ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 5 แผนภูมิเหตุ และผล หรือผังก้างปลา (Cause and Effect Diagrams หรือ Fish Bone Diagrams)

 Easy 7QC Tools เครื่องมือที่ 5 แผนภูมิเหตุ และผล หรือผังก้างปลา (Cause and Effect Diagrams หรือ Fish Bone Diagrams) (ตอนที่ 1)

โดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation

******************************************************************************************************

         สวัสดีครับทุกท่าน บทความตอนนี้ผมได้นำความรู้ และประสบการณ์จากการที่ได้พบเห็นการใช้แผนภูมิก้างปลา จากการไปบรรยายหลักสูตรเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา และการดำเนินกิจกรรมกลุ่มเพื่อปรับปรุงงาน และการได้รับเกียรติเป็นกรรมการตัดสินกิจกรรมปรับปรุงงานให้กับองค์การ และบริษัทต่างๆ มาแลกเปลี่ยน เพื่อเป็นแนวคิดในการนำแผนภูมิก้างปลาไปใช้ให้ถูกต้อง และเกิดประโยชน์สูงที่สุด พร้อมแล้วเริ่มศึกษากันเลยนะครับ

 

แผนภูมิเหตและผล หรือ แผนภูมิก้างปลา (Cause and Effect Diagrams หรือ Fish Bone Diagrams) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้นๆ เพื่อใช้ประกอบการแก้ไขปัญหา ปัญหาส่วนใหญ่ที่มักจะเกิดขึ้น และวิธีการแก้ไข ในการประยุกต์ใช้แผนภูมิก้างปลา ได้แก่

     1.  ตั้งหัวปัญหาไม่ชัดเจน หรือปัญหากว้างเกินไป

สาเหตุ ไม่เข้าใจการกำหนดหัวเรื่องของปัญหา

ส่งผลทำให้ การวิเคราะห์สาเหตุใช้เวลานาน และรายละเอียดมากเกินไป

วิธีการแก้ไข กำหนดหัวข้อของปัญหาให้ชัดเจน ประเด็นเดียว เช่น

หัวข้อที่ไม่ดี แก้ไขปัญหาของเสีย  (ของเสียมีเยอะ หลายประเภท สาเหตุจึงมีมากมาย แก้ไขให้จบได้ยาก)

หัวข้อที่ดี    แก้ไขปัญหารอยขีดข่วน ด้านมุมบนขวามือ ของชิ้นงาน GT1129 ที่ไลน์ AS1 (รู้ได้ทันทีว่าจะแก้ไขปัญหาอะไร ลักษณะอาการแบบไหน บริเวณใด ที่แผนกไหน)

2. การค้นหารายละเอียดที่เป็นสาเหตุของปัญหาไม่ครบถ้วน

สาเหตุ ไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริง หรือขาดการเข้าไปตรวจสอบสภาพจริงของปัญหา

ส่งผลทำให้ ขาดรายละเอียดที่สำคัญ หรือรายละเอียดที่เป็นต้นตอของปัญหาที่แท้จริงปัญหาจึงเกิดซ้ำแล้ว ซ้ำอีกๆ

วิธีการแก้ไข ควรทำความเข้าใจกับปัญหาที่แท้จริงก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องใช้หลัก 3 จริง คือ ชิ้นงานจริง สถานที่ทำงานจริง บรรยากาศจริง และให้หลักการคิดเชิงวิเคราะห์ (analytical thinking) และ การคิดเชิงระบบ (systematic thinking) ก่อนที่จะสรุปผล ไม่ด่วนสรุป หรือทึกทัก (มโนเอาเองว่า เกิดจากสาเหตุนั้น สาเหตุนี้)

 

     3.   เกิดความสับสนในรายละเอียด ตัดสินใจไม่ได้ว่า จะเขียนรายละเอียดในหัวข้อใด (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คน กับวิธีการปฏิบัติ)

