ReadyPlanet.com
dot dot
dot
หลักสูตรอบรม In-house training
dot
bulletหมวดบริหารและการจัดการ
bulletหมวดการบริหารงานด้านคุณภาพ
bulletหมวดการบริหารการผลิต
bulletหมวดระบบปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์
bulletบริการที่ปรึกษา Consulting service
bulletประวัติ ดร. ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์
bulletบทความ
bulletผลงานหนังสือ
bulletผลงานกิจกรรมอบรมที่ผ่านมา
bulletกิจกรรมเพื่อสังคม CSR
bulletหลักสูตรอบรมยอดนิยม
bulletหัวหน้างานที่เป็นเลิศ NEX NORMAL
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QC Story แบบ Theme Achievement
bulletการบริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ
bulletภาวะผู้นำและการเป็นหัวหน้างานที่ลูกน้องรักและบริษัทเชิดชู
bulletการพัฒนา 10 ความสามรถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน
bulletการเป็นที่ปรึกษากลุ่มกิจกรรมคิวซีซี (QCC Advisor)
bulletการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม QCC อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการนำ KPI ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ (Effectiveness KPI Application)
bulletการเขียน Action Plan อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการวิเคราะห์ต้นตอของปัญหาด้วย Why Why Analysis
bulletการรายงานและการนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletกลยุทธ์การแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
bulletการดำเนินกิจกรรม 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการจัดการผลิตและปฎิบัติการ
bulletการควบคุมด้วยสายตา (Visual control)
bulletการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
bulletเทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างหลักสูตร
bulletการสร้างจิตสำนึกคุณภาพภาคปฏิบัติ
bulletการดำเนินกิจกรรม KAIZEN ให้เกิดความต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ
dot
แบ่งปันความรู้
dot
dot
dot




ทำตามข้อเท็จจริง คือ ผู้นำตัวจริง

 ทำตามข้อเท็จจริง คือ ผู้นำตัวจริง

โดย ดร.ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ Email:tpongvarin@yahoo.com Mobile:089-8118340

facebook: BT CORPORATION CO., LTD. , Thongpunchang Pongvarin

**********************************************************************************************************************

             เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางว่า

ความสามารถในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจ จะชี้วัดว่าใครคือผู้นำตัวจริง หรือผู้นำตัวปลอม

พื้นฐานอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราตัดสินใจได้อย่างถูกต้องมากที่สุด และเกิดโอกาสความผิดพลาดน้อยที่สุดนั่นก็คือ การบริหารบนข้อเท็จจริง หรือ Management by Fact นั่นเอง เพื่อทำให้เห็นภาพมากขึ้นเรามาเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา กันนะครับ โดยเหตุเกิดที่บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง เป็นการสนทนาระหว่างหัวหน้าช่างซ่อมบำรุง กับช่างใหม่ที่เพิ่งทำงานไม่ถึงสองเดือน  

ช่างใหม่วิ่งกระหืด กระหอบมาที่โต๊ะทำงานของหัวหน้า แล้วพูดว่า ฝ“พี่ครับ เครื่องสามหยุด เพราะงานติดเครื่องครับพี่ แก้ยังไงดีครับ? ขอด่วนๆนะครับ ฝ่ายผลิตรออยู่”

หัวหน้านั่งหลับตา แล้วถามกลับไปว่า “งานติดตรงไหนของเครื่อง ด้านป้อนงาน ในเครื่อง หรือด้านท้ายเครื่อง”

ลูกน้องตอบทันทีว่า “กลางเครื่องเลยพี่”

หัวหน้าดีดนิ้วดังเปาะ แล้วให้ไอเดียในการแก้ไขว่า “เดี๋ยวเอ็งไปขยับสายพานใหม่ให้ตึง รับรองหาย เชื่อข้า”

หลังจากได้รับคำแนะนำเรียบร้อยแล้ว ช่างใหม่ก็รีบดำเนินการแก้ไขตามคำแนะนำทันที ไม่กี่อึดใจเครื่องจักรก็สามารถทำงานได้ตามปกติ

(เหตุการณ์นี้ทำให้ช่างใหม่เชื่อมือหัวหน้าอย่างมาก)

 

สองวันต่อมาเวลาก่อนพักกินข้าวกลางวัน

ช่างใหม่รีบโทรศัพท์ปรึกษาหัวหน้างานอีกครั้ง “หัวหน้าครับเครื่องพิมพ์ สีไม่ออกครับพี่ ทำไงดีล่ะครับ เครื่องหยุดอีกแล้ว?

