ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




3 ความรู้ที่ขาดไม่ได้สำหรับคณะกรรมการไคเซ็น article

3 ความรู้ที่ขาดไม่ได้สำหรับคณะกรรมการไคเซ็น

วันที่เขียน 7 กุมภาพันธ์ 2558 เขียนโดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ 

 www.bt-training.com  Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile.089-8118340

 สวัสดีครับทุกท่าน สัปดาห์นี้ผมมีแนวคิดที่สำคัญที่ได้จากการไปบรรยายหลักสูตร “การดำเนินกิจกรรมไคเซ็นสำหรับคณะกรรมการ” ให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง โดยนำประสบการณ์จากการที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมเป็นกรรมตัดสินกิจกรรม ไคเซ็นและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง และพัฒนางานให้กับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ปตท. จำกัด (มหาชน) F&N และบริษือื่นๆ อีกหลายแห่ง สำหรับประเด็นสำคัญที่นำเสนอ คือ ความรู้ 3 ประการที่สำคัญสำหรับคณะกรรมการไคเซ็น มีดังนี้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมไคเซ็น 2. ความรู้เกี่ยวกับการให้คำแนะนำ และ 3. ความรู้เกี่ยวกับการประเมิน ซึ่งขออธิบายขยายรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ

1.   ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมไคเซ็น

      ไคเซ็น  (KAIZEN) เป็นภาษาญี่ปุ่นหมายถึง  “การเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น” โดยเป็นการปรับปรุงการปฏิบัติงานประจำวันทีละเล็ก ละน้อย แบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องใช้เงินทุนมากมายอะไรนัก เน้นให้ผู้ปฏิบัติงานปรับปรุงการปฎิบัติงานของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์หลักสองประการประการที่ 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เช่น คุณภาพสูงขึ้น ต้นทุนต่ำลง ความปลอดภัยสูงขึ้น จำนวนอุบัติเหตุลดน้อยลง ขวัญกำลังใจ การส่งมอบตรงเวลามากยิ่งขึ้น สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานดีขึ้น เป็นต้น และ วัตถุประสงค์ประการที่ 2. ส่งเสริมให้พนักงานได้คิด และปรับปรุงงานของตนเอง จนเกิดความรัก และความผูกพันกับงานที่ทำ สำหรับเครื่องมือที่นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมไคเซ็น มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น 5ส. QCC POKA YOKE Visual Control เป็นต้น 

      สำหรับสองแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน แนวทางแรก คือ เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงเรื่องที่ไม่ดี หรือสิ่งที่เป็นปัญหาให้ดียิ่งขึ้น เช่น ปัจจุบันทำงานช้า ส่งสินค้าไม่ทันเวลา เราก็ปรับเปลี่ยนขั้นตอนทำให้การทำงานเร็วขึ้น และแนวทางที่สองคือ เสนอแนะเรื่องที่ดีอยู่แล้วในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น เช่น ปัจจับันเราก็ส่งสินค้าได้ทันเวลา ไม่ได้รับข้อร้องเรียน แต่เราก็เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง ที่ทำให้เราสามารถผลิตสินค้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาในการปฏิบัติเป็นต้น 

2. ความรู้เกี่ยวกับการให้คำแนะนำ

       คณะกรรมการต้องมีความเข้าใจหลักการในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรมไคเซ็นอย่างลึกซึ้ง โดยเริ่มตั้งแต่ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาภาพการปฏิบัติงานจริง การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา การเสนอแนะทางในการปรับปรุง และการประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับปรุงงาน ซึ่งคณะกรรมการควรสามารถแนะนำวิธีการเขียนที่ถูกต้อง เช่นควรแปลงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข ไม่ใช้ความรู้สึก เช่น “ผลลัพธ์ที่ได้คือ ทำงานเร็วขึ้น” เราก็ควรเปลี่ยนเป็น “เร็วขึ้น 30 นาที/วัน ลดค่าใช้จ่ายได้ 250 บาท/วัน” เป็นต้น  สำหรับข้อเสนอแนะที่ไม่สามารถแปลงเป็นตัวเงินได้ แต่เป็นประโยชน์เช่น การลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ลดความเสี่ยง เพราะก็เป็นประโยชน์เหมือนกัน โดยอาจพิจารณาเป็นจำนวนครั้งที่ลดลง หรือการลดโอกาสในการเกิดเป็นต้น 

นอกจากนี้คณะกรรมการยังต้องสามารถแนะนำอีกด้วยว่า ข้อเสนอนั้น เข้าเกณฑ์หรือไม่ หรือควรปรับเปลี่ยนการเขียนอย่างไร? ตัวอย่างข้อเสนอแนะที่ไม่ได้รับการพิจารณา สำหรับการพิจารณาหัวข้อนั้น เรามีหลักง่ายๆ 2 ข้อ ข้อแรกคือ ความจำเป็น หมายถึง โดยตั้งคำถามว่า “เรื่องนี้จำเป็นต้องทำไหม?” ถ้าตอบว่าจำเป็นต้องทำ ก็ผ่าน  เรื่องที่จำเป็นต้องทำ โดยส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ต้นทุน คุณภาพ ความปลอดภัย การส่งมอบ สภาแวดล้อม เป็นต้น และข้อที่สอง ความคุ้มค่า โดยพิจารณาว่า เรามีความสามารถที่จะใช้เงินเพื่อทำสิ่งนั้นๆได้ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “จะคุ้มไหมถ้าใช้เงินกับเรื่องนี้”   เช่น การวิจารณ์แผนกอื่น หรือผู้อื่น ใช้ค่าใช้จ่ายสูง การลอกผลงานของผู้อื่น การซื้อเครื่องจักรใหม่ ใช้หุ่นยนต์ที่มีราคาสูง หรือสร้างโรงงานใหม่ เป็นต้น ซึ่งโอกาสที่จำนำสิ่งเหล่านี้ปฏิบัติแทบจะเป็นศูนย์

 3. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผล และพิจารณารางวัล

การที่จะประเมินได้ดี คณะกรรมการต้อง ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเกณฑ์การประเมินผล หรือการพิจารณารางวัล โดยสามารถบอกได้เลยว่าข้อเสนอแนะไหน ควรได้รับรางวัลเท่าไหร่? หรือไม่ควรได้รับรางวัลเลยแม้แต่น้อย ซึ่งก็ต้องมีความรู้ข้อที่สองอย่างดีมาก่อน จากประสบการณ์ที่เคยเป็นกรรมการตัดสินการประกวดกิจกรรมไคเซ็น คิวซีซี Theme Achievement Makikami และกิจกรรมการปรับปรุงงานอื่นๆ ให้กับหลายองค์การตั้งแต่บริษัทระดับประเทศ จนถึงบริษัททั่วไป พบกว่ามีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณารางวัลคล้ายๆ กัน เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ความพยายามในการปรับปรุง ความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ การลดต้นทุน เพิ่มรายได้ หรือความปลอดภัย ความต่อเนื่อง การนำไปขยายผล เป็นต้น

 ถ้าหากคณะกรรมการทุกท่านมีความรู้ทั้ง 3 ข้อนี้อย่างดีเยี่ยมแล้วละก็รับรองได้เลยครับว่าท่านจะเป็นกรรมที่มีความรู้มากที่สุด แนะนำได้ดีที่สุด และมีความยุติธรรมที่สุด ได้อย่างแน่นอนครับ .....

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM)
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com