ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




เลือกเครื่องมืออย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมคิวซีซี

 เลือกเครื่องมืออย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมคิวซีซี

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook:BT-Corporation 

สวัสดีครับทุกท่านบทความในตอนที่แล้วเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมคิวซีซีกันไปเบื้องต้นแล้ว สำหรับตอนนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือคุณภาพ ประกอบการดำเนินกิจกรรมคิวซีซี พร้อมแล้ว เรามาเรียนรู้ร่วมกันเลยนะครับ

 

ในสนามรบ ถ้านักรบแบกเตรียมอาวุธไปแค่เพียง ดาบ กับโล่ห์ เท่านั้น เมื่อถึงเวลาที่เราต้องสู้กับข้าสึกที่เตรียมอาวุธมาพร้อมกว่าเรา เราก็อาจจะเพลี้ยงพล้ำได้ หรืออีกกรณี หนึ่ง คือ เราเตรียมอาวุธไปครบมือ แบกไปเต็มที่เลยทั้ง ดาบสั้น ดาบยาว มีดพก ธนู หอก ทวน โล่ห์ ง้าว พร้อมใช้งานเต็มที่ แต่เมื่อเผชิญหน้ากับข้าศึกจริงๆ แล้ว บางที อาวุธที่มีให้เลือกมาจนเกินไป ก็อาจกลายมาเป็นปัญหาให้เราอีกก็ได้จริงไหมครับ? ดังนั้นดีที่สุดคือ ต้องเตรียมอาวุธไปให้เหมาะสมกับการรบแต่ละครั้ง และที่สำคัญต้องรู้จักใช้เครื่องมือให้คล่องแคล่ว จนเกิดความชำนาญสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทำได้อย่างนี้โอกาสที่เราจะสร้างชื่อในสมรภูมิรบก็จะมีมากเลยทีเดียวจริงไหมครับ?

            หลายครั้งที่ผมไปบรรยายหลักสูตรการดำเนินกิจกรรมคิวซีซี ให้กับทั้งมือใหม่ ไม่เคยทำเลย เพิ่งจะมารู้จักคำว่า การดำเนินกลุ่มกิจกรรมคิวซีซี กันในวันอบรมนั้นเป็นวันแรก กับ ผู้ที่เคยทำกิจกรรมคิวซีซีเข้าประกวดมาแล้วหลายต่อหลายปี ซึ่งผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งสองกลุ่มมักจะมีคำถามเหมือนๆกันว่า

เราจะเลือกเครื่องมือใดบ้าง เพื่อใช้ในการกิจกรรมกลุ่มคิวซีซี?

เพื่อทำให้ได้อย่างเหมาะสมที่สุด

 ปัญหาในการใช้เครื่องมือประกอบการดำเนินกิจกรรมคิวซีซี สำหรับผู้ที่ไม่เคยทำมาเลย คือ ไม่มีความเกี่ยวกับขั้นตอน และวิธีการใช้เครื่องมือ คุณภาพใดๆ เลย จึงไม่รู้ว่า เราควรจะเลือกใช้เครื่องมืออะไร? แต่สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการดำเนินกิจกรรมคิวซีซีมาหลายปี ปัญหาของเขาก็คือ รู้จักเครื่องมือ ทั้ง 14 คือ 7QC Tools แบบเก่า และ New 7 QC Tools แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำกิจกรรมคิวซีซีเข้าจริงๆ ก็เลือกไม่ถูกเหมือนกันว่า จะเลือกใช้เครื่องมือไหนดี หลักง่ายๆ ที่ผมนิยมใช้ทุกครั้งในการเลือกเครื่องมือเพื่อดำเนินกิจกรรมคิวซีซี คือ

 เครื่องมือที่ดี คือ เหมาะสมกับหัวข้อ และ ง่าย ไม่ต้องเยอะ

 สำหรับเครื่องมือที่อย่างน้อยต้องมีในการดำเนินกิจกรรมคิวซีซี มีดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 การนำเสนอหัวข้อ และที่มาของปัญหา