ช่างใหญ่แม้มปาก ครุ่นคิดครู่หนึ่งแล้วก็ตอบไปว่า “เบื้องต้นเอ็งรีบไปตรวจสอบหัวฉีดสีก่อนเลยว่าไม่ตันหรือเปล่า ถ้าหัวฉีดสีตันเอ็งก็ล้างหัวฉีดให้สะอาด แต่ถ้าหัวฉีดสีไม่ตันเอ็งก็ปรับแรงดันลมเพิ่มขึ้นอีกนิด สีก็จะออกมาเอง แค่นั้นแหละ เชื่อข้า”

ช่างใหม่รีบดำเนินการแก้ไขทันที โดยเขาเข้าไปตรวจสอบพบว่าหัวฉีดไม่ตัน ดังนั้นเขาจึงรีบปรับแรงดันเพิ่ม ซึ่งผลที่ได้ เครื่องฉีดก็สามารถทำงานได้ตามปกติ

 

เวลาผ่านไปประมาณครึ่งชั่วโมง ช่างใหม่ก็โทรหาหัวหน้างานอีกครั้ง

“พี่ครับพี่ ทำงานดี ฝ่ายผลิตแจ้งมาว่า ปั๊มลม ทำงานดังถี่มากกว่าเดิมเยอะเลย เดี๋ยวดัง เดี๋ยวดัง จนเขาลำคาญแล้ว ผมจะทำไงดีละครับ”

หัวหน้ารีบตอบไปทันที “เอ็งก็ไปปรับแรงดันลมให้น้อยลงซิวะ มันจะได้ไม่ดังบ่อยๆ โอเคนะ”

ช่างหนุ่มรีบปรับดำเนินการตามคำแนะนะทันที

และหลังจากที่ปรับแรงดันลงแล้ว ฝ่ายผลิตก็แจ้งมาว่าหัวฉีดสีไม่ออกอีกแล้ว

 

ช่างหนุ่มปวดหัวใจ ไม่รู้จะทำยังไง จึงรีบโทรหาหัวหน้าอีกครั้ง

“พี่ครับ ๆ ตอนนี้ฝ่ายผลิตบอกว่า หัวฉีดสี ไม่ออกอีกแล้ว ทำไงดีล่ะพี่ ผมว่าพี่มาดูที่หน้างานเลยดีกว่านะ ผมปวดหัวมากเลย จะทะเลาะกับฝ่ายผลิตอยู่แล้วเนี้ย ขอร้องนะพี่ พี่มาช่วยผมหน่อย ผมรอที่เครื่องฉีด 3 นะครับพี่” ช่างใหม่อ้อนวอน

 

เมื่อช่างใหญ่ก็เดินทางมาถึงจุดเกิดเหตุแล้ว ก็รีบเดินสำรวจรอบๆพื้นที่ทำงานทันที จากนั้นก็พูดว่า

“โถ แค่สายลมรั่ว เอาอย่างนี้เอ็งรีบไปที่ห้องช่าง แล้วไปตัดสายลมยาวประมาณสักสองเมตร แล้วก็เอากล่องเครื่องมือมาด้วย เร็วเข้า” ช่างใหญ่สั่งงานอย่างรวดเร็ว

และหลังจากที่ได้รับเครื่องมือเรียบร้อยเขาก็ปรับเปลี่ยนสายลมใหม่เรียบร้อยเครื่องฉีดสีก็กลับมาทำงานได้ตามปกติด้วยแรงดันตามมาตรฐานเดิม