สาเหตุ ไม่เข้าใจหลักการบันทึกรายละเอียดที่ถูกต้องของข้อมูล

ส่งผลทำให้ เสียเวลา สับสน และอาจจะทะเลาะกันได้

วิธีการแก้ไข ทำความเข้าใจว่า สาเหตุหลัก ๆ นอกจาก จะมี 4M&1M ได้แก่ 1. Man (คน) 2. Machine (เครื่องจักร) 3. Material (วัตถุดิบ) 4. Method (วิธีการปฏิบัติงาน) 5. Environment  (สภาพแวดล้อม) แล้ว เรายังอาจจะเขียนชื่อเฉพาะตรงหัวก้างย่อยแทน ทั้ง 4M&1E เอาแบบเจาะจงไปเลยก็ได้ เช่น โซ่ พนักงานประกอบ เครื่องเชื่อม ถาดใส่งาน เป็นต้น และสำหรับวิธีการที่จะช่วยในการตัดใจว่าสิ่งที่จะเขียนนั้น เป็นคน หรือวิธีการ คือ หัวข้อส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับคน เช่น ความชำนาญ จำนวน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ สุขภาพ นิสัย ความเหมาะสม เป็นต้น ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ เช่น ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ ลำดับงาน การตรวจสอบ การแก้ไข ปรับปรุง เป็นต้น (อันนี้ทำบ่อยๆ จะค่อยๆ เข้าใจครับ เพราะรายละเอียดเยอะมากจริงๆ)

 

     4.  เข้าใจผิดว่า ต้องเขียนรายละเอียดให้ครบทั้งหมด คน เครื่องจักร อุปกรณ์ วิธีการฏิบัติงาน สภาพแวดล้อม (ทั้งๆที่แท้จริงแล้วเขียนเฉพาะสาเหตุที่เกี่ยวข้องเพียงเท่านั้น)

สาเหตุ ไม่เข้าใจแก่นแท้ของการเขียนแผนภูมิก้างปลา

ส่งผลทำให้ เสียเวลาเพื่อไปค้นหารายละเอียดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมาเติมให้เติมให้สมบูรณ์

วิธีการแก้ไข ทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า เอาเฉพาะรายละเอียด หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องจริงๆ เท่านั้นนะครับ อะไรไม่เกี่ยว ไม่ต้องพยายามหามาให้เสียเวลา เช่น การปฏิบัติงานของเราไม่มีเครื่องจักรเลย ก็ไม่ต้องไปเขียน ตัดทิ้งไปซะ เขียนแต่เฉพาะ คน วิธีการปฏิบัติ วัตถุดิบ และสภาพแวดล้อม แค่นี้ก็เพียงพอแล้วละครับ

 

     5.    ระหว่างที่ประชุมเพื่อเขียนแผนภูมิก้างปลา จะมีทั้งคนที่เสนอ (พูดตลอด) และ คนที่ไม่เสนอ (เงียบตลอด)

      สาเหตุ ผู้นำการประชุม ขาดทักษะในการระดมสมองที่ถูกต้อง

      ส่งผลทำให้ ขาดข้อมูลที่ครบถ้วนจากสมาชิกทุกคน และบรรยากาศในการประชุมก็จะน่าเบื่อ ผู้ร่วมประชุมก็ไม่อยากที่จะมีส่วนร่วม หรือถ้ามา ก็มาแบบเสียไม่ได้ หรือมาเพราะโดนบังคับ ไม่มาเพราะอยากมา หรือมาด้วยความเต็มใจ

      วิธีการแก้ไข ข้อนี้ตอบง่ายๆ ก็คือ ต้องมาเรียนรู้วิธีการระดมสมอง และเทคนิคการประชุม ซึ่งขอยกยอดไปเขียนหน้านะครับ

       นี่คือ 5 สาเหตุหลักๆ ที่ผมมักจะพบระหว่างที่มีการระดมสมอง ระหว่างที่มีการประยุกต์ใช้แผนภูมิก้างปลา ลองนำไปปรับปรุงกันก่อนนะครับ แล้วตอนหน้าเราจะมาเรียนรู้ เทคนิคการระดมสอง และวิธีการเขียนแผนภูมิก้างปลากัน โชคดีนะครับ

  

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ www.bt-training.com

Facebook/fanpage: Thongpunchang Pongvarin , BT-Corporation




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM)
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com