ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




Easy 7QC Tools ตอนที่ 3 พาเรโต้ (Pareto) (ตอนที่ 2)

 Easy 7QC Tools ตอนที่ 3 พาเรโต้ (Pareto) (ตอนที่ 2)

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation

สวัสดีครับทุกท่าน บทความในตอนที่แล้วเราได้เรียนรู้รายละเอียด และขั้นตอนการจัดทำตารางสำหรับกราฟพาเรโต้กันไปแล้ว บทความในตอนนี้เราจะมาเรียนรู้ขั้นตอนที่ 2 คือ การสร้างกราฟ เพื่อทำให้พาเรโต้เราสมบูรณ์ที่สุด พร้อมแล้ว เริ่มกันเลยนะครับ

 

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างกราฟ พาเรโต้

2.1     ขีดเส้นตรงให้ตั้งฉากกับเส้นบรรทัด ความยาวตามความเหมาะสม แล้วเขียนชื่อหัวข้อด้านบนสุดของเส้น (จากตาราง แสดง Frequency หรือ ความถี่ของปัญหา จากนั้นก็ใส่ สเกลให้เหมาะสม (จากตาราง ช่องละ 10 โดยเริ่มค่าต่ำสุดที่ “0” และค่าสูงสุดที่ “50” เพราะคือค่าผลรวมของปัญหาที่เกิดขึ้น)

2.2     ขีดเส้นตามแนวนอนด้านใต้เส้นแรกจากซ้าย ไปขวา ความยาวตามความเหมาะสม  

2.3     แบ่งช่องที่ขีดไว้จากข้อ 2.2 เพื่อใช้การเขียนกราฟแท่ง โดยที่จำนวนช่องต้องเท่ากับจำนวนหัวข้อในตาราง (จากตาราง แบ่งได้ 3 ช่อง) และระยะห่างระหว่างช่องต้องเท่ากันด้วยนะครับ เพื่อความสวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อย จากนั้นก็เขียนหัวข้อใต้เส้นในแต่ละช่อง (จากตาราง เขียน Broken Blur Scratch)  

2.4     เขียนกราฟแท่งทั้งหมด โดยพิจารณาจากปริมาณความถี่ที่เกิดขึ้น (ดูในช่องที่ 2) จนครบทั้งหมด ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ากราฟแท่งนั้นจะเรียงลำดับกันอย่างสวยงาม โดยแท่งทางซ้ายมือจะมีความสูงที่สุด และไล่เรียงลำดับมาจนถึงแท่งสุดท้าย) โดยอาจระบายสี หรือทำสัญลักษณ์ เพื่อทำให้เห็นความแตกต่างในแต่ละหัวข้อก็จะทำให้กราฟของเรามีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

2.5     ขีดเส้นตรง ตั้งฉากกับเส้นที่เขียนเชื่อหัวข้อปัญหา ให้เส้นชิดกับปลายของเส้นกราฟแท่งสุดท้าย และขนาน และมีความสูงเท่ากับเส้นหัวข้อปัญหา จากนั้นก็ใส่ชื่อ “% สะสม” ด้านบนของเส้น จากนั้นก็แบ่ง และใส่สเกลให้เหมาะสม โดยจุดที่ต้องพิจารณาคือ จุดที่เป็นค่าผลรวม จะต้องเท่ากับ 100% (จากตาราง 50 เท่ากับ 100%)

2.6     ลากเส้นกราฟ % สะสม โดยเริ่มลากเส้นจากจุด “0” ไปยังด้านมุมบนซ้ายมือของกราฟแท่งแรก จากนั้นก็เขียนค่า % สะสม บนจุดนั้น (จากรูป กราฟเส้นสีแดง ลากขึ้นไปจากกราฟแท่งแรก แล้วเขียน 60% ที่มุมบนของแท่งกราฟ  จากนั้นทางซ้ายมือ โดยความสูงคือ 90% และความกว้างเท่ากับความกว้างของแท่งกราฟ และเขียนเลข 90% และสุดท้ายลากเส้นไปชนกับแกน % สะสมที่จุด 100%) แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วละครับ  

 

ขอเพิ่มเติมเทคนิคการประยุกต์ใช้ พาเรโต้ กับ การดำเนินกิจกรรมกลุ่ม คิวซีซี อีกนิดนะครับ จากประสบการณ์ที่เคยได้รับเกียรติไปเป็นกรรมการตัดสินกิจกรรมคิวซีซี จะพบว่า บางกลุ่มอยู่ดีๆ ก็บอกปัญหามาเลย ไม่มีที่มาที่ไปของปัญหา ก่อนที่จะจบการนำเสนออยู่ดีๆ ก็บอกมาเลยว่า จะแก้ปัญหาอะไรต่อไป ซึ่งการนำเสนอนั้นอาจทำให้กรรมการรู้สึกได้ว่า “จะแน่ใจได้อย่างไรว่า สิ่งที่นำเสนอมานั้นเป็นปัญหาที่สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำมาแก้ไขก่อนในตอนนี้  ไม่ใช่การนำเรื่องที่แก้ไขเสร็จแล้วกลับมาเขียนใหม่ และรู้ได้อย่างไรว่าเรื่องที่จะทำต่อไปนั้นมีความสำคัญ”  

 

สาเหตุหนึ่งที่กรรมการอาจมีความคิดแบบนี้ ก็เป็นเพราะเขาไม่รู้ที่มาของการเลือกหัวขอปัญหานั่นเอง ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ เราจึงควรที่จะแสดงแผนภูมิพาเรโต้ให้กรรมการได้เห็น ผมขอยกตัวอย่างนะครับ

ทีมแรก ไม่แสดงที่มาของการคัดเลือกปัญหา อยู่ดีๆ ก็บอกว่า  “ปัญหาที่ต้องการแก้ไขคือ Broken………. และก่อนจะการนำเสนอก็พูดว่า หัวข้อต่อไปที่จะทำการแก้ไข คือ Blur

ทีมที่สอง เริ่มโดยแสดงพาเรโต้ให้กรรมการเห็น แล้วก็ค่อยๆ อธิบายว่า “จากการเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณของเสียจากฝ่ายผลิต ในเดือน มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา พบสินค้าเสียหายจำนวน 50 ชิ้น โดยมีหัวข้อปัญหาทั้งหมด 3 หัวข้อ ได้แก่ Broken Blur และ Scratch ซึ่งทีมของเราได้คัดเลือก Broken เพราะ เป็นปัญหาที่มีความถี่สูงสุด เท่ากับ 30 ชิ้น หรือ 60% และก่อนจบการนำเสนอ ก็เปิดรูป พาเรโต้นี้อีกครั้งแล้วอธิบายว่า ปัญหาที่ต้องการแก้ไขในครั้งต่อไปคือ “Blur” เพราะเป็นปัญหาที่มีความถี่รองลงมา...

ขอถามเล่นๆ นะครับว่า จากตัวอย่างการนำเสนอของทั้ง 2 ทีมนี้ ถ้าท่านเป็นกรรมการท่านจะให้คะแนนความน่าเชื่อถือกับทีมไหนมากกว่ากัน?

เห็นประโยชน์ของการนำพาเรโต้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติกันแล้วก็อย่าลืมนำไปใช้กันด้วยนะครับ

 

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ www.bt-training.com

Facebook/fanpage: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM)
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com