 

หลังจากที่ทั้งคู่จัดการกับปัญหานั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เดินกลับไปที่ห้องช่างเพื่อเก็บอุปกรณ์ และระหว่างที่ลูกน้องกำลังเก็บอุปกรณ์อยู่นั้นหัวหน้าก็พูดขึ้นว่า

“ไอ้น้อง พี่ขอโทษนะที่ตอนแรกพี่แนะนำให้เอ็งไปตรวจหัวฉีด แล้วก็ปรับแรงดันขึ้น ทำให้เอ็งต้องเสียเวลาแก้ไข แก้มา จนเกือบจะทะเลาะกับฝ่ายผลิต พี่ผิดเองที่ไม่ได้ไปดูพื้นที่ทำงานก่อนตั้งแต่ทีแรก แต่พี่ใช้ประสบการณ์เก่าๆ เดาสุ่ม เลยแนะนำไปอย่างนั้น เอ็งอย่าโกรธพี่เลยนะ คราวหน้าพี่สัญญาว่า ถ้าเอ็งอยากให้พี่ช่วยแนะนำอะไร พี่จะไปดูที่เกิดเหตุก่อนทุกครั้งพี่สัญญา”

ลูกน้องฟังดังนั้นก็หันไปมองหน้าหัวหน้า แล้วยิ้มจากนั้นก็พูดว่า “ขอบคุณครับพี่ ผมไม่โกรธพี่หรอก ที่จริงผมก็ผิดเองนั่นแหละที่ไม่ยอมบอกรายละเอียดปัญหากับพี่ให้หมด ทำให้พี่เดาวิธีการแก้ไขปัญหาเอง และผมก็ของคุณพี่ล่วงหน้าเลยนะครับที่พี่จะไปดูพื้นที่จริงที่หน้างานทุกครั้งเมื่อผมมีปัญหา”

หลังจากการสนทนาจบทั้งคู่ก็เดินไปกินข้าวเที่ยงพร้อมกันเพราะได้เวลาพักพอดี

 

                จากกรณีศึกษานี้สอดคล้องกับหลักการที่ว่า “ก่อนจะตัดสินใจ ทำสิ่งใดต้องลงไป 5 GEN ก่อน เพื่อป้องกันปัญหาการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจที่ผิดพลาด” ซึ่งหลักการนี้ผมใช้ตลอดสมัยที่ทำงาน ซึ่งผมได้รับการถ่ายทอดมาจาก Advisor ชาวญี่ปุ่น สำหรับหลักการ 5 GEN นี้ ประกอบด้วย

1.   Genba พื้นที่จริง โดย สำรวจ ณ จุดที่ทำให้เกิดปัญหา เช่น โต๊ะทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ เพื่อทำให้ทราบสภาพแวดล้อมทั้งหมดของปัญหา เช่น คน เครื่องจักร อุปกรณ์ วิธีการปฏิบัติงาน เป็นต้น

2.   Genbutsu ของจริง โดย สำรวจ สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น ชิ้นงาน กล่องงาน หรือ เครื่องจักร เพื่อทำให้ทราบลักษณะ หรืออาการที่เกิดความผิดปกติ เช่น แตก บิ่น ฉีก ร้าว ผิดด้าน ไม่ครบ เป็นต้น

3.   Genchisu สถานการณ์จริง โดย สำรวจขณะที่มีการปฏิบัติงานอยู่ เพื่อทำให้ทราบถึงขั้นตอน วิธีการปฏิบัติงานจริงทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งจะทำให้เราได้เห็นรายละเอียดทั้งหมด

4.   Genri หลักการทางทฤษฎี โดยเปรียบเทียบหลักการ หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติงานจริงที่เกิดขึ้น เพื่อใช้ในการอธิบายรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงความสอดคล้อง หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน

5.   Gensoku ระเบียบกฏเกณฑ์ โดยเปรียบเทียบกับกฎเกณฑ์ หรือวิธีการปฏิบัติ เพื่อศึกษาความสอดคล้อง หรือสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และทำการแก้ไข

