนั้น มาผลิตสินค้าจะดีกว่าจริงไหมครับ ลองคิดดูเล่นๆ นะครับ ถ้าบริษัทของเราปรับแต่เครื่องจักร 3 ครั้ง ใช้เวลารวม 20 นาที กว่าจะเริ่มผลิตสินค้าได้ แต่คู่แข่งเราปรับแต่งเครื่องจักรเพียงครั้งเดียว และใช้เวลาแค่ 5 นาที บริษัทไหนจะมีเวลาในการผลิตมากกว่ากัน?

 

3.       ผู้ที่แม่นสเป็ก (spec) หรือข้อกำหนดของลูกค้า (customer requirement) มากที่สุดคือ พนักงานแผนกควบคุมคุณภาพ (QC: Quality Control Circle)

ก็อาจจะใช่ แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าพนักงานฝ่ายผลิตมีความรู้อย่างแม่นยำเกี่ยวกับสเป็กของสินค้าพอๆ กับพนักงานแผนกตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ เราต้องเข้าใจตรงกันก่อนนะครับว่า

“คุณภาพสินค้าเกิดจากคนทำ ไม่ได้เกิดจากคนตรวจสอบ”

ซึ่งหมายถึง คุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้นั้นเกิดจากคนที่ทำการผลิต ซึ่งก็คือนพนักงานฝ่ายผลิตนั่นเอง ส่วนพนักงานตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ เขาเพียงแค่ตรวจสอบสิ่งที่เกิดจากการผลิตมาแล้ว ดังนั้นจะดี จะเสีย เขาก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แค่บอกเราว่า เกิดของเสียแล้วนะ แล้วฝ่ายผลิตก็ต้องไปแก้ไข ปรับปรุง กระบวนการผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นมานั่นเองครับ ลองคิดดูนะครับว่าถ้าพนักงานฝ่ายผลิตมีความรู้เรื่องสเป็กของสินค้าอย่างแม่นยำ และมีการตรจสอบชิ้นงานที่กำลังผลิตอยู่ตลอดเวลา ทำตัวเหมือนักบพนักงานคิวซี (self-qc) ก็จะทำให้รู้สถานะการผลิต ณ เวลานั้นว่า ตอนนี้มีชิ้นงานเสีย หรือไม่ตรงสเป็กหรือไม่ และถ้าโชคร้ายเกิดพบของเสียระหว่างการผลิต ก็จะได้ตัดสินใจหยุดการผลิต เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ทันเวลา ซึ่งจะทำให้ปริมาณของเสียที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นมีน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตที่ไม่มีการตรวจสอบสินค้าระหว่างที่มีการผลิตเลย หรือเรียกง่ายๆก็คือ ผลิตแล้วไปวัดดวงที่พนักงานแผนกคิวซีนั่นเองครับ

 

4.       ถ้าพนักงานคิวซีตรวจงานแล้วไม่พบของเสีย นั่นแสดงว่าสินค้าที่เราผลิตนั้นมีแต่งานดี

ก็อาจจะจริง แต่อย่าลืมนะครับว่า พนักงานตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ เขาไม่ได้ตรวจสอบชิ้นงานทุกชิ้น หรือตรวจ 100 เปอร์เซ็นต์นะครับ เขาเพียงแค่สุ่มตรวจสอบเท่านั้น ขอยกตัวอย่างนะครับ สมมติว่าเราผลิตชิ้นงาน 1,000 ชิ้น มีของเสีย 2 ชิ้น และพนักงานคิวซีสุ่มตรวจสอบไม่พบ และส่งไปให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้านำชิ้นงานเข้าสู่กระบวนการผลิต แล้วพบว่ามีชิ้นงาน 2 ที่ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ซึ่งแน่นอนเป็นเรื่องใหญ่แน่ๆ ดังนั้นต้องช่วยกันทำงานให้ดีทุกชิ้นนะครับ

และจากผลลัพธ์ของความคิดทั้งสี่ข้อส่งผลกระทบต่อบริษัท ได้แก่

·       บริษัทเสียค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิตของเสีย ได้แก่ เสียเวลา เสียค่าแรง เสียวัตถุดิบ เสียโอกาสในการผลิต และเสียความเชื่อมั่นจากลูกค้า

·        พนักงานอาจจะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้

·        เสียเวลาในการผลิต การผลิตหยุดชะงัก เกิดการรอคอย การว่างงาน

·        เสียวัตถุดิบ เพราะต้องนำมาทดสอบระหว่างที่มีการปรับแต่งเครื่องจักร

·        ส่งงานไม่ทัน

·        ลูกค้าอาจหยุดไลน์การผลิต เพราะรอสินค้าจากบริษัทของเรา

·        ลูกค้าขึ้นบัญชีดำ (black list) และหักคะแนน ส่งผลทำให้ผลการประเมินต่ำ

·        ลูกค้าลดคำสั่งการผลิตลง

·        ขาดโอกาสในการได้รับสินค้ารุ่นใหม่ (new model) จากลูกค้า

 

จากแนวคิดทั้ง 4 ข้อ และผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงเป็นแนวทางในการปลูกฝังจิตสำนึกคุณภาพให้เกิดขึ้นจริงในบริษัทของเรานะครับ สุดท้ายขอฝากคมคิดสะกิดใจที่ว่า “คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ คือ 2 ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรในยุคอุตสาหกรรม 4.0” โชคดีนะครับ

 

 

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ Www.bt-training.com ครับ




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM) article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com