1.       แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet)  เพื่อแสดงรายละเอียดของข้อมูลที่เราเก็บรวบรวมมา ให้กับผู้อ่านได้เห็นว่า เราเก็บข้อมูลมาจริงๆ นะ ไม่ได้คิดขึ้นมาเอง เช่น ข้อมูล ปริมาณของเสียในช่วงเดือนที่ผ่านมา จำนวนอุบัติเหตุ จำนวนของของเสียที่เกิดขึ้น แยกตามผลิตภัณฑ์ หรือ ชนิดของปัญหา

2.       กราฟ (Graph) เพื่อแสดงข้อมูลให้กรรมการเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าตาราง หรือ check sheet กราฟที่นิยมใช้คือ กราฟเส้น กราฟแท่ง กราฟวงกลม และกราฟแบบเรดาร์  (เรื่องเทคนิคการเลือกใช้กราฟ ผมจะเขียนอธิบายภายหลังครับ)

3.       พาเรโต้ (Pareto) เพื่อจัดลำดับของปัญหาให้ได้เห็นว่า หัวข้อที่เราเลือกมานั้นมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เลยนะ ไม่ใช่ว่า นึกอยากจะทำหัวข้ออะไรก็เลือกมาทำ สำหรับแนวคิดของพาเรโต้ นั่นก็คือ ปัญหาหลั 20% จะส่งผลทำให้เกิดปัญหา 80% ดังนั้นเราจึงควรที่จะต้องหาปัญหาหลักๆ ให้ได้ก่อน จึงจะแก้ไข

 ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์สาเหตุ และต้นตอของปัญหา

4.       Affinity Diagram เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการระดมสมองอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (สำหรับผม ผมชอบเครื่องมือนี้มาก) เพื่อทำให้สมาชิกในทีมได้นำเสนอรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา หรือเรื่องที่เราสนใจออกมาเป็นตัวหนังสือ

5.       แผนภูมิ ก้างปลา (Fishbone diagram) หรือแผนภูมิต้นไม้ (Tree diagram) สองเครื่องมือนี้จะนำมาใช้ในการบันทึกรายละเอียดจากการระดมสมอง เพื่อแก้ไขปัญหากันอย่างเป็นระบบ

 ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหา

6.       แผนภูมิ แกนท์ (Gantt chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกรายละเอียดของกิจกรรมที่เราดำเนินการแก้ไข เช่น กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ ระยะเวลาที่ใช้ ผู้รับผิดชอบ และตารางการปฏิบัติ

 ขั้นตอนที่ 4 การสรุปผลการดำเนินกิจกรรมคิวซีซี

7.       กราฟ (Graph) โดยแสดงการเปรียบเทียบผลการแก้ไข ก่อน และหลังการแก้ไขปัญหาอีกครั้ง

 นอกจากเครื่องมือนี้แล้ว อาจมีการประยุกต์ใช้ ฮีสโตรแกรม (Histogram)  แผนภูมิควบคุม (Control chart) ผังการกระจาย (Scatter diagram) หรือ ผังการไหลของงาน (Flow chart) อีกมากมาย ประกอบการดำเนินกิจกรรมคิวซีซี ตามความเหมาะสมของหัวเรื่องที่ทำละครับ ลองนำแนวคิดการเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ และถ้าสงสัย หรือได้ผลอย่างไรอย่าลืมอีเมลล์มาแลกเปลี่ยนกับผมได้ที่ tpongvarin@yahoo.com

สุดท้ายขอฝากคมคิดสะกิดใจว่า เลือกเครื่องมือดี งานมีแต่ราบรื่น เลือกเครื่องพลาด เป้าหมายอาจไกลเกินฝัน” โชคดีนะครับ

 ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ Www.bt-training.com ครับ

 

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้ article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า article
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM)
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com