 

ถ้าหากเราพิจารณาดีๆจะพบว่า หลักการ  5GEN นี้เป็นพื้นฐานของการบริหารบนข้อเท็จจริง หรือ Management by FACT นั่นเองครับ จากกรณีศึกษา พบว่า Genba พื้นที่จริง คือ เครื่องฉีดสี Genbutsu ของจริงคือ ชิ้นงานที่ฉีดไม่ได้ เครื่องฉีดฉีดสีไม่ออก Genchisu สถานการณ์จริง คือ เวลาตอนที่เครื่องหยุดคือประมาณ 11.30 น วันนั้น Genri หลักการทางทฤษฎี คือ หลักการฉีดสี และมาตรฐานของชิ้นงาน ที่ผ่านการฉีด และ Gensoku ระเบียบกฎเกณฑ์ คือ มาตรฐาน (Standard) ข้อกำหนด (Spec) ของเครื่องฉีด หัวฉีด แรงดัน การปรับเครื่องจักรต่างๆ เป็นต้น

 

นี่คือตัวอย่างของการใช้ 5GEN ลองนำไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ รับรองได้ว่าถ้าท่านใช้หลักการนี้เป็นประจำแล้วละก็ ปัญหาในการทำงานของท่านจะลดลง และการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจของท่านจะดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ สุดท้ายขอฝากคมคิดสะกิดใจที่ว่า “ผู้นำที่ดี ต้องเห็นของจริง เข้าใจของจริง ได้เห็น ได้รับรู้สถานการณ์จริง ด้วยหลักการ และทฤษฎีจริง ก่อนแก้ไขปัญหาและตัดสินใจเสมอ” โชคดีนะครับ

 

ท่านสามารถอ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ Www.bt-training.com ครับ

 




บทความอาจารย์ ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,253 เคล็ดลับแห่งความร่ำรวย
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,252 เคล็ดลับไ่ม่อยากจน ห้ามทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,251 เคล็ดลับ Morning Talk อย่างไรให้ได้คน ได้งาน
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,250 ปัญหาบานปลายเพราะละเลยสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,249 เปิดเหตุผลที่ทำงานไม่สำเร็จ ผลงานไม่เข้าเป้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,248 ลดปัญหาการส่งอีเมลล์แล้วไม่รู้เรื่อง เมื่อทำสิ่งนี้
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,247 ข้อเตือนใจที่หัวหน้างานมักผิดพลาด
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,246 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพนักงานทำงานล่าช้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,245 5 วิธีการที่พิสูจน์แล้วว่าดีที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างกำไร และการเติบโต TPS (TOYOTA PRODUCTION SYSTEM)
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,244 ข้อปฏิบัติเมื่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของหัวหน้า
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,243 ข้อปฏิบัติเมื่อพนักงานพบของเสีย หรือความผิดปกติ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,242 กิจกรรมช่วยสร้างความตระหนักในคุณภาพ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,241 5 แนวคิดหลักเพื่อเอาตัวรอด เมื่ออยู่กับคนเป็นพิษ TOXIC People
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,240 ฝันเป็นจริง เมื่อลงมือทำ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,239 การผลิตรูปแบบเก่า VS การผลิตรูปแบบใหม่
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,238 จังหวะนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,237 จิตปล่อยวาง = สงบ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,236 ผู้นำที่ดีต้องไม่ขัดขวางความก้าวหน้าของลูกน้อง
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,235 ช่วยได้ช่วย มีน้ำใจให้ผู้อื่นนั้นสำคัญ
เสียงก้องจากห้องผู้บริหาร กับ ดร.ทองพันชั่ง No.1,234 หลุมพรางของคนขี้เกียจ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

อาจารย์ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ BT CORPORATION CO,.LTD. ที่อยู่ : 100/834 ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา      รหัสไปรษณีย์ 13170
เบอร์โทร :  089-9273326 หรือ 089-8118340
อีเมล : tpongvarin@yahoo.com หรือ sangsankit@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bt-training.com