ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 4 ฮีสโตแกรม (Histogram) (ตอนที่ 2)

 Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 4 ฮีสโตแกรม (Histogram) (ตอนที่ 2)

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation

*************************************************************************************************************************

สวัสดีครับทุกท่าน บทความในตอนที่แล้วเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ฮีสโตแกรม และการกระจายของข้อมูลกันไปแล้วนะครับ สำหรับตอนนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการจัดทำฮีสโตแกรม ด้วยวิธีการง่ายๆ แต่ได้ผลงดงาม พร้อมแล้วเริ่มศึกษากันเลยนะครับ   

 

 ขั้นตอนการส้ราง ฮีสโตแกรม มีดังนี้

        1.  รวบรวมข้อมูลที่เราสนใจ เช่น น้ำหนักของสินค้าที่บรรจุ ความหนาของการชุบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ความยาวของสกรู เป็นต้น ซึ่งต้องเป็นค่าที่วัดออกมาได้เป็นตัวเลข โดยรวบรวมให้ได้อย่างน้อย 50 ถึง 100 ข้อมูล เช่น รสุ่มชั่งน้ำหนักของกล่องบรรจุอาหารแมวจำนวน 10 วัน วันละ 10 กล่อง รวมข้อมูลที่ได้ทั้งสิ้น 100 ข้อมูล

        2.  หาค่าที่น้อยที่สุด และมากที่สุดจากข้อมูลทั้งหมด ตัวอย่าง ได้ค่าต่ำสุดเท่ากับ 8.00 และค่าสูงที่สุดเท่ากับ 12.00

        3.  หาผลต่างระหว่างค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ซึ่งเราเรียกว่า “ค่าพิสัย (range) จากตัวอย่างเท่ากับ 5.0  (12.00 – 8.00)

        4.  หาจำนวนชั้น (ส่วนใหญ่จะประมาณ 6-25 ชั้น) ซึ่งมีหลายวิธี ได้แก่ 1. วิธีคำนวนโดยใช้สูตร จำนวนชั้น = 1+3.3 log10N  2. กำหนดเลยว่า 10 ชั้น ซึ่งวิธี  หลังนี้ก็ง่ายดีนะครับ ไม่ต้องคำนวนให้ยุ่งยาก

       5.  หาความกว้างของแต่ละชั้น

         ได้จากสูตร จำนวนชั้น = (ค่าสูงสุด – ค่าต่ำสุด)  ÷  จำนวนชั้น      จากตัวอย่าง จำนวนชั้น = (12.0 - 8.0) ÷  10  = 0.5 

       6. สร้างตารางความถี่ บันทึกข้อมูลในแต่ละช่อง และรวบรวมความถี่ที่มีในแต่ละช่วง (ตารางซ้ายมือ) ถ้าหากเราพิจารณาคร่าวๆ ตามคะแนนความถี่ในแต่ละช่อง จะเห็นภาพฮีสโตแกรมในลักษณะแนวนอนได้อย่างชัดเจน

       7. จัดทำตารางฮีสโตแกรมให้ส่วยงาม และใส่เส้นระฆังคว่ำเพื่อทำให้ทราบแนวโน้มของข้อมูล (รูปขวามือ)  ซึ่งจากตัวอย่างจะเห็นว่า ข้อมูลมีแนวโน้มที่จะมีค่าต่ำกว่า 10 ซึ่งจากข้อมูลนี้เราก็จะสามารถนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้น้ำหนักของสินค้าที่บรรจุมีแนวโน้มไปในช่วงน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน  และเราจะได้นำไปแก้ไขต่อไป

 

ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ฮีสโตแกรมจะมีหลายลักษณะเช่น การกระจายที่ดี การกระจายที่อยู่นอกเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งต่ำกว่า หรือสูงกว่า การกระจายแบบภูเขา 2 ยอด การกระจายแบบฟันเลี่อย หรือลักษณะผาชัน ซึ่งการกระจายของแต่ละลักษณะนั้น จะบ่งบอกถึงสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเราจะนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดนั้นไปใช้ประกอบการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไปครับ

 

นี่เป็นวิธีการสร้างฮีสโตแกรมแบบ ที่ไม่ต้องยุ่งกับการคำนวนมากมายอะไร ซึ่งน่าจะเหมาะกับผู้ที่ไม่ค่อยชอบการคำนวนนะครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเครื่องมือนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านอย่างแน่นอน ลองนำไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ และถ้าหากมีข้อสงสัย หรือต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่งอีเมลล์มาพูดคุยกันได้นะครับ.....

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ www.bt-training.com

Facebook/fanpage: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation

 

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM)
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com