ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 4 ฮีสโตแกรม (Histogram) (ตอนที่ 1)

 

Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 4 ฮีสโตแกรม (Histogram) (ตอนที่ 1)

 

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

 

facebook: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation

**********************************************************************************************

 

สวัสดีครับทุกท่าน หลังจากที่เราได้เรียนรู้ แผ่นตรวจสอบ (check sheet) กราฟ (graph) และพาเรโต้ (pareto) ในตอนนี้เราจะมาเรียนรู้ เครื่องมือที่ 4 คือ ฮีสโตแกรม (histogram) กันต่อเลยนะครับ

 

 

 

ฮีสโตรแกรม (Histogram) หรือ แผนภูมแท่งลำดับการกระจาย เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับการใช้งานของข้อมูลที่สามารถวัดได้ในเชิงปริมาณ เช่น ความยาว น้ำหนัก ความหนา แนวคิดที่สำคัญของฮีสโตรแกรม คือ 1. ข้อมูลมีการกระจายตัว แนวโนน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง หรือค่ามาตรฐานที่เรากำหนด และ 2. ขอบเขตการกระจายตัวของข้อมูลที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจมีความผันผวน หรือมีค่าที่ไม่เท่ากัน ซึ่งความไม่เท่ากันนั้นอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่นเกิดจากปัจจัยการผลิต วัตถุดิบ พนักงาน เครื่องจักร หรือสภาพแวดล้อม เช่น อุณภูมิ ความชื้น ในการปฏิบัติงาน เป็นต้น

 

 ยกตัวอย่างจากรูปด้านซ้ายมือ น้ำหนักมาตรฐานในการบรรจุที่เรากำหนดไว้คือ 10 กรัม แต่เป็นเรื่องยากที่เราจะทำให้สินค้ามีน้ำหนักเท่ากันทุกกล่อง ดังนั้น เราจึงอาจจะมีค่าที่ยอมรับได้ คือ อาจจะต่ำกว่า หรือสูงกว่า ค่าที่เรากำหนดไว้ เล็กน้อย ยกตัวอย่าง เช่น จากตัวอย่าง มาตรฐานที่เรากำหนดไว้คือ  10 กรัม เรา อาจมีค่า ± 0.5 กรัม ดังนั้นน้ำหนักของที่บรรจุในกล่องจะต้องอยู่ระหว่าง 9.5 ถึง 10.5 กรัม ซึ่งถ้าหากน้ำหนักสินค้าที่เราบรรจุน้อยกว่า 9.5 กรัม หรือมากกว่า 10.5 กรัมแล้วละก็สินค้าที่ผลิตนั้นก็จะถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งต้องทำการแก้ไข ซึ่งเราต้องเสียเวลา เสียวัตถุดิบ เสียค่าแรงงาน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มที่ไม่ควรจะเสีย

 

 ถ้าหากเราพิจารณาจากรูปด้านขวามือจะพบว่ามีกราฟอยู่ 4 เส้น ซึ่งได้มาจากการคำนวนค่าเฉลี่ย  โดยกราฟแต่ละเส้นเกิดจากการวัดค่าที่ได้จากตัวอย่างที่เรานำมาเป็นตัวแทนของสินค้าทั้งหมด หรือสุ่มมา ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

 

กราฟเส้นที่ 1 เส้นยอดเยี่ยม เพราะ น้ำหนักของสินค้าที่เราเก็บรวบรวมมานั้นอยู่ในมาตรฐานทั้งหมดทุกกล่อง ซึ่งกราฟเส้นนี้คือความฝันของการผลิตสินค้า เพราะไม่มีของเสียเกิดขึ้นเลย

 

กราฟเส้นที่ 2 เส้นเริ่มแย่ เพราะ น้ำหนักของสินค้าส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่มีบางส่วนเท่านั้นไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเราต้องรีบปรับปรุงแก้ไขมิเช่นนั้นอาจจะกลายไปเป็นเหมือนกราฟเส้นที่ 3

 

กราฟเส้นที่ 3 เส้นครึ่งๆ กลางๆ  เพราะ น้ำหนักสินค้าครึ่งหนึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และอีกครึ่งหนึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งถ้าไม่รีบแก้ไข จะกลายเป็นเหมือนกราฟเส้นที่ 4

 

กราฟเส้นที่ 4 เส้นหายนะ เพราะ น้ำหนักสินค้าส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐาน โดยมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ สินค้าของท่านส่วนใหญ่ เหมือนกับกราฟแบบใด ลองทบทวนกันดูนะครับ สำหรับบทความในตอนนี้เรามาเรียนรู้กันเรื่องการกระจายของข้อมูล ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของฮีสโตแกรมกันก่อน สำหรับบทความตอนหน้าเราจะมาเรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำฮีสโตรแกรมกันทั้งหมดเลย ติดตามอ่านตอนต่อไปนะครับ

 

 

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ www.bt-training.com

 

Facebook/fanpage: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM)
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com